11 พ.ย. 2022 เวลา 06:47 • ประวัติศาสตร์
รู้อยู่แล้วว่า มีที่มาเมื่อไร แต่ ทำไมแต่ละวัน ต้องชื่อแบบนี้ จะหาตำนาน ที่มาที่ไป ในแต่ละวัน ตั้งแต่สมัย สุเมเรียน อินเดีย และ อื่นๆ ตามแต่จะหาได้มารวมในนี้ครับ
1
  • 1.
    หน้าหลัก
  • 2.
    นิตยสาร
  • 3.
    ประวัติศาสตร์
  • 4.
    ศิลปะ
  • 5.
    วัฒนธรรม
  • 6.
    บทความพิเศษ
  • 7.
    ข่าวย่อย
  • 8.
    อื่นๆ
ศิลปวัฒนธรรม
หน้าแรก  ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
ชื่อ “วัน-เดือน” ของไทยมาจากไหน การใช้วันที่ 1,2,3… เริ่มเมื่อใด?
(ภาพประกอบเนื้อหา)
เผยแพร่วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2562
ในสมัยโบราณไทยกำหนดวันเดือนแบบจันทรคติ อาศัยการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลักคือ นับจำนวนวันตามดวงจันทร์ เริ่มตั้งแต่ดวงจันทร์มีแสงสว่างน้อยๆ ไปจนถึงสว่างเต็มดวง ระยะนี้เรียกว่า “ข้างขึ้น” หรือ “เดือนหงาย” เพราะรูปดวงจันทร์มีลักษณะหงายขึ้นจนกระทั่งโตเต็มดวง เริ่มนับแต่ขึ้น 1 ค่ำไปจนถึง 15 ค่ำ
ต่อจากนั้นดวงจันทร์ก็เริ่มแหว่งมีแสงน้อยลงตามลำดับ ระยะนี้รูปดวงจันทร์ดูเหมือนคว่ำ มีลักษณะเป็นเสี้ยวเล็กลงจนดับมิดดวง เรียกว่า “ข้างแรม” เริ่มนับแต่แรม 1 ค่ำ เรื่อยไปจนถึงแรม 14 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ เดือนหนึ่งจึงมี 29 วันบ้าง 30 วันบ้างแล้วแต่เดือนขาด เดือนเต็ม (เดือนขาด คือ มี 29 วัน เพราะมีเพียง แรม 14 ค่ำ จะมีในเดือน 3,5, 7, 9 และ 11 )
นอกจากการนับวันแบบขึ้นแรมแล้ว ไทยได้แบบอย่าง “การเรียกชื่อวัน” ทั้ง 7 มาจากอินเดียอีกอย่างหนึ่งคือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์ จะผิดกันบ้างบางวันเพราะในอินเดียเรียกวันทั้ง 7 ว่า
รวิวาร-วันอาทิตย์, โสมวาร-วันจันทร์, มงคลวาร-วันอังคาร, พุธวาร-วันพุธ, พฤหัสบดีวาร-วันพฤหัสบดี, ศุกรวาร-วันศุกร์ และศนิวาร-วันเสาร์
ไทยนำแบบอย่างมาแต่เปลี่ยนเรียกให้เหมาะสมกับนามเทวดานพเคราะห์ที่ใช้เรียกในเมืองไทย การเรียกชื่อวันดังกล่าวมีมาช้านานแล้ว มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกมากแห่งด้วยกัน
ข้อมูลจาก : ส.พลายน้อย. ชื่อ “วัน-เดือน” ของไทย, ศิลปวัฒนธรรม  มกราคม 2535
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 12 เมษายน 2562

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา