14 พ.ย. 2022 เวลา 15:15 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มหากาพย์แก๊งตกหุ้น MORE ส่อเข้าข่ายฉ้อโกง
เสี่ยงโบรกเจ็บหนัก เสียหายมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท
ตลท. พบ ตำรวจ เร่งสืบสวน หวั่นกระทบเชื่อมั่นลงทุน
เล่าย้อนเรื่องหุ้น MORE ที่มีเกิดการซื้อขายที่ผิดปกติ หลังจากที่ราคาหุ้นตัวนี้เริ่มไต่ระดับ 15 สตางค์ ในเดือนตุลาคมปี 2019 จนมาถึง ราคา 2.82 บาท ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10:00 แต่หลังจากนั้น มีการเทขายจนราคาลดลงถึง 30% หรือติด Floor และเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปจนถึงวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565
สิ่งที่เกิดขึ้นมาจนถึงในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แถลงข่าวกรณีพบการซื้อขายที่ผิดปกติในหุ้น MORE ระบุว่า ได้ติดตามให้ MORE ชี้แจงข้อมูล และแจ้งเตือนนักลงทุนใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายตั้งแต่ 10 พฤศจิกายน 2565
2
จากกระแสข่าวนั้น มีความคลาดเคลื่อนไปมากจนสร้างความสับสนในกลุ่มผู้ลงทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลจากทุกฝากที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง จึงเห็นควรหยุดพักการซื้อขายหลักทรัพย์ MORE ในวันนี้ 14 พฤศจิกายน 65 เป็นต้นไป โดยมีการขึ้นเครื่องหมาย SP หรือ ห้ามซื้อขายหุ้นเป็นการชั่วคราวโดยแต่ละครั้งมีระยะเวลา เกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขาย
โดยมหากาพย์เรื่องนี้ ต้องเรียนรู้จากเรื่องของบัญชีซื้อขายหุ้นประกอบกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเรื่องราวทั้งหมด เพราะในปัจจุบันรูปแบบบัญชีซื้อขายอยู่ 3 ชนิด
1. บัญชีเงินสด (Cash Account) ที่นักลงทุนสามารถสั่งซื้อหุ้นเท่ากับวงเงิน ที่ได้รับ โดยหลังจากได้รับการอนุมัติวงเงินแล้ว ต้องวางหลักประกัน 15% ของวงเงินโบรกเกอร์โดยการชำระเงินค่าหุ้น จะตัดเงินจากบัญชีเงินฝากหรือกองทุนรวมที่ได้แจ้งเอาไว้กับโบรกเกอร์ในวันทำการที่ 2 จากวันที่สั่งซื้อ
.
2. บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance / Cash Deposit) เป็นบัญชีที่นักลงทุน ต้องฝากเงินไว้กับโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชี หากสั่งซื้อหุ้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีทันที
1
3. บัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) หรือเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) เป็นบัญชีที่นักลงทุนจ่ายเงินซื้อเอง ส่วนหนึ่ง และที่เหลือโบรกเกอร์จะเป็นฝ่ายจ่าย ซึ่งเงินที่โบรกเกอร์จ่ายให้นั้น ถือว่าเป็นเงินส่วนที่ นักลงทุนกู้จากโบรกเกอร์นั่นเอง
ซึ่งเรื่องนี้เกิดจาก คนที่ใช้ บัญชีมาร์จิ้นนี่แหละ เพราะ ถ้ากรณีที่นักลงทุนไม่สามารถเอาเงินมาจ่ายในส่วนที่โบรกเกอร์จ่ายไปก่อน เท่ากับว่า โบรกเกอร์จะต้องแบกค่าใช้จ่ายก้อนนี้ไป หลังจากที่มีการทำคำสั่งซื้อขายไป 2 วัน หรือ (T+2)
1
เนื่องจากวันที่ 14 พฤศจิกายน จะเป็นวันที่ต้องส่งมอบหลักทรัพย์ MORE ด้วยการจ่ายเงินเพื่อแลกกับหุ้น จากความเคลื่อนไหวล่าสุดเมื่อวันพฤหัส ที่ 10 พฤศจิกายน 2565 รวมมูลค่าซื้อสุทธิจำนวน 3,671.49 ล้านบาท ด้วยบัญชี Margin เพราะ การซื้อด้วยบัญชีนี้ในวันพฤหัส ต้องมีการชำระเงินจากโบรกเกอร์เพื่อซื้อหุ้นนี้ ภายในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน จึงทำให้ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยการขึ้นเครื่องหมาย SP เพื่อห้ามซื้อขายหุ้นเป็นการชั่วคราว
1
ประกอบกับ พื้นฐานของธุรกิจบริษัทนี้ ทำธุรกิจเกี่ยวกับ การจำหน่ายตัวกรองน้ำแร่ เทคโนโลยีและวิศวกรรมสำหรับการผลิตน้ำสะอาด และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อมาดูข้อมูลของรายได้ และ กำไรของบริษัทนี้ พบว่า รายได้และกำไรในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า
1
2562 : รายได้ 40.31 ล้านบาท ขาดทุน 15.77 ล้านบาท
2563 : รายได้ 42.27 ล้านบาท ขาดทุน 47.22 ล้านบาท
2564 : รายได้ 143.73 ล้านบาท กำไร 1,158.67 ล้านบาท
1
สังเกตได้ว่า รายได้จากปี 64 โตขึ้นประมาณ 3 เท่า จากปี 63 ส่วน กำไรจากปี 64 พลิกกลับมาเหมือนฟ้ากับเหว เมื่อเทียบกับปี 63
.
และหากย้อนความหุ้น MORE เดิมทีเคยใช้ชื่อว่า DNA มีประเด็นคดีฉ้อโกงบิตคอยน์นักลงทุนต่างชาติ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อใหม่พร้อมปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น หนึ่งในรายชื่อผู้ถือหุ้นขณะนี้มีชื่อของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เข้าถือหุ้นในสัดส่วนประมาณ 8% ของทุนจดทะเบียน หุ้น MORE เดิมทีเคยชื่อว่า DNA มีประเด็นเคยโกงบิทคอยน์นักลงทุนต่างชาติ
2
โบรกที่คาดว่าจะมีผลกระทบจากมหากาพย์หุ้น MORE
- บล.กรุงศรี อาจเสียกว่า 1 พันล้านบาท
- บล.เกียรตินาคิน ภัทร อาจเสียหายกว่า 700 ล้านบาท
- บล.ดาโอ อาจเสียหายกว่า 600 ล้านบาท
- บล.เอเซีย เวลท์ อาจเสียหายกว่า 100 ล้านบาท
- บล.คิงส์ฟอร์ด อาจเสียหายกว่า 300 ล้านบาท
1
และ บล.อื่นๆ ซึ่งยังไม่กล้าเปิดเผยตัวเลข เพราะเกรงกระทบต่อความมั่นใจของลูกค้าและนักลงทุน
ปฎิบัติการณ์นี้สร้างความเสียหายใหญ่เกินกว่าที่หลายคนจะคาดการณ์ได้ เพราะหากปล่อยให้การเคลียร์ริ่งเกิดขึ้น เชื่อว่าจะคงมีหลายโบรกถึงขั้นเสี่ยงล้มละลายถูกลบชื่อออกจากระบบอย่างแน่นอน
1
สิ่งที่เกิดขึ้นและท่าทีล่าสุดทาง นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ระบุว่า บริษัทหลักทรัพย์ ได้เห็นการซื้อขายหลักทรัพย์ MORE ที่เกิดขึ้นวันที่ 10-11 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีปริมาณการซื้อขายเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาต่ำลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จึงพิจารณาได้ว่าอาจเป็นการเข้าข่ายที่ผิดปกติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และอาจจะทำให้เกิดความกังวลในการลงทุน
นอกจากนี้ในช่วงค่ำของวันนี้ (14 พฤศจิกายน 2565) นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการหัวหน้าสายงานกฎหมาย และดูแลกลุ่มงานเลขานุการองค์กรและกำกับองค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือความผิดปกติเกี่ยวกับกรณีปัญหาการชำระราคาค่าหุ้นของบริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน)
เบื้องต้น พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัด เข้าร่วมหารือ เนื่องจากเชื่อได้ว่า ธุรกรรมการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ MORE เป็นจำนวนมากในราคาสูงผิดปกติ และอยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดในการซื้อขายหลักทรัพย์ดามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา
ซึ่งหลังจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ , ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นๆ จะมีการประสานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบและสืบสวนข้อเท็จจริงให้กระจ่างชัด หลังจากนี้ต่อไป
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจเป็นรายการโปรด โดยคลิกที่จุด [...] ด้านบนมุมขวาบนของเพจ เลือก "การตั้งค่าการติดตาม" และกดเลือกให้เป็น "#Favourites" หรือ “#รายการโปรด” ไว้จะได้ไม่พลาดเรื่องราวจากเพจเรา
╚═══════════╝
1
โฆษณา