10 พ.ย. 2022 เวลา 05:13 • ความคิดเห็น
เส้นทางรถไฟจีนลาว เครื่องมือขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนเครื่องมือใหม่ของจีน “เปิดใช้เกือบ 1 ปี ขนส่งข้ามพรมแดน 1.8 ล้านตัน มูลค่า 1.2 หมื่นล้านหยวน”
1
บทความโดย: ภากร กัทชลี อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเจ้าของเพจอ้ายจง
2
นับตั้งแต่เปิดใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาว เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ปีที่ผ่านมา โลจิสติกส์ขนส่งสินค้าถือเป็นงานสำคัญที่เกิดขึ้นบนเส้นทางรถไฟระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร สายนี้
โดยเริ่มจากเมืองคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลหยุนหนาน (คนไทยจะคุ้นเคยกับการเรียกว่า ยูนนาน) ทางตอนใต้ของจีน ไปยังเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว
1
ไม่ใช่แค่เกิดการขนส่งจากเมืองคุนหมิง หรือพื้นที่ในมณฑลหยุนหนานนะครับ
แต่ทั่วทั้งจีนก็ใช้ประโยชน์จากเส้นทางนี้ ในการขนส่งสินค้าระหว่างจีนและลาว รวมถึงขนส่งจากประเทศไทย เมียนมาร์ มาเลเซีย กัมพูชา
3
และประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ก็ใช้เส้นทางนี้ในการขนส่งทั้งขาส่งออกไปยังประเทศจีน และขาเข้านำเข้าสินค้าจากจีนไปยังแต่ละประเทศด้วย
ก็เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของจีน ที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในการสร้างเส้นทางจากคุนหมิง ประเทศจีน ไปยังเวียงจันทน์ ของลาว เป็นหนึ่งในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (一带一路) หรือเส้นทางสายไหมใหม่
2
โดยข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ออกมาจากการรถไฟจีนเมืองคุนหมิง (China Railway Kunming Bureau Group) ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 หรือราว 11 เดือนนับตั้งแต่เปิดใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาว มีการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางนี้เกิน 10 ล้านตัน
1
เกือบ 20% (18%) ของปริมาณทั้งหมด เป็นการขนส่งข้ามพรมแดน ด้วยปริมาณ 1.8 ล้านตัน และคิดเป็นมูลค่า 1.2 หมื่นล้านหยวน (ราว 6 หมื่นล้านบาทไทย)
จากการศึกษาข้อมูล พบว่า สินค้าที่ขนส่งบนเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ค่อนข้างมีความหลากหลายนะครับ คือปัจจุบันตามที่ทางจีนเผยแพร่ข้อมูลออกมา ก็ราวๆ 1,200 หมวดหมู่ประเภทสินค้า
1
แต่จากการวิเคราะห์ อ้ายจงต้องบอกว่า สินค้าประเภทที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร อย่าง ปุ๋ยเคมี ผลไม้แช่แข็ง จะมีปริมาณขนส่งค่อนข้างมาก ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
1
และที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เช่น แผงโซลาร์เซลล์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ก็มีปริมาณเช่นกัน โดยประเทศจีนก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตและส่งออกแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมาก รวมถึงใช้งานภายในประเทศด้วย เพราะทางรัฐบาลจีนมุ่งเน้นในนโยบายสิ่งแวดล้อมและพลังงานยั่งยืนมากขึ้น
นอกจากเส้นทางรถไฟคุนหมิง-เวียงจันทน์ (จีน-ลาว) ทางจีนเองได้มุ่งเน้นการลงทุนและร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาตามโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือตอนนี้ที่มีโครงการใหม่ Global Development Initiative (แผนริเริ่มการพัฒนาโลก)
1
เพราะอาเซียน ถือว่ามีความใกล้ชิดทั้งทางการค้า ทางการเมืองและในแง่ของพื้นที่เขตแดนที่ไม่ไกลจากจีน มีความคล้ายคลึงเรื่องของวัฒนธรรมและภาษา ถ้ามองเรื่องการค้า จีนและอาเซียนต่างเป็นพาร์ทเนอร์หรือคู่ค้ารายใหญ่ซึ่งกันและกัน
จึงไม่ต้องแปลกใจ หากอ่านข่าวสารข้อมูลในจีน โดยเฉพาะภาคภาษาอังกฤษที่จีนต้องการเผยแพร่สู่ต่างชาติ จะเห็นข่าวความร่วมมือจีน-อาเซียน และประเทศต่างๆในอาเซียนอยู่ตลอด
1
ตัวอย่างเช่น
โครงการรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง โดยใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงจากจีน อินโดนีเซีย
1
และ โครงการทางด่วนกรุงพนมเปญ-จังหวัดพระสีหนุ จังหวัดที่มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ที่สุดในกัมพูชา ซึ่งถือเป็นเมืองเศรษฐกิจของกัมพูชาและนักลงทุนจีนไปลงทุนจำนวนมาก โดยทางด่วนสายนี้ ลงทุนโดย บริษัท China Road and Bridge Corporation บริษัทก่อสร้างรายใหญ่ที่เป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลจีน
สองตัวอย่างข้างต้น เป็นสองในหลายโครงการที่เป็นผลของความร่วมมือและลงทุน จีน-อาเซียน ที่สื่อจีนนำเสนออยู่ตลอด สื่อจีนต่างอยู่ในการควบคุมของทางการจีน และสื่อหลักๆ ก็มักจะเป็นกระบอกเสียงของทางการจีน เราจึงสามารถวิเคราะห์นโยบายและทิศทางของรัฐบาลจีนใน ณ ขณะนั้นได้
3
ข้อมูลโลจิสติกส์เส้นทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งนำเสนอโดยสำนักข่าวซินหัว (Xinhua) และนำเสนอต่อบนเว็บไซต์ทางการของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Yidaiyilu dot gov dot cn) เป็นอีกหนึ่งสิ่งยืนยันว่าจีนให้ความสำคัญโครงการนี้ และนับเป็นหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางตามที่เคยประกาศและสื่อสารผ่านทางสื่อต่างๆเสมอ
อ้ายจงขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #จีน #อาเซียน #ASEAN #ลาว #รถไฟ #ขนส่ง #โลจิสติกส์
1
โฆษณา