Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นิตยสารสาระวิทย์
•
ติดตาม
9 พ.ย. 2022 เวลา 06:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
“ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน” รับตำแหน่ง ผอ. SEAMEO STEM-ED คนใหม่
เปิดตัวผู้อำนวยการ ศูนย์ SEAMEO STEM-ED คนใหม่ “ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน” ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา โดยดำรงตำแหน่งต่อจาก ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ที่หมดวาระไปก่อนหน้านี้
สำหรับศูนย์ SEAMEO STEM-ED เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามมติ ครม. ภายใต้การตกลงร่วมกันระหว่างสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Council หรือ SEAMEC) ของกลุ่มชาติสมาชิกอาเซียน ภารกิจหลักเพื่อเป็นศูนย์กลางวิจัยพัฒนา เผยแพร่องค์ความรู้นวัตกรรมด้านสะเต็มศึกษา พร้อมให้คำเสนอแนะแก่ผู้กำหนดนโยบายใน 11 ชาติอาเซียน
ก่อนหน้านี้ ดร.กฤษฎ์ชัย เคยผ่านการดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ SEAMEO (ด้านการบริหารและการสื่อสาร) ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ดร.กฤษฎ์ชัย มีหน้าที่รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานด้านดิจิทัลของสำนักเลขาธิการ SEAMEO ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อความท้าทายขององค์กร
นอกจากนี้ ดร.กฤษฎ์ชัย ยังเคยดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักเลขาธิการอาเซียนในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นผู้อำนวยการฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อีกด้วย
โดยในช่วงที่ทำงานอยู่ สวทช. ด้วยทักษะและความสามารถที่หลากหลาย ความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และดนตรี ได้รับการพิสูจน์จากรางวัล “เมขลา” (รางวัลระดับชาติที่ใหญ่ที่สุดสำหรับรายการทีวี) จากรายการทีวีเรื่อง “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ที่ ดร.กฤษฎ์ชัย เป็น Producer และประพันธ์เพลงประกอบ
รวมถึงเป็นผู้ผลักดันโครงการ Kibo-ABC ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA ให้เกิดกิจกรรม STEM ด้านอวกาศ ส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้ร่วมกิจกรรมอวกาศมากมาย เช่น โครงการส่งไอเดียของเด็กไทยขึ้นไปทดลองบนอวกาศ และเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยร่วมทดลองการปลูกพืชโดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่ส่งขึ้นสู่อวกาศ พร้อมกันกับนักบินอวกาศญี่ปุ่น บนสถานีอวกาศนานาชาติ เป็นต้น
ดร.กฤษฎ์ชัย มีพื้นฐานความรู้ทางด้านวิศวกรรม และให้ความสนใจใกล้ชิดในเรื่องนวัตกรรมมาโดยตลอด จึงได้มีความคิดริเริ่มนำ “Maker Faire” ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของคนทั่วโลกในด้านหุ่นยนต์ทำเองหรืองาน DIY, การพิมพ์ 3 มิติ, คอมพิวเตอร์, ศิลปะ งานฝีมือ และวัฒนธรรมของเมกเกอร์ เข้ามาสู่ประเทศไทย ทำให้เกิดเป็นงาน Maker Faire Bangkok ที่ดึงดูดเมกเกอร์และผู้ที่สนใจจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลกมาร่วมงานในประเทศไทย
ซึ่งงานนี้ได้สร้างความตื่นตัวให้เกิดขึ้นในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกี่ยวกับความสำคัญของ STEM/Maker Education โดยนำไปสู่การจัดตั้งพื้นที่สำหรับเมกเกอร์และห้องปฏิบัติการทั่วประเทศ
หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO STEM-ED ดร.กฤษฎ์ชัย ได้ให้คำปฏิญาณว่า “ผมมั่นใจว่าความแข็งแกร่ง ความสามารถ และความร่วมมือกับพันธมิตรของเราจะช่วยนำ STEM Education ไปสู่แถวหน้าในภูมิภาค การศึกษา STEM มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนามนุษย์ การเตรียมแรงงานในอนาคตเพื่อเผชิญกับความท้าทายของโลก VUCA ซึ่งย่อมาจากคำว่า Volatility (ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว) Uncertainty (ความไม่แน่นอน) Complexity (ความซับซ้อน) และ Ambiguity (ความคลุมเครือ)
ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ของ SEAMEO STEM-ED ผมจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้มั่นใจว่า ศูนย์ได้ปฏิบัติตามพันธกิจและเป้าหมายเพื่อความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนของภูมิภาค”
⚛ นิตยสารสาระวิทย์ ⚛
Facebook:
https://www.facebook.com/sarawitnstda
Website:
https://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit
Twitter:
https://twitter.com/sarawitnstda
Blockdit:
https://www.blockdit.com/sarawit
YouTube:
https://youtube.com/@SARAWITTV
วิทยาศาสตร์
stem
ข่าว
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย