Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ACB ARTICLE
•
ติดตาม
16 พ.ย. 2022 เวลา 02:42 • ธุรกิจ
Financial Education ep.01 - วิกฤตต้มยำกุ้ง
…
ขอต้อนรับสู่ Financial Education รายการที่จะพาทุกๆคนล่องลอยไปในโลกแห่งการเงินการลงทุน คุณจะได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การย้อนเวลาไปเรียนรู้ความผิดพลาดในอดีตเพื่อที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจและจะได้นำมาปรับใช้ให้เหมาะสม หรือจะเป็นการนำเสนอวิธีคิด กลยุทธ์ และการตัดสินใจของธุรกิจชั้นนำ เพื่อที่จะนำมาปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์
…
“ต้มยำกุ้ง” ชื่ออาหารชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอาหารประจำชาติไทย ทำมาจากน้ำกระทิ กุ้ง ใส่สมุนไพรเพื่อเพิ่มความหอม กินกับข้าวสวยร้อนๆ โอ่ยยยย หิว
ว่าแต่ มันเกี่ยวกับ Financial Education ยังไงล่ะ? วันนี้เราจะมาศึกษาไปพร้อมๆกันครับ
“วิกฤตต้มยำกุ้ง” เป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ของประเทศไทย ชื่อเต็มๆของมันก็คือ “วิกฤตฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์” มันเกิดมาจากความผิดพลาดของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
รัฐบาลอยากสร้างให้ประเทศไทยเป็น “เสือตัวที่ 5 ของเอเชีย” รัฐบาลไทยจึงทำนโยบายการตรึงค่าเงินบาท ตรึงไว้ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 25 บาท จากนโยบายนี้จึงทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล
หลักการของการตรึงค่าเงินก็คือ เวลาที่นักลงทุนจะเลือกประเทศในการลงทุน เขาจะต้องดูว่าค่าเงินของประเทศนั้นๆมีความมั่นคงมากแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น หากเขามาลงทุนในไทยด้วยเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 35 ล้านบาท หากเขาทำกำไรได้ 2 เท่า ซึ่งมันจะแลกเป็นเงินดอลลาร์ทั้งหมดได้ประมาณ 2 ล้านดอลลาร์
แต่เขาอยากอยู่ประเทศไทยต่ออีกซัก 2 เดือน เพราะติดใจในรสชาติของต้มยำกุ้ง แต่ช่วงตอนนั้นค่าเงินไทยอ่อนตัวพอดี จึงทำให้เมื่อเขากลับประเทศของเขาไป เขากลับแลกได้แค่ 1 ล้านดอลลาร์เท่านั้น และการตรึงค่าเงินบาทก็สามารถแก้ไขปัญหาในจุดนี้ได้ เนื่องจากค่าเงินบาทไทยจะคงตัวตลอดเวลาไม่แปรผันตามเศรษฐกิจโลก
ซึ่งการตรึงค่าเงินบาทจำเป็นที่จะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลเพิ่อมาอุดรอยรั่ว ทำให้เงินคงตัวให้ได้ รัฐบาลไทยจึงหวังเงินจากการที่เศรษฐกิจเติบโต
แต่คนที่เห็นโอกาศในครั้งนี้ไม่ได้มีแค่นักลงทุน แต่เป็นธนาคาร
ธนาคารไทยได้ไปกู้เงินมาจากธนาคารต่างชาติแล้วมาปล่อยกู้ให้กับนักลงทุนอีกทีเพื่อเก็บส่วนต่างอันมหาศาล เมื่อธนาคารได้ส่วนต่างจากการปล่อยกู้เยอะ ธนาคารจึงขาดวินัยทางการเงินทำให้ขาดการตรวจสอบที่ถี่ถ้วน การกู้เงินจึงเป็นเรื่องง่าย
และเมื่อการกู้เงินเป็นเรื่องง่าย จึงทำให้บางทีคนที่มากู้เงินไม่ได้นำเงินไปทำธุรกิจที่จะดึงเงินเข้าประเทศจริงๆ แต่เป็นการกู้เพื่อไปเล่นพนัน เล่นหุ้น ซึ่งไม่ได้ดึงเงินเข้าประเทศ หรือที่หนักสุดคือการกู้ไปทำอสังหาริมทรัพย์โดยขาดความรู้ความเข้าใจในอสังหา และเมื่ออสังหาริมทรัพย์กลายเป็นที่ต้องการของคนจำนวนมาก มูลค่าของมันจึงเติบโตจนเกินกว่าความเป็นจริง จึงก่อให้เกิดเป็นฟองสบู่ที่รอวันแตก
ความจริงแล้วอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นอีกหนึ่งทรัพย์สินที่ดีมากๆ แต่การลงทุนในสิ่งที่เรายังไม่มีความรู้ความเข้าใจในตัวมันจริงๆก็ย่อมที่จะนำความชิปหายมาได้เสมอ แล้วก็นั่นแหละ อสังหาริมทรัพย์ก็เจ๋งไม่เป็นท่า จึงกลายเป็นการผลานเงินประเทศไปอีก
และเมื่อกระแสเงินที่เข้ามาในประเทศมีไม่เพียงพอ จึงทำให้รัฐบาลขาดเงินที่จะนำไปค้ำจุนนโยบายการตรึงค่าเงิน ช่วงแรกๆรัฐบาลไทยจึงได้นำเงินสำรองระหว่างประเทศไปใช้แทนจนเงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศไทยแทบจะไม่เหลือ จนสุดท้ายแล้วรัฐบาลก็ประกาศยกธงขาว พ่ายแพ้ต่อวิกฤตครั้งนี้ และประกาศให้สกุลเงินไทยเป็นค่าเงินลอยตัวที่แปลผันไปตามเศรษฐกิจโลกจนถึงทุกวันนี้
นั่นจึงทำให้แต่เดิมทีแล้วสกุลเงินไทยมีค่าอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1$ = 25฿ กลายเป็น 1$ = 52฿ ทำให้เศรษฐกิจในประเทศล้มไม่เป็นท่า ยกตัวอย่าง (จากเดิมที่เป็นหนี้แค่ 25 ล้านบาท หรือประมาณ 1 ล้านดอลลาร์ จะกลายเป็นว่ามีหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 52 ล้านบาท หรือประมาณ 2 ล้านดอลลาร์ โดยยังไม่ได้ทำอะไรเลย)
แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ ยังมีกลุ่มคนที่สามารถฉกฉวยโอกาสในวิกฤตนี้ได้ นั่นก็คือกลุ่มคนที่มีความฉลาดทางการเงิน ความฉลาดทางการเงินจะทำให้เกิดมุมมองที่กว้างขวางและสามารถทำนายเหตุการณ์ในอนาคตได้ พวกเขารู้ว่าการกู้เงินเป็นเรื่องง่าย แต่พวกเขามองลึกลงไปจนรู้ว่าจากการกู้เงินที่ง่ายดายขนาดนี้มันจะก่อให้เกิดอะไรขึ้นในอนาคต พวกเขารู้ว่าอสังหาริมทรัพย์กำลังเติบโตอย่างมหาศาล และพวกเขาก็สามารถมองเห็นได้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นกับธุรกิจอสังหาเหล่านี้
ลองคิดดูสิ หากคุณลงทุนใน Product 1 ชิ้น = 25 บาท แต่ถ้าคุณขายในช่วงนี้จากเดิมที่คุณควรจะได้แค่ 25 บาท แต่คุณจะได้ถึง 52 บาทโดยไม่ต้องทำอะไรเลย และต้นทุนก็เท่าเดิมด้วย
บทเรียน
1. จงมีความโลภภายใต้วินัยทางการเงิน
2. ความฉลาดทางการเงินเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะมี นั่นคือสิ่งที่คุณจะต้องศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากวิชาความรู้ในโรงเรียน เพราะความรู้ในโรงเรียนหรือมหาลัยไม่สามารถทำให้คุณรอดพ้นจากวิกฤตทางการเงินที่จะเกิดขึ้นอีกแน่ๆในอนาคตได้ และแน่นอนว่ามันต้องใช้เวลาพอๆกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ทั้งเทอม
จงกล้าในยามที่คนอื่นกลัว และจงกลัวในยามที่คนอื่นกล้า
Warren Buffett
การเงิน
เศรษฐกิจ
ธุรกิจ
บันทึก
2
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Financial Education
2
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย