14 พ.ย. 2022 เวลา 11:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
David Tepper ผู้ทำกำไรกว่า 260,000 ล้าน จากวิกฤติซับไพรม์
2
รู้หรือไม่ว่า นอกจากคุณ Michael Burry ผู้จัดการกองทุน เจ้าของเรื่องราวในภาพยนตร์เรื่อง The Big Short ที่ได้กลิ่นวิกฤติซับไพรม์ และทำกำไรไปได้ถึง 3 หมื่นล้านบาทแล้ว
ยังมีผู้จัดการกองทุนอีกคนหนึ่งที่ชื่อคุณ David Tepper โดยเขาสามารถทำกำไรจากวิกฤติเดียวกันนี้ ได้มากกว่าคุณ Burry ด้วยจำนวนเงินที่มากถึง 260,000 ล้านบาท
คุณ Tepper ทำอย่างไร ถึงได้กำไรแสนล้านบาท จากวิกฤติซับไพรม์
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
4
เส้นทางอาชีพของคุณ Tepper เริ่มต้นเมื่อเขาจบปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ในปี 1982 และถูกวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่อย่าง Goldman Sachs ติดต่อให้เข้าไปทำงาน เป็นนักวิเคราะห์สินเชื่อ ในปี 1985
ด้วยผลงานที่โดดเด่นของคุณ Tepper เพียงแค่ 6 เดือน เขาก็ถูกเลื่อนตำแหน่งให้เป็นหัวหน้าเทรดเดอร์ ในแผนกซื้อขายตราสารหนี้ผลตอบแทนสูง
โดยหน้าที่ของคุณ Tepper นั้น ก็คือการมองหาบริษัทที่กำลังอยู่ในสถานะย่ำแย่ โดยเฉพาะบริษัทที่ใกล้จะล้มละลาย
1
เพราะบริษัทเหล่านี้ จะพยายามดิ้นรนเฮือกสุดท้าย ด้วยการออกหุ้นกู้ราคาถูก แต่จ่ายดอกเบี้ยสูง ๆ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาซื้อ
1
ทำให้ก่อนจะลงทุน คุณ Tepper ต้องวิเคราะห์ก่อนว่า ธุรกิจเหล่านี้ สามารถพลิกฟื้นกลับมาได้หรือไม่
1
เพราะถ้าหากบริษัทที่เขาลงทุนไป สามารถพลิกฟื้นกลับมาได้ เขาก็จะได้กำไรจากราคาหุ้นกู้ที่จะเพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้าบริษัทล้มละลาย เงินลงทุนก็จะหายไปทั้งหมด
1
คุณ Tepper ทำงานในตำแหน่งนี้อยู่ประมาณ 7 ปี จนในที่สุดเขาก็นำประสบการณ์ที่ได้รับ ออกไปก่อตั้งกองทุน Appaloosa Management ด้วยตัวเอง ในปี 1993
รูปแบบการลงทุนของกองทุน Appaloosa Management ก็เป็นไปตามสิ่งที่คุณ Tepper ถนัด นั่นก็คือการเข้าซื้อหุ้นกู้ของบริษัทที่กำลังย่ำแย่ และรอให้บริษัทพลิกฟื้น กลับมาจากการล้มละลาย
1
หลักการลงทุนของคุณ Tepper นั้น เรียบง่ายมาก โดยบริษัทที่เขาสนใจจะลงทุน มีเพียงแค่ 2 แบบ คือ บริษัทที่เสี่ยงล้มละลายที่สุด และบริษัทที่ใคร ๆ ก็ต่างพากันหันหน้าหนี
การไม่กลัวการขาดทุนของเขานี้เอง ก็ได้ทำให้เขาแตกต่างและสามารถทำกำไรได้มากกว่านักลงทุนคนอื่น ๆ ในตลาด
1
กองทุน Appaloosa Management เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ภายใต้การนำของคุณ Tepper จนกระทั่งวิกฤติซับไพรม์ ได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน ปี 2008 ด้วยการล้มละลายของธนาคาร Lehman Brothers
2
ซึ่งการที่ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา ในตอนนั้น ยังล้มละลายได้แบบนี้ ก็ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ เชื่อกันไปแล้วว่า ระบบธนาคารของประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังจะถึงคราวล่มสลายแล้ว
1
ด้วยการหนีตายของนักลงทุนนี้เอง ทำให้หุ้นธนาคารชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ณ ขณะนั้น พากันปรับตัวลดลงอย่างมาก ในช่วงต้นเดือนมีนาคม อย่างเช่น
2
หุ้น JPMorgan Chase ราคาลดลง -43%
หุ้น Citigroup บริษัทแม่ของ Citibank ราคาลดลง -84%
หุ้น Bank of America ราคาลดลง -77%
2
โดยเฉพาะ Citigroup ที่ราคาหุ้นได้ตกลงมาอยู่ที่ 0.97 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น แม้จะเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา แถมยังให้บริการในกว่า 100 ประเทศทั่วโลกอีกด้วย
นอกจากนี้ ในช่วงเริ่มต้นของวิกฤติซับไพรม์ตอนปลายปี 2008 ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ก็ได้ประกาศแผนเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีปัญหาของธนาคารต่าง ๆ แล้ว แต่นักลงทุนในตอนนั้น ไม่ได้เชื่อใจรัฐบาล ทำให้การเทขายหุ้น เพื่อหนีตายยังคงดำเนินต่อไป
4
เหตุการณ์เหล่านี้ในสายตาของคุณ Tepper ถือเป็นโอกาสทองในการเข้าซื้อหุ้นกลุ่มธนาคาร เพราะมีโอกาสไม่บ่อยนัก ที่เราจะสามารถซื้อหุ้นธนาคารระดับโลกได้ ด้วยราคาที่ถูกกว่าโค้ก 1 ขวดเสียอีก
แถมเขายังมองว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกา จะต้องเอาจริงกับการเข้าซื้อสินทรัพย์ของธนาคารในครั้งนี้แน่นอน เพราะถ้าหากธนาคารชั้นนำเหล่านี้ล้มละลายไป เศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคการเงินของสหรัฐอเมริกา ก็จะไปไม่รอดเช่นกัน
เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้ว เขาจึงตัดสินใจเข้าซื้อหุ้นของ Bank of America และ Citigroup ทันที ที่ราคา 3.34 ดอลลาร์สหรัฐ และ 0.79 ดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ พร้อมทั้งเข้าซื้อตราสารหนี้ของบริษัทประกันภัยอย่าง AIG ที่กำลังมีปัญหา ด้วยราคาที่ถูกมาก ๆ อีกด้วย
หลังจากนั้นทุกอย่างก็เป็นไปตามที่คุณ Tepper มองไว้ โดยธนาคารกลางสหรัฐ ได้เริ่มการอัดฉีดสภาพคล่อง เข้าสู่ธนาคารใหญ่ ๆ เหล่านี้ ผ่านทางการพิมพ์เงินออกมา เพื่อซื้อตราสารหนี้ หรือที่เรียกว่า QE
ราคาหุ้นของธนาคารที่คุณ Tepper ถืออยู่ ก็พากันพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในสิ้นปี 2009 ราคาหุ้นของ Bank of America และ Citigroup ก็ได้เพิ่มขึ้นมากถึง 4.5 เท่า และ 4.2 เท่า ตามลำดับ
ราคาหุ้นของธนาคารที่เพิ่มขึ้น บวกกับราคาหุ้นกู้ AIG ที่เพิ่มขึ้น จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐเข้าซื้อ ก็ได้ทำให้ภายในสิ้นปีนั้น คุณ Tepper สามารถทำกำไรไปได้ถึง 260,000 ล้านบาท
1
จากเรื่องนี้จะเห็นได้ว่า คุณ Tepper ทำในสิ่งที่คล้าย ๆ กันกับคำพูดของคุณ Warren Buffett ที่กล่าวไว้ว่า “จงกลัวเมื่อคนอื่นกล้า และจงกล้าเมื่อคนอื่นกลัว”
1
แต่อย่างไรก็ตาม การที่คุณ Tepper ทำแบบนี้ได้ เราก็ไม่ควรมองข้ามเรื่องประสบการณ์ในการทำงานของเขา ที่ได้วิเคราะห์บริษัทใกล้ล้มละลายมานับไม่ถ้วน จนสามารถแยกได้ว่าบริษัทไหน จะสามารถฟื้นกลับมาได้หรือไม่ได้
3
เพราะถ้าหากเราใช้แต่ความกล้าในการลงทุน โดยขาดการวิเคราะห์ที่สมเหตุสมผล และข้อมูลที่เพียงพอ
1
แทนที่เราจะกลายเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ก็อาจกลายเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่หมดตัวจากช่วงวิกฤติเศรษฐกิจได้เช่นกัน..
2
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
จากการจัดอันดับของ Forbes ในตอนนี้ คุณ David Tepper เป็นผู้จัดการกองทุน Hedge Funds ที่รวยที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยทรัพย์สินกว่า 691,000 ล้านบาท
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งจอง ได้ที่
3
โฆษณา