Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้ไว้ก็ดี
•
ติดตาม
7 พ.ย. 2022 เวลา 09:13 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ขยะอวกาศคืออะไร และสร้างปัญหาอย่างไรให้ชาวโลก
นับแต่มนุษย์ส่งยานอวกาศ ดาวเทียม และคนขึ้นไปสำรวจอวกาศในช่วงทศวรรษที่ 1950 ก็ทำให้เกิดขยะขึ้นในห้วงอวกาศ
ยิ่งเราดำเนินโครงการอวกาศเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งทำให้ชิ้นส่วนขยะอวกาศที่ล่องลอยอยู่ในวงโคจรโลกนับวันจะยิ่งแน่นหนาขึ้น และกำลังกลายเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่จะสร้างความเดือดร้อนให้มนุษย์เราได้ทุกเมื่อ
ขยะอวกาศคืออะไร
ขยะอวกาศ (space junk หรือ space debris) คือวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้วถูกทิ้งไว้ในห้วงอวกาศเมื่อเลิกใช้งานแล้ว โดยมีทั้งวัตถุขนาดใหญ่ เช่น ยานอวกาศปลดระวาง วัตถุที่สลัดทิ้งระหว่างภารกิจเดินทางขึ้นสู่อวกาศ ชิ้นส่วนเครื่องจักรและดาวเทียมที่เสีย หรือเลิกใช้งานแล้ว
นอกจากนี้ยังรวมถึงวัตถุขนาดเล็ก เช่น เศษซากการชนกันของวัตถุที่ลอยอยู่ในห้วงอวกาศ หรือแม้แต่แผ่นสีที่หลุดลอกออกจากยานอวกาศ รวมถึงของเหลวแข็งตัวที่ถูกขับออกจากยานอวกาศ เป็นต้น
ปัจจุบันมีขยะอวกาศที่ขนาดใหญ่กว่า 10 เซนติเมตรล่องลอยอยู่ในวงโคจรโลกมากกว่า 30,000 ชิ้น และคาดว่าจะมีชิ้นส่วนขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตรอยู่มากถึง 128 ล้านชิ้น
ศาสตราจารย์ มอริบา จาห์ วิศวกรการบินและอวกาศจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสและคณะได้จัดทำแผนที่ขยะอวกาศที่เรียกว่า AstriaGraph สำหรับเฝ้าติดตามวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดในอวกาศ เพื่อช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการติดตามและพยากรณ์พฤติการณ์ของพวกมัน
"เราติดตามวัตถุกว่า 26,000 ชิ้น ตั้งแต่ที่มีขนาดเท่าสมาร์ทโฟน ไปจนถึงขนาดเท่าสถานีอวกาศ อาจมีดาวเทียมที่ยังทำงานอยู่ 3,500 ดวง ซึ่งยังมีประโยชน์อยู่ แต่นอกเหนือจากนั้นก็คือขยะ" ศาสตราจารย์ จาห์ กล่าว
แม้ขยะอวกาศโดยมากจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชาวโลก เพราะส่วนใหญ่จะถูกเผาไหม้และหายไปเมื่อตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลก
แต่ปัญหาอาจเกิดขึ้นในห้วงอวกาศ เพราะมีความเสี่ยงที่ขยะอวกาศจะพุ่งชนดาวเทียมสำคัญต่าง ๆ เช่น ดาวเทียมที่ให้บริการบอกตำแหน่ง การนำทางด้วยระบบจีพีเอส การบอกเวลา การสื่อสาร การทำธุรกรรมทางการเงิน และการเตือนภัยสภาพอากาศ จนทำให้ดาวเทียมเหล่านี้ได้รับความเสียหายและหยุดทำงานลง
แม้แต่ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ยังเคลื่อนตัวในวงโคจรโลกด้วยความเร็ว 5 ไมล์ต่อวินาที นี่หมายความว่าการชนกันที่เกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายได้อย่างมาก
ปัญหาดังกล่าวทำให้ในแต่ละปี ต้องมีการบังคับดาวเทียม หรือแม้แต่สถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) ให้หลบหลีกการพุ่งชนของขยะอากาศหลายร้อยครั้ง
ภัยคุกคามที่กล่าวมา ทำให้ศาสตราจารย์ จาห์ และทีมงานจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส สร้างแผนที่ AstriaGraph ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ และเปิดให้สาธารณชนใช้งานได้ เพื่อติดตามการเคลื่อนตัวของวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นทุกชนิดที่ลอยอยู่ในวงโคจรโลก ด้วยระบบที่สามารถรายงานผลแทบจะสดในทันที
ศาสตราจารย์ จาห์ บอกว่า ข้อมูลที่ได้จากแผนที่นี้เผยให้เห็นแนวโน้มของสิ่งที่เรียกว่า "การแพร่กระจายครั้งใหญ่" หรือการที่ขยะอวกาศขนาดใหญ่เกิดการแตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ที่อาจเกิดขึ้นได้ 200 จุด ในวงโคจรโลก
1
"จรวดขนาดใหญ่ ที่ลอยอยู่ในห้วงอวกาศนานหลายทศวรรษ กำลังเป็นเหมือนระเบิดเวลา เมื่อถึงจุดหนึ่งมันจะระเบิด หรือถูกวัตถุบางอย่างพุ่งชน แล้วมันจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยหลายหมื่นชิ้น"
การที่ปัจจุบันหลายบริษัท เช่น สเปซเอ็กซ์ และแอมะซอน ต่างส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ก็ยิ่งทำให้วงโคจรโลกเนืองแน่นไปด้วยวัตถุต่าง ๆ
องค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ทุกบริษัทต้องกำจัดดาวเทียมของตัวเองออกจากวงโคจรโลกภายใน 25 ปีหลังจากปลดระวางแล้ว ส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหาวิธีการกำจัดขยะอวกาศเหล่านี้ออกไป
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ จาห์ ชี้ว่า ขยะอวกาศขนาดใหญ่ที่ลอยอยู่รอบโลกในปัจจุบันนั้น เป็นของชาติมหาอำนาจอย่างน้อย 3 ประเทศ และเขาไม่มั่นใจว่า ประเทศเหล่านี้จะยอมทุ่มงบประมาณเพื่อแก้ปัญหานี้หรือไม่ ในขณะที่โลกกำลังเผชิญภัยคุกคามมนุษยชาติอื่น ๆ อีกมากมาย
ขอบคุณครับ :)
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.bbc.com/thai/international-57041484
ความรู้รอบตัว
อวกาศ
ข่าวรอบโลก
1 บันทึก
4
1
1
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย