8 พ.ย. 2022 เวลา 13:23 • ความคิดเห็น
ผมเองเป็นคนที่ไม่ชอบ “ท่องจำ” อะไรเลย คือ
1
“ถ้าสิ่งใดที่ผมมองว่าสำคัญยิ่งยวดสำหรับผม ผมมักจะจดบันทึก หรือไม่ผมก็จะจำได้ด้วยการคิดถึงมันบ่อยๆ”
หน้าที่หลักของสมองมนุษย์มีไว้ “ประมวณผล” คล้าย CPU หรือ GPU (ที่ชาวเหมือง bitcoin ใช้ขุดกัน) มากกว่าใช้ เก็บข้อมูลดังเช่น storage devices เช่น SSD หรือ HDD ครับ
อีกทั้ง เนื้อสมองส่วนที่เรียกว่า Gray matter ยังสามารถขยายเพิ่มหรือหดกลับได้ด้วย
ส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความจำ มีหลายส่วนและบางส่วนเปลี่ยนแปลงขนาดได้
ตามที่ผมค้นดู ประมาณได้ว่าสมองมีความจุ 2.5 million gigabytes
1,000 GB = 1 TB
“เทคนิคการจำ” จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยเราจดจำสิ่งสำคัญต่างๆ
1) เรื่อง photographic memory หรือ “การจำเหมือนถ่ายภาพไว้ในสมอง” หรืออะไรทำนองนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากครับ ผมคิดว่าเป็นทักษะที่ฝึกฝนได้
1.1) ผมเป็นคนชอบรถยนต์ ผมดูรูปภาพรถรุ่นต่างๆยี่ห้อต่างๆมามากมายคงเป็นพันเป็นหมื่นรูปได้ครับ จนผมสามารถหลับตาแล้วหมุนรูปเสมือนสามมิติของรถรุ่นที่ผมชอบและคุ้นเคยไปมาในจินตนาการได้เลยครับ ภาพ 3d ที่ว่าอาจไม่ถูกต้อง 100% แต่มันถูกสร้างขึ้นมาจากข้อมูลภาพของรถยนต์คันนั้นที่ผมดูมาในทุกมุมทั้งภายนอกและภายในครับคือถ้าคุณจำอะไรเป็น 3d ได้ พวกที่เป็น 2d จะง่ายมากครับ
1.2) ผมเคยเรียนภาษาญี่ปุ่น และเหตุผลที่เรียนเพราะผมชอบรถยนต์และอยากไปงาน Tokyo Motor Show ที่ญี่ปุ่นซึ่งทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้ไปครับ
ใครที่เรียนภาษาญี่ปุ่นมาต้อง หัดเขียนตัวอักษรจีนที่เรียกว่า Kanji ซึ่งมีเป็นหมื่นตัวหรืออาจจะมากกว่านั้น การเรียน Kanji ทำให้ผมต้องฝึกฝนการเขียนซึ่งต้องจำขั้นตอนว่าลากเส้นไหนก่อนหลัง สุดท้ายเลยจำเป็นภาพได้ครับ แต่ถ้าไม่ได้เขียนบ่อยๆก็ลืมๆไปบ้างครับ
จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนจาก “ปริบท” หรือ context ในชีวิตครับ
เช่น “ginkou” ที่แปลว่า “ธนาคาร” มันมีทั้ง อักษร “เงิน” กับ อักษร “ไป” รวมกันอยู่ เวลาผมจำ ก็จะจำว่า “ที่ที่เงินไป คือ ธนาคาร” เป็นต้น
หรือ คำว่า “ku.u.ko.u” ที่แปลว่า “สนามบิน” จะมีอักษร “ท้องฟ้า” กับ อักษร “ท่าเทียบ” เวลาผมจำก็ไม่ยากแล้วครับ
ชาวญี่ปุ่นเองก็ใช่ว่าจะรู้ทุก Kanji หรือทุก Katakana เพราะบางคำเป็น ศัพท์เฉพาะวงการครับ
2) แต่เอาเข้าจริงๆ ผมมองว่า หากเรา “ชื่นชอบ” สิ่งใด เรามักไม่ลืมและไม่จำเป็นต้อง “ท่องจำ” ในสิ่งที่เราชื่นชอบเลย
เพราะเรา “ใช้เวลา” อยู่กับมันได้ “นานๆ” และ “บ่อยๆ” จนสิ่งเหล่านั้น “ซึมซับ” เข้าไปใน “ลมหายใจ” ของเราเรียบร้อยแล้ว!
ผมเองเป็นคนชอบรถยนต์มาตั้งแต่เด็กๆ ในสมัยที่ผมเป็นเด็ก ตอนนั้น เป็นยุค
“pre-Youtube” ผมจึงศึกษาเรื่องรถยนต์จาก “หนังสือและ magazines รถยนต์” ทั้งของบ้านเราและต่างประเทศ ผมลงทุนซื้อเองบ้าง บางครั้งก็ยอมยืนเมื่อยขาตามแผงหนังสือเพื่ออ่านฟรีๆ มานับครั้งไม่ถ้วน
ข้อมูลเหล่านั้นถูกเก็บสะสมมายาวนาน ทั้ง
“ยี่ห้อรถยนต์, ชื่อรุ่นธรรมดา, ขื่อรุ่นพิเศษ, ราคาคร่าวๆ, บริษัทที่ทำอุปกรณ์ตกแต่ง, ประเทศที่ผลิต, ยี่ห้อของเครื่องมือช่างซ่อมรถยนต์, ยี่ห้อนำ้มันเครื่อง, ยี่ห้อยางรถ, ชื่อผู้ก่อตั้งบริษัทรถยนต์นั้นๆ, ฯลฯ”
ข้อมูล “มหาศาล” เหล่านี้ ค่อยๆ “ซึมซับ” เข้าไปในความทรงจำของผม โดยปราศจากความพยายามในการ “ท่องจำ” แต่อย่างใด ในระยะเวลาที่ยาวนาน ด้วยความชื่นชอบและ
ความสนใจ
จนกระทั่งทุกวันนี้ ผมยังแปลกใจตัวเองที่สามารถจดจำรถหลายๆยี่ห้อหลายๆรุ่นที่ถึงแม้จะไม่ได้มีจำหน่ายในบ้านเรา แต่ผมก็ยังจดจำชื่อรุ่นและยี่ห้อได้อย่างแม่นยำโดยไม่ได้มีความพยายามในการท่องจำใดๆเลย!
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงมองว่า
“ความสุข” ในการทำสิ่งใดๆของเรา คือ
“เครื่องมือ” ในการจดจำที่ “ทรงพลัง” ที่สุด!
post นี้ของผม เป็นการตอบคำถามเรื่อง
“Classic Cars” ที่ผมเองก็ไม่ได้เชี่ยวชาญในหัวข้อนี้
แต่ผม ก็สามารถ “ไล่รุ่นและยี่ห้อ” ที่เป็นรถในกลุ่ม “Modern Classic” ออกมาได้อย่างยืดยาว ตามความ “ชื่นชอบ” ของผมเอง
posts นี้ของผม ได้แนะนำเทคนิคการจดจำของผม พร้อมแสดงให้เห็นถึง
“ความสนใจ” ในรถ Porsche 911 ที่มีรูปร่างของตัวรถในแต่ละรุ่นย่อยๆใกล้เคียงกันมาก และมีรุ่นย่อยๆเยอะมาก!
จนมีแต่ “ผู้สนใจ” อย่างจริงจังเท่านั้น ที่สามารถ “แยกแยะ” ความแตกต่างของแต่ละรุ่นย่อยได้ อย่างที่ผมพิสูจน์ให้เห็นใน post นี้!
โฆษณา