13 พ.ย. 2022 เวลา 23:59 • สุขภาพ
#สร้างเต้านมใหม่หลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านมทำได้จริงดิ? ตอนที่ 1
สวัสดีครับ วันนี้ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน หมอมีเรื่องราวใหม่ๆ ของการรักษามะเร็งเต้านมมาฝากทุกคน ก็คือ การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม ทำได้อย่างไร วันนี้เรามาฟังกันครับ
เดิมทีแล้วการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมนั้น จะเป็นการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งเต้านมออก เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เหลือเซลล์มะเร็งเต้านมอยุ่ในร่างกาย แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ปัจจุบัน ทำให้เราสามารถสร้างเต้านมใหม่ (BREAST RECONSTRUCTION) ให้สวยงามหลังจากผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมได้ (ในบางครั้งก็สวยกว่าก่อนเป็นมะเร็งเต้านมเสียออีก) แนวคิดเป็นอย่างไรเรามาฟังกันครับ
เมื่อไรที่เราสามารถผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่หลังการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมได้?
การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังการรักษามะเร็งเต้านมแบ่งได้ออกเป็น2ระยะด้วยกันคือ
-การผ่าตัดเสริมสร้างทันทีหลังเอาก้อนมะเร็งเต้านมออก (IMMEDIATE BREAST RECONSTRUCTION)
คือการผ่าตัดเพื่อเสริมสร้างเต้านมทันทีที่เอาก้อนมะเร็งเต้านมออกในการผ่าตัดครั้งเดียว ข้อดีคือ ผู้ป่วยดมยาสลบผ่าตัดครั้งเดียว ไม่ต้องผ่านช่วงเวลาที่ไม่มีเต้านม ลดการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังผ่าตัด แต่ข้อเสียคือ การผ่าตัดอาจจะต้องใช้เวลาที่นานกว่าการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านมแบบปกติ และในบางครั้งการผ่าตัดอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ไม่สามารถเสริมสร้างเต้านมได้จึงต้องมาเสริมสร้างเต้านมภายหลังกันอีกทีนั่นเอง
-การผ่าตัดเสริมเต้านมภายหลัง (DELAYED BREAST RECONSTRUCTION)
การผ่าตัดแบบเสริมภายหลังนี้ก็คือการที่ตัดเต้านมออกก่อน แล้วให้ผู้ป่วยไปรักาโรคมะเร็งเต้านมจนหายแล้วจึงกลับมาผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมกันอีกที ซึ่งโดยปกติระยะเวลาที่จะกลับเข้ามาเสริมสร้างเต้านมหลังการรักษามะเร็งเต้านมจะอยู่ที่ 2 ปี ข้อดีของการรักษาแบบนี้คือ ผู้ป่วยสามารถไปรับการรักาโรคมะเร็งเต้านให้หายดีเสียก่อนค่อยกลับมารับการผ่าตัด และสามารถทำการรักษาแบบนี้ได้ใน โรงพยาบาลทุกที่ แต่ข้อเสียของการผ่าตัดแบบนี้คือ เวลาที่มาผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมจะมีกระบวนการผ่าตัดที่ซับซ้อนมากกว่า
-การผ่าตัดแบบก้ำกึ่ง (DELAYED IMMMEDIATE BREAST RECONSTRUCITON)
การผ่าตัดแบบนี้คือการผ่าตัดโดยที่หลังการผ่าตัดเอาเต้านมออก ผู้ป่วยจะได้รับการใส่ถุงถ่างขยายหน้าอก ทันที เพื่อรักษาความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อหน้าอกในระหว่างที่รับการรักษามะเร็งเต้านม เมื่อรักษามะเร็งเต้านมหายแล้วจึงค่อยนัดกลับมาใส่ถุงซิลิโคนเต้านมเทียมอีกที นั่นเอง
ส่วนในตอนถัดไปของรายการคุยเฟื่องเรื่องศัลย์หมอจะมาเล่าให้ทุกคนได้ฟังถึงขั้นตอนการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมนะครับ
ถ้าคุณมีอาการผิดปกติที่หน้าอกหรือเต้านมอย่างนิ่งนอนใจ
รีบไปพบแพทย์ใกล้บ้านนะครับ
ด้วยรัก
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
#หมอโภคิน
ศัลยแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
ผู้บังคับการกองพันพยาบาล กรมสนับสนุน หน่วยบัญชาการต่อสูอากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ
References
1. Ferlay J, et al. Cancer incidence and mortality worldwide: sources, methods and major patterns in GLOBOCAN 2012. Int J Cancer. 2015; 136(5):E359–86. [PubMed: 25220842]
2. American Cancer Society, I., Surveillance Research. Cancer Facts & Figures 2017. 2017. [cited 2017 05/25/2017]; Available from: https://www.cancer.org/content/dam/cancer-org/research/cancerfacts-and-statistics/annual-cancer-facts-and-figures/2017/cancer-facts-and-figures-2017.pdf
3. Weir HK, et al. Heart Disease and Cancer Deaths - Trends and Projections in the United States, 1969–2020. Prev Chronic Dis. 2016; 13:E157. [PubMed: 27854420] Author Manuscript Author Manuscript
4. Fisher B, et al. Five-year results of a randomized clinical trial comparing total mastectomy and segmental mastectomy with or without radiation in the treatment of breast cancer. N Engl J Med. 1985; 312(11):665–73. [PubMed: 3883167]

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา