Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
10 พ.ย. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อของไทยปรับตัวลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน
ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดของเดือนตุลาคมปรับลดลงมาอยู่ที่ 5.98% (เมื่อเทียบกับปีก่อน) เป็นการปรับลดลงเดือนที่สองติดต่อกันจากเดือนที่แล้ว
ซึ่งระดับ 5.98% ยังเป็นระดับเงินเฟ้อทั่วไปต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนเมษายนปีนี้ ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนั้นออกมาอยู่ที่ 4.65%
โดยเหตุผลสำคัญเบื้องหลังของการปรับลดลงของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปนี้ มาจากราคาพลังงาน ซึ่งเป็นตัวการของเงินเฟ้อในช่วงต้นปี ได้เริ่มปรับลดลงมาบ้างแล้ว
📌 การปรับลดลงมาของราคาพลังงาน
ปัจจัยที่ทำให้ราคาพลังงานปรับลดลงมา ก็มาจากการอุปทานสินค้าพลังงานโลกเริ่มปรับตัวจากช่วงต้นของสงครามยูเครน ประเทศส่วนใหญ่ก็สามารถหาแหล่งซื้อที่เหมาะสมกับตัวเองได้มากขึ้น
และอีกปัจจัยสำคัญซึ่งกดดันราคาน้ำมัน มาจากการคาดการณ์ว่า อุปสงค์ต่อน้ำมันจะน้อยลงในช่วงต่อไป
อันเกิดมาจากความกังวลใจต่อแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งหลายประเทศมีโอกาสจะเจอสภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ในช่วงต่อไป
ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มตกต่ำลง ก็เป็นผลมาจากการต่อสู้ของ “ธนาคารกลาง” กับ “อัตราเงินเฟ้อ” ตั้งแต่แรก
อันเกิดมาจากการที่มีจำนวนธนาคารกลางมากเป็นประวัติการณ์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายพร้อมๆ กัน
ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนทางเศรษฐกิจ และก็ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี การจัดการปัญหาเงินเฟ้อถือเป็นภารกิจอันดับต้นของธนาคารกลาง ซึ่งเรียนรู้มาจากอดีตว่า การปล่อยให้ปัญหาเงินเฟ้อเรื้อรังจะส่งผลร้ายมากกว่า
เป็นทางเลือกที่เรียกได้ว่า “เจ็บแต่จบ” ดีกว่า
นอกจากนี้ ราคาพลังงานที่ปรับลดลงยังมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อของผู้ผลิตปรับลดลงมาสู่ระดับต่ำกว่า 10% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ด้วย
📌 นัยยะต่อการดำเนินนโยบาย
หากมองแบบภาพรวม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปซึ่งปรับลดลงมา น่าจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของธนาคารแห่งประเทศไทย ในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจัดการเงินเฟ้อได้บ้าง
และก็เปิดทางเลือกให้ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถใช้นโยบายการเงินเพื่อช่วยการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจ ซึ่งยังเปราะบางและต้องเตรียมตัวเจอกับความท้าทายจากเศรษฐกิจโลกในปีหน้า
แต่เมื่อดูในรายละเอียดของข้อมูลเงินเฟ้อที่ออกมา ก็ยังมีส่วนที่น่าจะทำให้แบงก์ชาติต้องจับตามองเรื่องเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน หรือก็คือ อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งตัดผลของราคาพลังงานและอาหารสดออกไป
ซึ่งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนล่าสุด ดันปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปซึ่งปรับลดลง มาอยู่ที่ 3.17% เป็นระดับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่ปี 2008
1
ที่ต้องจับตามอง เพราะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมันสะท้อนส่วนของเงินเฟ้อซึ่งนโยบายการเงินสามารถเข้าไปจัดการได้มากกว่า
และหากเงินเฟ้อพื้นฐานยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบนี้ ก็อาจจะนำมาซึ่งปัญหาการคาดการณ์เงินเฟ้อสูงอย่างเรื้อรังของคนทั่วไป ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่แบงก์ชาติไม่ต้องการมากที่สุด
1
ถือเป็นความท้าทายของแบงค์ชาติที่ต้องถ่วงดุลผลแต่ละด้าน และดำเนินนโยบายที่เหมาะสมต่อไปในช่วงเวลาสำคัญแบบนี้
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
●
https://www.price.moc.go.th/price/fileuploader/file_admin_sum/indices_all.pdf
●
https://www.reuters.com/markets/asia/thai-headline-cpi-rises-598-yy-oct-less-than-forecast-2022-11-07/
อัตราเงินเฟ้อ
เศรษฐกิจไทย
เงินบาท
บันทึก
11
4
11
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย