Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TalentSauce
•
ติดตาม
9 พ.ย. 2022 เวลา 11:00 • สุขภาพ
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับการเลิกจ้าง (Layoff) พนักงานของบริษัทชั้นนำต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะที่อเมริกาในภาคเทคโนโลยีที่มีพนักงานถูกเลิกจ้างมากกว่า 39,000 คนซึ่งรวมถึงพนักงานในบริษัทชั้นนำ เช่น Peloton, Shopify และ Netflix กระทั่งในไทยเองก็มีการเลิกจ้างเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
สิ่งนี้ทำให้ระดับความวิตกกังวลในการเลิกจ้างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่มนุษย์เงินเดือน หลายคนวิตกกังวลมากกว่าที่เคยเพราะกลัวว่าตื่นมาตอนเช้าแล้วจะได้รับจดหมายบอกเลิกจ้างทางอีเมลหรือไม่? หรือว่าพวกเขาทำงานได้ดีพอที่จะไม่ถูกแทนที่โดยคนอื่นหรือเปล่า?
แรงงานสหรัฐเกือบ 80% ได้รับผลกระทบจากความไม่มั่นคงในการทำงานอันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ความวิตกกังวลว่าอาจถูกเลิกจ้างนี้ส่งผลกระทบต่อความคิดของพนักงานและทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง นอกจากนี้ส่งผลต่อสุขภาพจิตและร่างกายในทางที่ไม่ดี เช่น ส่งผลต่อความสามารถในการโฟกัส มีความเครียดสะสมหรืออาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้
🟥 รับมือกับความวิตกกังวลในการถูกเลิกจ้างอย่างไร?
การเผชิญหน้าในเชิงรุกกับความวิตกกังวลจากการถูกเลิกจ้างเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อทั้งทางจิตใจและร่างกายโดยควรรับมือด้วย 3 วิธีดังต่อไปนี้
📍 1.แยกข้อเท็จจริงออกจากสิ่งที่คุณคิด
เรื่องราวที่คุณบอกตัวเองอาจไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงเสมอไป ตัวอย่างเช่น หากเจ้านายของคุณตอบอีเมลช้ากว่าปกติ คุณรู้สึกระแวงว่าเขาอาจไม่พอใจอะไรคุณหรือเปล่า? เพราะฉะนั้นพยายามตั้งคำถามกับสมมติฐานนี้ โดยตรวจสอบว่าคุณมีหลักฐานอะไรบ้างที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะถูกเลิกจ้าง
👉 ผู้จัดการของคุณขอให้คุณใช้มาตรการประหยัดต้นทุนหรือไม่?
👉 บริษัทได้จัดตั้งนโนบายในการหยุดจ้างงานหรือไม่?
👉 ยอดขายลดลงอย่างต่อเนื่องหรือไม่?
👉 ปริมาณงานของคุณน้อยกว่าปกติหรือไม่?
👉 คุณไม่ได้ถูกเชิญในการประชุมที่เคยเข้าร่วมหรือไม่?
หากคำตอบของคำถามข้างต้นส่วนใหญ่คือ “ไม่” แสดงว่าคุณควรที่จะกังวลให้น้อยลง และพยายามใช้หลักการของเหตุและผลให้มากขึ้น
📍 2.เลิกกังวลกับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และทำสิ่งที่ทำได้เพื่อให้สถานการณ์ที่เผชิญอยู่ดีขึ้น
หากบริษัทของคุณเริ่มเลิกจ้างหรือประกาศแผนการที่จะทำเช่นนั้น คุณอาจต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเท่าที่จะทำได้และประเมินสถานการณ์ของคุณว่า
👉 โปรเจ็กต์ที่คุณทำอยู่มีมูลค่าสูงหรือไม่?
👉 งานของคุณสร้างรายได้ให้องค์กรได้หรือไม่?
👉 คุณได้รับมอบหมายให้ริเริ่มโปรเจ็กต์ที่ผู้นำระดับสูงเห็นว่าสำคัญหรือไม่?
หากไม่เป็นเช่นนั้นให้พูดคุยกับหัวหน้าของคุณเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนปริมาณงานเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะสามารถใช้เวลาในการทำงานไปกับโปรเจ็กต์ที่คุ้มค่ากว่า
นอกจากนี้คุณควรสร้างเครือข่ายภายในองค์กร รับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างองค์กรหรือการปรับโครงสร้างใหม่ และวางรากฐานสำหรับการหางานของคุณในอนาคตโดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายของคุณ อัปเดตเรซูเม่และหน้า LinkedIn ไว้ให้พร้อม
🟥 3.เตรียมแผนรับมือโดย ‘การมองโลกในแง่ร้าย’ (Defensive Pessimism)
มาสร้างความกังวลเพื่อขจัดความกลัวให้เป็นประโยชน์โดยตั้งคำถามกับตัวเองว่า “หากถูกเลิกจ้างจะทำอย่างไรดี?” จากนั้นคาดการณ์ว่าคุณจะจัดการกับอุปสรรคอย่างไร เช่นการเงิน การดูแลสุขภาพ และการหางานใหม่
การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการฝึกฝนจิตใจเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดจะช่วยควบคุมความวิตกกังวลได้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เรียกว่าการมองโลกในแง่ร้ายเพื่อตั้งรับ การสร้างแผนรองรับจะทำให้เกิดคุณรู้สึกว่าควบคุมได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและช่วยจัดการกับความวิตกกังวลจากการถูกเลิกจ้าง
เพราะฉะนั้นมาใช้ชีวิตให้ปราศจากความกลัวและความกังวลว่าจะถูกเลิกจ้าง แล้วมาทำให้ชีวิตในโลกแห่งทำงานของคุณยิ้มรับกับสิ่งต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้นด้วย 3 ขั้นตอนในการรับมือเชิงรุกกับความวิตกกังวลที่จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสิ่งที่ไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
อ่านบทความได้ที่ :
https://bit.ly/3UBwDnh
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน
Website:
https://bit.ly/3Pz1Upp
Instagram:
https://bit.ly/3wAT8Q1
Twitter:
https://bit.ly/3LCFKPK
TikTok:
https://bit.ly/38BGN5j
ความรู้รอบตัว
ข้อคิด
พัฒนาตัวเอง
1 บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Life Hacks
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย