16 พ.ย. 2022 เวลา 23:00 • ประวัติศาสตร์
มารี คูรี(Marie Curie)ค.ศ. 1867-1934
นักวิทยาศาสตร์
มารี คูรี (Marie Curie) ในปี ค.ศ.1900
มารี คูรี(Marie Curie)เป็นนักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของคนไข้มาเป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุค
ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ชาติเหล่านี้ ทำให้มารี คูรี ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน
มารี คูรี เดิมชื่อ มาเรีย ซาลอแมอา สกวอดอฟสกา เป็นชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1867 ที่เมืองวอร์ซอ เขตวิสทูลา สมัยจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศโปแลนด์
มารี กูรี  ในห้องปฏิบัติการ
บิดาเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ และมักพาเธอมาที่ห้องแลปเสมอ จึงทำให้เธอสนใจวิชาด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก แม้จะมีเหตุการณ์ทางการเมืองเมื่อรัสเซียมาปกครองโปแลนด์ และบังคับให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการก็ตาม
ในสมัยนั้นค่านิยมในสังคมของผู้หญิงส่วนใหญ่จะต้องเรียนการเป็นแม่บ้าน ซึ่งมารี คูรี แตกต่างโดยสิ้นเชิง ที่ใส่ใจค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ หลังจบการศึกษาระดับต้นแล้ว เธอกับพี่สาวก็ทำงานด้วยการเป็นครูสอนอนุบาล สอนหนังสือให้กับเด็ก ๆ แถว ๆ นั้น
โดยทั้งสองมุ่งหวังอยากไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส แต่เงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย เธอจึงให้พี่สาวคือ บรอเนีย ไปเรียนต่อด้านแพทยศาสตร์ก่อน พอจบแล้วค่อยส่งเสียเธอเรียนต่อด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป
ประกาศนียบัตรรางวัลโนเบลของมารี กูว์รี
จนพี่สาวจบมาเธอก็ได้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยปารีส สมใจแต่ด้วยเงินอันน้อยนิดจากพี่สาวไม่พอต่อค่าใช้จ่าย เธอทำงานพิเศษเป็นติวเตอร์เพื่อหารายได้เพิ่มเติมจนสามารถเรียนจบปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1893
และได้เริ่มทำงานในห้องปฏิบัติการทางอุตสาหกรรมของศาสตราจารย์ Abriel Lippmann และเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยปารีสจนจบปริญญาโทในปี ค.ศ. 1894 จนสำเร็จ
ในปี ค.ศ. 1903 มารีได้ศึกษาจบปริญญาเอก โดยที่มารีมีเบ็กเคอเรลเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของมารี อีกทั้งมารียังเป็นผู้หญิงคนแรกในประเทศฝรั่งเศสที่ได้รับปริญญาเอก และไม่เพียงเท่านั้นในช่วงของปลายปียังมีการประกาศผลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ คือ การค้นพบปรากฏการณ์กัมมันตภาพรังสี
โดยรางวัลนี้ได้รับร่วมกัน 3 ท่านคือ แบ็กเกอร์แรลที่เป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรก ปิแอร์และมารีที่ทำการทดลองค้นคว้าหาคำอธิบายสำหรับปรากฏการณ์นี้ การรับรางวัลโนเบลในครั้งนี้ทำให้มารีเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลอีกด้วย
1
มารี คูรี บนแสตมป์ของสหภาพโซเวียต เมื่อปี ค.ศ.1987
ต่อมาในปี ค.ศ. 1911 มารีได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้มารีได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการค้นพบธาตุพอโลเนียมและเรเดียม จากการได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งของมารีทำให้มารีกลายเป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล 2 สาขาเพียงคนเดียวในโลก
เมื่อมารีอายุ 58 ปี สุขภาพของมารีก็เริ่มทรุดโทรมหนักมากขึ้น มารีเริ่มมีอาการหูหนวก ตาบอด และมีรอยไหม้ที่ตามมือของมารี ผลมาจากการที่มารีใช้เวลาทำการทดลองรังสีต่าง ๆ ทำให้ถูกรังสีจากสารกัมมันตภาพรังสีแผดเผามารี
1
ในเวลาต่อมามารีจึงป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลโอตซาวัว (Haute Savoie) และเสียชีวิตในวัย 67 ปี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934
1
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference :
มารี คูรี(Marie Curie) : https://cutt.ly/MMm9h8s

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา