10 พ.ย. 2022 เวลา 11:00 • ธุรกิจ

รู้สึกเหนื่อยสะสม อาจเป็นสัญญาณเตือนโรค TATT

อาการ “เหนื่อยล้า” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เมื่อมีอาการเหนื่อยสะสมมากๆ จากการทำงาน รวมกับความเครียด สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดโรค TATT หรือ Tired All The Time ได้แบบไม่รู้ตัว
2
ในบทความนี้ก็จะมีการอธิบายว่าโรคที่ว่านี้เกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง มีวิธีป้องกันอย่างไร และองค์กร หรือฝ่ายบริหารงานบุคคลควรทำอย่างไรบ้างกับพนักงานในองค์กร
1
  • โรค TATT หรือ Tired All The Time คืออะไร
TATT หรือ Tired All The Time คืออาการที่เหนื่อยล้าสะสม เหนื่อยตลอดเวลา แม้จะอยู่เฉย ๆ มักเกิดขึ้นเมื่อมีความเครียด จะทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล
4
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว ให้พร้อมรับมือกับปัญหา หรือความกดดันที่ต้องเจอ และเมื่อมีความรู้สึกเครียดสะสมเป็นเวลานาน
2
จึงมีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดผลเสียต่อสมองและร่างกายในระยะยาวตามไปด้วย
1
  • สาเหตุที่ให้เกิดโรค TATT ขึ้นในมนุษย์
1
ต้องเจอกับความเครียด หรือความกดดันเป็นประจำ
1
พักผ่อนน้อย นอนดึก นอนไม่เป็นเวลา ทำให้เกิดการอ่อนเพลียสะสมได้
1
ไม่ออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายทำให้หลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ที่ช่วยให้มีความสุข รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยลดความเครียดและเหนื่อยล้าได้
2
ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัวและเหนื่อยล้าได้
1
ปัญหาด้านสุขภาพ ก็อาจทำให้เหนื่อยล้าได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นไทรอยด์ โรคเบาหวาน โลหิตจาง
3
จัดการตัวเองอย่างไรเพื่อป้องกันอาการเหนื่อยสะสม
7
เมื่อรู้สึกว่าตนเองมีอาการเหนื่อยตลอดเวลา รู้สึกอยากนอน ไม่อยากทำอะไร ไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ปวดหัวบ่อย ๆ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่คงที่ นั่นอาจเป็นสัญญาณของ TATT ได้
1
จึงควรรู้วิธีจัดการกับ อาการเหล่านี้เพื่อป้องกันอาการเหนื่อยตลอดเวลา เนื่องจากอาจส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันได้
2
1. จัดสรรเรื่องอาหารการกิน
4
ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละมื้ออาหาร รับประทานอาหารที่ปรุงรสน้อย มีประโยชน์และรับประทานในปริมาณที่พอดี
2
และไม่ควรกินอาหารมื้อดึกหรือกินมื้อหนักก่อนเข้านอน เพราะจะทำให้กระเพาะและอวัยวะภายในทำงานหนัก จนอาจทำให้ไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่
3
2. หมั่นดื่มน้ำบ่อยๆ
1
การที่ร่างกายขาดน้ำ ก็อาจจะทำให้ระบบภายในร่างกายทำงานหนักขึ้น จึงควรเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกายอยู่เสมอ
3
นอกจากนี้การดื่มน้ำยังทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าได้ เพราะฉะนั้นควรจิบน้ำบ่อยๆในระหว่างทำงานเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
2
3. จัดสรรเวลาออกกำลังกาย
1
การออกกำลังกายเบา ๆ สามารถช่วยจัดการกับความเครียดได้ เพราะช่วยเพิ่มสารเอ็นดอร์ฟิน ที่จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น รู้สึกผ่อนคลาย และมีพลังในการทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ และยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
2
4. ทำสมาธิ ฝึกจิตใจให้สงบ
4
การทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบจะช่วยให้สมองได้หยุดคิด หยุดพัก มีสมาธิจดจ่อในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ช่วยลดความเครียดและความกดดัน และมีเวลาทบทวนสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถี่ถ้วน เมื่อมีสมาธิที่ดีจะช่วยให้การทำงาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
3
  • องค์กรหรือ HR สามารถรับมือกับอาการเหนื่อยสะสมได้อย่างไรบ้าง
การมีอาการเหนื่อยสะสม หรือ TATT สามารถเกิดขึ้นได้กับพนักงานทุกองค์กร และส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต และการทำงานอย่างมาก ทางองค์กร หรือฝ่าย HR สามารถช่วยป้องกันได้ด้วยการปรับเวลาการทำงาน
เช่น มีการทำงานแบบ Hybrid ที่ให้พนักงานได้ทำงานที่บ้าน หรือที่ไหนก็ได้ ถือเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ และช่วยให้พนักงานเกิดความผ่อนคลายในการทำงานมากขึ้น
รวมถึงการสร้างกิจกรรมในองค์กร เช่น การออกกำลังกายร่วมกัน ก็ช่วยสร้างความสดชื่น และคลายเครียดจากการทำงานได้ และควรมีการจัดหานักจิตบำบัด มาช่วยดูแล รักษาสภาพจิตใจ สำหรับพนักงานที่อาจอยู่ในภาวะเหนื่อยตลอดเวลา เพื่อให้คำแนะนำในการรักษาอย่างถูกวิธี
2
การทำงานด้วย อาการเหนื่อยสะสม ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานอย่างมาก องค์กรหรือ ฝ่าย HR สามารถช่วยป้องกันการเกิดปัญหาเหล่านี้ได้ ตามแนวทางที่กล่าวไปแล้วด้านบน ซึ่งองค์กรไม่ควรมองข้ามปัญหาเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ
2
โฆษณา