Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
LH Bank
•
ติดตาม
11 พ.ย. 2022 เวลา 09:57 • ไลฟ์สไตล์
7 ขั้นตอนการปลดหนี้ ต้องมีวิธีอย่างไรบ้าง?
2
ในปัจจุบันปัญหาเรื่องการเงินที่พบมากที่สุด ไม่ใช่ว่ามีเงินเหลือแล้วจะนำเงินไปลงทุนอะไร แต่กลับกลายเป็นปัญหาเรื่อง “หนี้สิน” ที่หลาย ๆ คนกำลังประสบปัญหากันอยู่ เชื่อว่าหนี้สินเป็นสิ่งที่ถ้าเลือกได้ก็คงไม่มีใครอยากเป็นทั้งนั้น แต่ถ้าหากว่าเกิดหลวมตัวเป็นหนี้ไปแล้ว และยังไม่มีวินัยทางการเงินที่ดี รวมถึงไม่รู้จักวิธีการปลดหนี้ที่ถูกต้อง ก็ยากที่จะหลุดจากวงโคจรเหล่านี้ไปได้
2
สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาเรื่องหนี้ ไม่รู้ว่าจะปลดหนี้ได้อย่างไร ก็สามารถลองทำตาม 7 ขั้นตอนในการปลดหนี้ง่าย ๆ นี้ เพื่อให้หลุดพ้นจากวังวนเหล่านี้กัน
●
หยุดวงจรการสร้างหนี้เพิ่ม
สิ่งที่แทบจะสำคัญที่สุดเลย คือ การหยุดวงจรการสร้างหนี้ ถึงแม้เราจะสามารถเคลียร์หนี้เก่าที่เรามีได้แล้ว แต่ถ้ายังไม่เข้าใจและสร้างหนี้ไม่ดีเพิ่มขึ้นมาอีก ก็จะไม่สามารถหลุดจากวงโคจรหนี้ได้ ต้องวนกลับมาเป็นหนี้ใหม่อยู่ดี โดยที่เราจะต้องมีการแยกหนี้ดี-หนี้ไม่ดี ให้ได้ โดยหนึ่งการหลุดพ้นจากวงโคจรนี้ คือ การหยุดพฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
●
เช็คยอดหนี้สินทั้งหมด
สิ่งต่อไปที่เราควรทำก็คือ เริ่มสำรวจยอดหนี้ทั้งหมดว่า จำนวนหนี้ที่เรามีทั้งหมดเป็นเท่าไหร่ ที่ไหนบ้าง ดอกเบี้ยเท่าไหร่ นำมาเรียงลำดับว่าดอกเบี้ยที่ไหนสูงสุดเมื่อเรามีสภาพคล่องเหลือเราจะได้ลำดับความสำคัญได้ถูกต้องว่าควรเคลียร์หนี้ก้อนไหนก่อนหลัง
●
การรีไฟแนนซ์ลดภาระดอกเบี้ย
การรีไฟแนนซ์เป็นหนึ่งตัวช่วยที่ดีมากสำหรับคนที่ยังพอมีเครดิตที่ดีอยู่ เพราะการรีไฟแนนซ์ด้วยการหาแหล่งสินเชื่อที่ภาระดอกเบี้ยต่ำไปปิดหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยสูง จะช่วยให้ภาระดอกเบี้ยเราลดลงได้ การที่เราได้ดอกเบี้ยที่ถูกลงก็จะทำให้สามารถปลดหนี้ได้ง่ายขึ้น
นอกจากการรีไฟแนนซ์แล้ว การเข้าไปเจรจาต่อรองกับทางสถาบันการเงินเองก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน หลาย ๆ คนอาจจะกลัวการพูดคุยเจรจากับสถาบันการเงิน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถเข้าไปต่อรองกับสถาบันการเงินเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ ซึ่งพื้นฐานทางสถาบันการเงินเองก็ยินดีที่จะช่วยเหลืออยู่แล้ว เพราะทางสถาบันก็กลัวว่าลูกหนี้จะผิดนัดชำระหนี้เช่นเดียวกัน
ดังนั้น การไกล่เกลี่ยเจรจาต่อรอง จึงเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายนั่นเอง แต่ทางสถาบันการเงินจะมีข้อเสนออย่างไรก็ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของแต่ละสถาบันการเงินนั้น
●
เลือกชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงก่อน
หลังจากที่เราทำการเรียงลำดับหนี้สินที่มีดอกเบี้ยสูงไปต่ำและจัดการรีไฟแนนซ์เรียบร้อยแล้ว และหากเรามีสภาพคล่องเหลือให้เลือกชำระหนี้ก้อนที่สูงที่สุดก่อน เพราะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงสุดจะสร้างภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาวมากที่สุด และที่สำคัญหนี้ที่เราจะโปะนั้นต้องเป็น “แบบดอกเบี้ยลดต้นลดดอก (Effective Rate)” ไม่เช่นนั้นโปะหนี้ไปก็ไม่ได้ทำให้ดอกเบี้ยลดลง
●
ควบคุมรายจ่าย
หลังจากที่เราจัดการหนี้สินให้เราเสียดอกเบี้ยน้อยที่สุดแล้ว สิ่งที่เราต้องทำต่อมาก็คือ การควบคุมรายจ่ายเพื่อให้เรามีสภาพคล่องเหลือไปชำระหนี้สินได้เพิ่มเติม ยิ่งเราลดรายจ่ายได้มากเท่าไหร่ ก็หมายความว่าเราจะยิ่งมีสภาพคล่องไปปิดหนี้มากขึ้นเท่านั้น และยิ่งเราปิดหนี้ได้เร็วมากขึ้นก็จะยิ่งทำให้เราเสียดอกเบี้ยน้อยลงเป็นเงาตามตัว
●
สร้างวินัยการออม ป้องกันหนี้เสียในอนาคต
เมื่อเราสามารถหลุดจากวงโคจรหนี้ได้ การสร้างวินัยก็เป็นหนึ่งในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเรา เพราะจะทำให้เรามีวินัยทางการเงินมากขึ้น ทำให้มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีความสุขจากการที่ได้เห็นเป้าหมายของตัวเองเติบโตขึ้นอีกด้วย
●
เพิ่มช่องทางรายได้
การลดรายจ่ายมักจะทำได้เพียงประมาณหนึ่งเท่านั้น เพราะยังไงเราก็ไม่สามารถปรับลดหรือตัด “รายจ่ายคงที่ (Fixed Expense)” ได้มากนัก แต่การหารายได้เพิ่มนั้นไม่มีเพดานหรือข้อจำกัดใด ๆ ยิ่งเราสร้างรายได้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นตัวเร่งให้เราแก้ไขปัญหาหนี้สินได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น
เรื่องหนี้สินนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าบริหารจัดการไม่ดีก็จะสร้างภาระและปัญหาให้กับตัวเราได้ และถ้าหากไม่พยายามลงมือทำอย่างต่อเนื่อง หรือวางแผนได้ไม่ดีก็จะไม่สามารถหลุดจากวงโคจรหนี้สินได้เช่นกัน
*หมายเหตุ* สำหรับการลดหนี้สินอย่างง่ายมี 2 ขั้นตอนคือ
★
ชำระเงินกู้มากกว่าค่างวด หรือที่เราเรียกกันว่าการโปะเงินต้น เนื่องจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นสินเชื่อที่มีค่างวดผ่อนชำระเท่า ๆ กันทุกเดือน โดยภายใต้ค่างวดประกอบด้วยส่วนของเงินต้น และดอกเบี้ย ที่คำนวณจากภาระเงินต้นที่คงค้าง นั่นหมายความว่ายิ่งภาระเงินต้นมาก ยอดดอกเบี้ยที่ต้องชำระในแต่ละเดือนจะมาก ในขณะที่ภาระเงินต้นน้อย ยอดดอกเบี้ยจะน้อยไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากลูกค้าชำระค่างวดมากกว่าค่างวดปกติในทุก ๆ เดือน จะทำให้เงินต้นคงค้างหมดเร็วนั่นเอง
1
★
การรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัยจากธนาคารอื่น โดยปกติอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปีที่ 4 เป็นต้นไป จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเฉลี่ย 5-7% ตามแต่ละธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกได้ที่จะขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเดิม หรือสามารถรีไฟแนนซ์สินเชื่อไปยังธนาคารอื่น
★
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารอื่นจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการทำธุรกรรม เช่น ค่าประเมินหลักประกัน ค่าอากรแสตมป์ ค่าจดจำนอง ฯลฯ ซึ่งต้องคำนวณค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จะคุ้มค่ากับยอดดอกเบี้ยที่ลดลงจากการรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัยในครั้งนี้หรือไม่
ปลดหนี้
6 บันทึก
12
9
6
12
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
โฆษณา
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย