16 พ.ย. 2022 เวลา 07:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มาเริ่ม Chapter 1 ของ Universal Clock กันเลย
Chapter 1: มาร่วมกันเดินตามรอยเท้า W.D. Gann กัน
เมื่อคุณได้ศึกษาอดีต และเข้าใจว่าอนาคตก็คือการเกิดอะไรที่ซ้ำๆกันของอดีตนั่นแหละ คุณก็จะสามารถหาเหตุของเหตุการณ์ในอนาตดต่างๆ ที่เกิดจากเวลาและ condition อะไรบางอย่าง บางครั้งอาจจะต้องย้อนนานหน่อย เพื่อที่จะหาเหตุนั้น
translated from W.D. Gann.
Gann ได้ศึกษา เรขาคณิตโบราณ และโหราศาสตร์ คุณ long คนนี้ก็เลยเอาบ้าง ไปศึกษา British Museum เพื่อที่จะเห็นสถาปัตยกรรม และสัญญลักษณ์ของพวกอียิปต์
และเข้าก็ได้บอกว่า ก้าวแรกของการเดินตามรอยนี้ คือเรื่องของ
Mercury/Sun (ถ้าใครยังไม่มีพื้นฐานตรงนี้ แนะนำให้ไปลองอ่านโพสต์ก่อนหน้านี้เพื่อปรับพื้นฐานก่อนนะครับ)
สิ่งที่ Long เริ่มศึกษาก็คือเอาตลาดที่เค้าเล่นอยู่คือ soy bean แล้วมาดูวันที่ Mercury/Sun ทำมุมกันซึ่งเดี่ยวจะอธิบายต่อไปว่าดูอย่างไง
(ตรงนี้พวกเราก็สามารถเริ่มศึกษาตามได้เลย)
และ Long ก็ได้พบกับความประหลาดใจ ถึงความสัมพันธ์ต่อราคา ดูตามรูป Chart 1A
การทำงานของมันจะทำกันเป็นคู่ๆ จามรูปก็คือ ค่ A กับ B แล้วก็ C กับ D เห็นได้ว่า ราคา ของ A, B จะกลับมาที่เท่าๆกัน และเกิดการ overlap กันของแท่งเทียน
สรุปคือ ถ้าเรารู้ช่วงราคาของแท่งเทียน A และ C เราก็จะพอประมาณ หรือหา target ของช่วงราคา ณวันที่ B และ D ได้
พอรู้แบบนี้ คุณ Long ก็แนะนำว่า ในการเข้าซื้อ/ขาย ก่อนที่จะถึงวัน B และ D นั้น ให้เอา technical เข้ามาช่วยในการตัดสินใจเข้า
อ่านถึงตรงนี้ คุณคงอยากรู้แล้วใช่ไหมว่า แล้วไอ้วันที่่ว่าเนี้ย มันหาอย่างไง
มาเริ่มกันเลย!!!
ก่อนอื่น มาดูรูปนี้กัน เห็นรูปแล้วพอเข้าใจไหม
Sun/Mercury สองแบบ
1. ต้องเข้าใจคำว่า Geocentric ก่อน มันคือระบบที่เรายึดเอาโลกเป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่ง จะกลายเป็นว่า อาทิตย์ก็จะโคจรรอบโลกด้วย จากภาพจะเห็นว่า mercury ก็จะหมุนรอบดวงอาทิตย์อีกที ในขณะเดียวกับ ก็โคจรรอบโลกไปด้วย
2. รูปทางด้านซ้าย เรียกว่า Super Conjunction คือจังหวะที่ sun กับ mercury กุมกัน นั่นเอง แต่เป็นการกุมกันที่ mercury อยู่วงนอกสุด
3. ส่วนรูปด้านขวา เรียกว่า Inferior Conjunction ดาวพุธจะมาอยู่ระหว่างโลกกับอาทิตย์ ซึ่งถ้าเราจินตนาการดีๆ นึกว่าโลกอยู่กับที่นะ แล้วก็เห็นดาวพุธโคจร รอบโลกอยู เราจะเห็นเลยว่า ดาวพุธกำลังเดินถอยหลัง ซีงเราเรียกว่า Retrograde หรือพักร์นั่นเอง
ดังนั้น คู่A,B กับ C,D ที่กล่าวตอนต้น ก็หาแบบนี้แหละ โดยตัวแรกจะเป้นวันที่เกิด Super Conjunction ส่วน ตัวสองจะเป็นวันที่ เกิด Inferior Conjunction
โดยปกติ ใน1 ปีจะเกิดการกุมกันของ sun/mercury ทั้งหมด 6 ครั้ง หรือก็คือ 3 คู่นั่นเอง
มาดูอีกตัวอย่างกัน Chart 1D จะเห็นว่า ในช่วงระหว่าง 2 จุด นี้ราคาอาจจะวิ่งไปผ่านมาได้ แต่พอถึงวันดังกล่าว ราคาก็จะกลับมา overlap กับแท่งที่ 1 อีกครั้ง
ในหนังสือก็ได้บอกว่า ลักษณะการ overlap มีได้หลายแบบนะ ตามรูปนี้
รูปแบบการ over lap ของราคา
ในตอนท้ายของบท Long ก็ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า ราคานั่นอาจจะมาถึงใน range ก่อนวันจริง 2-3 วันก็เป็นไปได้ ดังนั้นแล้วคุณอาจจะต้องวางแผนโดยการใช้ technical มาช่วยจับอีกที
และก็มีบางกรณีที่พอถึงวันจริง อาจะมีดาวอื่นๆมาทำมุมและสง่ผลต่อราคาอีกทีก็เป็นไปได้ เช่น Moon เป็นต้น อาจจะทำให้ราคาเคลื่อนไปอีก
เอาเป็นว่า ลองไปทำการบ้าน โดย หาสินทรัพย์ที่คุณสนใจ แล้วลองหาวัน sun/mercury ดู ว่ามันตรงกับที่เค้าว่ามาไหม ส่วนเรื่องจะมีดาวอื่นส่งผลอะไรบ้างนั้น คงต้องค่อยติดตามกันใน chapter ถัดๆไป
ถ้าใครลองไปทำการบ้านแล้ว ได้ผลเป็นอย่างไร หรือติดขัดตรงไหน ก็ลองโพสต์มาเล่าให้ฟังบ้างนะ อยากรู้ว่ามีคนสนใจศาสตร์ด้านนี้มากน้อยแค่ไหน
โฆษณา