10 พ.ย. 2022 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
#แอสไพริน ยาที่ได้รับความสำคัญมามากว่า 120 ปี
สงสัยไหมว่า….คนจำนวนมากที่อายุเกิน 5 ขวบในโลก มีใครไหมที่ไม่เคยได้รับยาแอสไพริน ซึ่งยาขวดนี้เป็นหนึ่งในยาที่มีอยู่ในตู้ยาประจำบ้านมากที่สุด และดูเหมือนว่ายาขวดนี้จะมีมาตั้งแต่ยุคกลาง ทว่าจุดเริ่มต้นของยาขวดนี้มีความเป็นมาอย่างไร
ยาในตำนาน
มีคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า กรดอะซิติลซาลิไซลิก เดิมทำมาจากสารเคมีที่พบในเปลือกต้นวิลโลว์ ซึ่งสารชนิดนี้เรียกว่า salicin ถูกค้นพบโดยศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน Johann Buchner ที่ได้แยก salicin ออกจากเปลือกต้นวิลโลว์ในปี 1823
หลังจากนั้นไม่นานนักเคมีชาวอิตาลีชื่อ Raffaele Piria ก็ได้เปลี่ยนสารประกอบนี้เป็นกรดซาลิไซลิกซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในแอสไพริน และเริ่มใช้มากขึ้นในสมัยกรีกโบราณเมื่อ Hippocrates เพื่อบรรเทาอาการปวดและมีไข้
แม้จะช่วยรักษาอาการปวดได้แต่แพทย์พื้นบ้านในศตวรรษที่ 19 กลับใช้สารชนิดนี้เพียงเล็กน้อยเนื่องจากตัวยามีรสชาติที่ไม่พึงประสงค์และมีแนวโน้มที่จะทำลายกระเพาะอาหารได้
ด้วยเหตุนี้นักเคมีจึงวิจัยและทำการพัฒนาสารชนิดนี้เรื่อยมา จนเมื่อชาร์ลส์ เฟรเดอริก เกอร์ฮาร์ด ชาวฝรั่งเศสสามารถบัฟเฟอร์สารประกอบและสร้างกรดอะซิติลซาลิไซลิกขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งทำให้ปัญหาเรื่องกรดเป็นกลาง แต่หลังจากได้พบความสพเร็จในช่วงต้นเขาก็หมดความสนใจและหยุดงานวิจัยนี้ไป
สานต่อ
นักเคมีชาวเยอรมัน ไบเออร์ เฟลิกซ์ ฮอฟฟ์มันน์ จึงเข้ามาวิจัยงานนี้ต่อ ซึ่งเขาได้ค้นพบวิธีสร้างยาในรูปแบบที่เสถียร ง่ายต่อการรับประทานมากขึ้น อีกทั้งเขายังได้นำยานี้ไปใช้ร่วมในการรักษาโรคข้ออักเสบของพ่อเขาได้จนหายขาด ไบเออร์ จึงตัดสินใจจดสิทธิบัตรในปี 1900
หลังจากได้รับสิทธิบัตรแล้ว ไบเออร์ก็เริ่มแจกจ่ายแอสไพรินในรูปแบบผงให้กับแพทย์ร่วมงานเพื่อมอบให้ผู้ป่วย
จากนั้น แอสไพริน ก็เริ่มเป็นที่รู้จักและมีจำหน่ายมากขึ้น 2 ปีต่อมา เมื่อสิทธิบัตรของไบเออร์หมดอายุในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บริษัทของเขาจึงสูญเสียสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าแอสไพรินในหลายประเทศไป ซึ่งในช่วงนั้นสหรัฐฯ กำลังทำสงครามกับเยอรมนี
กลหน
ในเดือนเมษายน 1917 Alien Property Custodian ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ดูแลทรัพย์สินในต่างประเทศ ได้เข้ายึดทรัพย์สินของไบเออร์ในสหรัฐฯ ทั้งหมดรวมถึงยาที่เขาสร้างขึ้นใหม่คือ เฮโรอีน
2 สองปีต่อมาชื่อบริษัทและเครื่องหมายการค้าของบริษัทไบเออร์ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาก็ถูกประมูลและซื้อไปโดยบริษัทสเตอร์ลิงโปรดักส์ (ซึ่งต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สเตอร์ลิง วินธรอป) ในราคา 5.3 ล้านดอลลาร์
ส่วน ไบเออร์ กลายเป็นส่วนหนึ่งของ IG Farben กลุ่ม บริษัท อุตสาหกรรมเคมีของเยอรมัน ซึ่งเป็นหัวใจทางการเงินของระบอบนาซี ณ เวลานั้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงฝ่ายสัมพันธมิตรได้แยก IG Farben ออกจากกัน และไบเออร์ ก็ได้สร้างบริษัทเดี่ยวของตัวเองขึ้นใหม่อีกครั้ง
การกลับมาของ แอสไพริน
การซื้อ Miles Laboratories เกิดขึ้นในปี 1978 ซึ่งเป็นบริษัทผลิต ยา Alka-Seltzer, Flintstones และ One-A-Day Vitamins ในปี 1994 ไบเออร์ซื้อธุรกิจ สเตอร์ลิง วินธรอป คืน ทำให้เขาได้สิทธิ์ในชื่อและโลโก้ของตัวเแงกลับมาอีกครั้ง และผลิตภัณฑ์แอสไพรินก็กลายเป็นยาที่มีชื่อเสียงที่สุดในอเมริกา
“อะไรที่เป็นของเราต่อให้ไม่ต้องพยายาม สิ่งนั้นก็จะมาหาเราเอง แต่ถ้าไม่ใช่..แม้จะพยายามมากแค่ไหนสุดท้ายก็จะหยุดมือเราไปอยู่ดี”
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย
#เรื่องเล่าจากดาวนี้
โฆษณา