15 พ.ย. 2022 เวลา 01:57 • การเมือง
จะเจรจากันได้ไหม?
โดย
1
นิติภูมิธณัฐ
มิ่งรุจิราลัย
ท่านถามว่าทำไมปูตินไม่มาประชุมเอเปกที่ไทย เท่าที่ฟังโฆษกสำนักประธานาธิบดีบอกว่า สถานการณ์ไม่อำนวยให้ไปต่างประเทศ
1
ตอนแรกหลายคนวิเคราะห์ว่า ปูตินจะไปอินโดนีเซียเพราะประธานาธิบดีวิโดโดของอินโดนีเซียบินไปเยือนปูตินที่กรุงมอสโกและเยือนเซเลนสกีที่กรุงคีฟ หวังจะให้มีการเจรจากัน
1
ผมทำนายแต่แรกแล้วว่า ปูตินจะไม่ไปประชุม G20 ที่อินโดนีเซีย เพราะใน G20 มี G7 อยู่ด้วย
สมาชิก G7 มีแต่ศัตรูของปูติน ทั้งสหรัฐฯ อังกฤษ แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และญี่ปุ่น ถ้าไป ปูตินก็คงทำหน้าไม่ถูก
วิโดโดไม่เข้าใจว่าสถานการณ์ช่วงนี้มันเลยการเจรจาไปแล้ว
ที่จริงรัสเซียก็อยากเจรจา แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่รัสเซียวางไว้ เงื่อนไขของรัสเซียคือ อูเครนต้องไม่เข้านาโต อูเครนต้องยอมรับเขตแดนปัจจุบัน (หลังจากที่มีการลงประชามติล่าสุด)
1
ที่รัสเซียอยากให้อูเครนเป็นก็คืออยากให้ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นมิตร ไม่ชักนำตะวันตกมาอยู่ใกล้ชายแดนรัสเซีย อยากให้อูเครนอยู่ในแวดวงของชาติรัฐในยุโรปตะวันออกที่รัสเซียเป็นหลัก
ผมเชื่อว่าอูเครนรับเงื่อนไขของรัสเซียไม่ได้
รัสเซียบุกอูเครนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565 พอถึงมีนาคม เซเลนสกีบอกว่า มีโอกาสที่จะคุยเผชิญหน้ากันอย่างลูกผู้ชาย
แต่หลังจากเดือนมีนาคมแล้ว เราไม่เคยได้ยินเซเลนสกีพูดประโยคอย่างนี้อีกเลย
ต่อมาเซเลนสกีพูดใหม่ว่า จะมีการเจรจาต่อเมื่อรัสเซียถอนทหารทั้งหมดออกไปจากแผ่นดินของอูเครน ให้ย้อนกลับไปใช้แผนที่ปลาย ค.ศ.1991 (ปีที่สหภาพโซเวียตแตกกลายเป็น 15 ประเทศ)
1
นั่นหมายความว่า ทั้งไครเมีย ดอนบัสก์ และพื้นที่ทั้งหลายที่กลายเป็นของรัสเซียทุกวันนี้ ต้องกลับไปเป็นของอูเครนทั้งหมด
ซึ่งตรงนี้ รัสเซียก็ยอมรับไม่ได้
ต่อมา เซเลนสกีก็พูดใหม่อีก บอกว่าเราจะสู้กันในสนามรบเท่านั้น เราจะไม่คุยกับประธานาธิบดีคนนี้ (ปูติน)
1
ประโยคนี้หมายความว่า เซเลนสกีได้รับการหนุนจากสหรัฐฯและตะวันตกและมีความเชื่อว่า อนาคต จะสร้างกลุ่มคนขึ้นมา ล้มปูติน และจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ที่ไม่ใช่ปูติน
“เมื่อใดที่รัสเซียมีประธานาธิบดีคนใหม่ เราถึงค่อยมาคุยกัน”
กลางสัปดาห์ที่แล้ว เซเลนสกีออกมาพูดใหม่อีกแล้ว ว่าเรายังจะพอเจรจากันได้ แต่รัสเซียต้องถอนทหารออกไปจากอูเครน
ที่น่าสนใจคือ เซเลนสกีไม่ได้พูดคำว่า ‘ต้องถอนทหารออกไปจากดินแดนของอูเครนตามแผนที่ ค.ศ.1991’
ถ้าให้ผมวิเคราะห์ เซเลนสกีคงจะรู้ว่าไม่สามารถที่จะเอาไครเมียกับดอนบัสก์คืนมาได้
ส่วนแคว้นซาปอริซเซีย เคอร์ซอน ลูฮันสก์ และโดเนตสก์ ถ้ารัสเซียให้คืนก็เจรจากันได้ ซึ่งผมคิดว่าก็เป็นไปไม่ได้เหมือนกัน รัสเซียก็จะไม่ยอม เพราะมีการไปทำประชามติและรัฐสภารัสเซียรับรองไปแล้ว
จากการติดตามบทบาทของเซเลนสกีในสงครามครั้งนี้ เซเลนสกีระมัดระวังคำพูดมาก เพราะถ้ายอมรัสเซีย คน
อูเครนจะรุมกันฉีกเนื้อเซเลนสกีเป็นชิ้นแน่
ผมเข้าไปอูเครนตั้งแต่ ค.ศ.1991 ก่อนสหภาพโซเวียตแตก แล้วก็ไปอย่างต่อเนื่อง และยังเคยทำภาพยนตร์ที่ร่วมมือกันระหว่างรัสเซียกับอูเครนมาหลายเรื่อง
1
ช่วงที่ผ่านมา ที่บ้านรับแขกทั้งรัสเซียและอูเครนมาโดยตลอด ผมจึงรู้จักนิสัยใจคอคนอูเครนและคนรัสเซียดีในระดับหนึ่ง
ก่อนหน้านั้น คนอูเครนแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า
การบุกของรัสเซียทำให้คนอูเครนซึ่งแต่เดิมค่อนข้างแตกความสามัคคีกลับมารวมตัวกัน ผนึกกำลังเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตั้งใจรบอย่างเต็มที่
ประชาชนอูเครนกระเหี้ยนกระหือรืออยากจะรบตอบโต้รัสเซีย
1
เซเลนสกีเป็นนักแสดง แกต้องแสดงให้สมบทบาท ให้ผู้ชมพอใจ
ผู้ชมของเซเลนสกีคือคนอูเครนทั้งโลก.
โฆษณา