Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Nest Sukrat เนสท์ สุขรัตน์
•
ติดตาม
16 พ.ย. 2022 เวลา 10:22 • หุ้น & เศรษฐกิจ
[สรุปภาพรวมเข้าใจง่ายที่สุด] ป่วนหุ้น MORE อาศัยช่องว่างปั่นราคาสร้างความเสียหายให้กับโบรกเกอร์อย่างน้อย 13 รายมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท
อธิบายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่
- ผู้สั่งขาย
- โบรกเกอร์ฝั่งผู้สั่งซื้อ(ผู้ออก *บัญชีมาร์จิ้น ให้ฝั่งผู้สั่งซื้อ)
บัญชีมาร์จิ้น คือ บัญชีที่ผู้สั่งซื้อสามารถเอาหุ้นของตัวเองหรือหลักทรัพย์มาค้ำประกันเพื่อขอเพิ่มอำนาจการซื้อหุ้น
- ผู้สั่งซื้อ
ตัวละครแรกผู้สั่งซื้อก็ได้เปิดบัญชีมาร์จิ้นกับโบรกเกอร์กระจายออกไปหลายสิบโบรกเกอร์ตามข่าวน่าจะเกือบถึง 20 โบรกเกอร์เลย เพื่อที่จะ Leverage สร้างอำนาจการซื้อของตัวเองให้ได้มากที่สุด
กรณีนี้ผู้สั่งซื้อนำหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอเปิดบัญชีมาร์จิ้นอยู่ราวๆทั้งหมด 1,500 ล้านบาท จึงสามารถสร้างอำนาจการซื้อหุ้น MORE ให้กับตัวเองได้มากถึง 4,500 ล้านบาทเลยทีเดียว
ซึ่งความผิดปกติแรกก็คืออำนาจการซื้อถึง 4,500 ล้านบาทเนี่ยมันเกินมูลค่าทรัพย์สินที่บริษัท MORE มี แต่ฝั่งโบรกเกอร์เองที่รับคำสั่งซื้อมาจากผู้สั่งซื้อและไม่มีระบบตรวจสอบว่าผู้สั่งซื้อเนี่ยได้ไปเปิดบัญชีแบบมาร์จิ้นไว้กับกี่โบรกเกอร์แล้วก่อนหน้านี้และเสนอคำสั่งซื้อไปแล้วมูลค่าเท่าไหร่ ทางฝั่งโบรกเกอร์ผู้สั่งซื้อมีหน้าที่รับคำสั่งซื้อจากผู้สั่งซื้อเพียงเท่านั้น
ผู้สั่งซื้อจึงสามารถสร้างอำนาจการสั่งซื้อได้เกินมูลค่าทรัพย์สินของบริษัท MORE ได้มากกว่า 4,500 ล้านบาท
ฝั่งผู้สั่งขายก็สั่งขายผ่านโบรกเกอร์ โบรกเกอร์รับคำสั่งขายก็ส่งคำสั่งขายต่อเพื่อ Match คำสั่งให้สมบูรณ์
แต่ไม่ว่าจะเป็นความบังเอิญหรือว่าทุกอย่างถูกเซ็ตไว้แล้วนะครับ ฝั่งผู้สั่งขายเนี่ยก็มีการเทขายหุ้นออกมาจำนวนมากเหมือนกันพอดี โดยตั้งราคา ATO ไว้ที่ 2.9 บาทต่อหุ้น
และความผิดปกติอย่างที่ 2 นะครับ ในเมื่อฝั่งผู้สั่งขายและฝั่งผู้สั่งซื้อเนี่ยมีการที่จะแลกเปลี่ยนซื้อขายหุ้นกันในมูลค่าที่มากมายขนาดนี้ ทำไมฝั่งผู้สั่งขายและผู้สั่งซื้อไม่เลือกที่จะคุยกับแบบ Big Lots เพราะอาจจะได้ราคาที่ดีกว่าด้วยซ้ำแต่ก็เลือกที่จะออกคำสั่งผ่านโบรกเกอร์แทน
พอเมื่อถึงเวลา T+2 ก็คือช่วงเวลาที่ต้องชำระเงินกันจริงๆแล้ว ฝั่งผู้สั่งซื้อเนี่ยก็ต้องจ่ายเงินให้กับโบรกเกอร์ผู้รับคำสั่งซื้อ ฝั่งผู้สั่งขายก็เตรียมรับเงินจากโบรกเกอร์ผู้รับคำสั่งขาย แต่เมื่อครบกำหนด T+2 ก็คือวันที่ 14 พฤศจิกายน ฝั่งผู้สั่งซื้อไม่สามารถนำเงินมาชำระได้ก็คือเรียกง่ายๆว่าเกิดการชักดาบขึ้นนั้นเองครับ
แต่ฝั่งผู้สั่งขายได้สั่งขายไปแล้วมีผลทำให้ตัวเองต้องได้รับเงินตามจำนวนที่สั่งขายไป (มูลค่าเกินกว่า 4,500 ล้านบาทที่มีความผิดปกติ) ถ้าโบรกเกอร์ไม่สามารถนำเงินมาชำระให้กับผู้สั่งขายได้ก็อาจจะส่งผลในเรื่องของความเชื่อมั่นกับบริษัทของโบรกเกอร์เองต่อลูกค้ารายอื่นๆ
แน่นอนครับฝั่งผู้สั่งซื้อก็จะต้องนำเงินมาชำระกับฝั่งโบกเกอร์ผู้รับคำสั่งไปหากไม่สามารถนำมาชำระได้ในเวลา T+2 ก็คือวันที่ 14 พฤศจิกายน ก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการถูกสั่งฟ้องทางแพ่งเป็นบุคคลล้มละลายและเสียเครดิตของตัวเองไป
ส่วนส่วนต่าง 3,000 ล้านบาท หักหลักทรัพย์ค้ำประกันของผู้สั่งซื้อที่นำไปวางไว้มูลค่าเพียงแค่ประมาณ 1,500 ล้านบาท แต่ว่าสามารถมีอำนาจในการซื้อหุ้นได้มูลค่ามากกว่า 4,500 ล้านบาท ถ้าทางฝั่งผู้สั่งซื้อไม่สามารถนำเงินมาชำระได้ให้กับโบรกเกอร์ได้ ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นกับโบรกเกอร์ทันทีเพราะต้องสำรองเงินชำระให้ฝั่งผู้สั่งขายไปก่อน
สุดท้ายแล้วส่วนส่วนต่าง 3,000 ล้านบาท ที่หักหลักทรัพย์ค้ำประกันของฝั่งผู้สั่งซื้อไปแล้ว ใครจะได้ใครจะเสียยังไงอันนี้ก็ต้องเป็นเรื่องของคดีความแล้วก็ต้องติดตามกันต่อไปนครับ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย