17 พ.ย. 2022 เวลา 01:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ยาแก้แพ้แบบง่วงกับไม่ง่วง ออกฤทธิ์ต่างกันจริงไหม? เลือกแบบไหมดีที่สุด?
เมื่อพูดถึงเรื่องภูมิแพ้แล้ว เชื่อว่าใครหลายคนก็กำลังประสบปัญหาเลือกทานยาแก้แพ้ไม่ถูกอยู่ใช่หรือป่าว? อยากทานแบบที่ง่วงนอนแต่ก็ต้องทำงาน ต้องเข้าเรียน แต่ถ้าเลือกแบบไม่ง่วงก็กลัวว่าทานไปก็จะไม่เห็นผลเทียบเท่ายาแก้แพ้แบบง่วง
วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเหล่านั้นให้คุณเองว่า ยาแก้แพ้แบบง่วงและแบบไม่ง่วงนั้นมีการออกฤทธิ์อย่างไร ต้องเลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาการที่เป็นอยู่
อาการแพ้ คืออะไร
อาการแพ้ คือ อาการที่ร่างกายของเราไวต่อสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งเร้าหรือสารต่างๆ รอบตัวของเรา ไม่ว่าจะเป็นผุ่นละออง เกสรดอกไม้ อาหารทะเล หรือแม้แต่อากาศที่เปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน โดยอาการแพ้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เพิ่มขึ้นหรือได้รับมากกว่าปกติ โดยในแต่ละบุคคลก็จะแสดงอาการแพ้แตกต่างกันออกไป เช่น ระคายเคืองผิวหนัง มีผื่นแดงตามร่างกาย มีอาการบวมหรือคันเฉพาะจุด มีน้ำมูกไหล จาม หรือในบางรายที่มีอาการแพ้ขั้นรุนแรงอาจมีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตกันได้เลยทีเดียว
ยาแก้แพ้ คือยาอะไร
ยาแก้แพ้ หรือ Antihistamines คือ ยาที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ยับยั้งสารต้นเหตุของอาการแพ้ หรือเรียกว่าเป็นยายับยั้งการหลั่งสารฮีสตามีนในร่างกายเมื่อเกิดอาการแพ้ ซึ่งในตัวของยาแก้แพ้นั้นมีจะฤทธิ์ช่วยในการลดและยับยั้งการเกิดของสารฮีสตามีนเท่านั้น ไม่สามารถรักษาอาการแพ้ให้หายขาดได้ หรือเรียกง่ายๆ นั้นก็คือยาบรรเทาอาการแพ้
ฮีสตามีนคือสารอะไร ทำไมต้องยับยั้งเมื่อมีอาการแพ้
สารฮีสตามีน หรือ Histamine คือสารที่อยู่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยสารฮีสตามีนที่ถูกหลั่งออกมานั้นไม่ได้มีแต่โทษเสมอไป เพราะเจ้าฮีสตามีนยังมีหน้าที่ช่วยในการกระตุ้นการหลังของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ช่วยขยายหลอดเลือดเพื่อให้เม็ดเลือดเดินทางไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น
แต่เมื่อใดที่ร่างกายของเราได้รับสารก่อภูมิแพ้มากขึ้นหรือได้รับในปริมาณมากขึ้นกว่าปกติ ร่างกายก็จะหลั่งสารฮีสตามีนมากขึ้น เพื่อขยายหลอดเลือกให้สามารถส่งเม็ดเลือดขาวเข้ากำจัดกับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งในกรณีนี้เมื่อร่างกายของเราได้รับสารก่อภูมิแพ้ที่มากขึ้น ร่างกายก็จะหลั่งฮีสตามินที่มากขึ้นตามไปด้วย และในกรณีที่สารฮีสตามีนไปออกฤทธ์มาเกินไปก็จะส่งผลทำให้หลอดเลือดของเราขยายมากจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้
ประเภทของยาแก้แพ้
ยาแก้แพ้ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบหลักๆ นั้นก็คือ
1.ยาแก้แพ้แบบมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน 2.ยาแก้แพ้ที่ไม่มีผลข้างเคียงหรือผลข้างเคียงน้อย โดยข้อบ่งชี้ของการใช้ยาก็จะมีความแตกต่างกันไปตามอาการของการแพ้
กลุ่มยาแก้แพ้ แบบง่วงนอน (First-generation Antihistamine)
ยาแก้แพ้กลุ่มที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่ายาต้านสารฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม (Conventional Antihistamines) โดยยากลุ่มนี้จะมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางทำให้ผู้ที่ใช้ยารู้สึกง่วงนอนเมื่อได้รับยาเข้าสู่ร่างกายแล้ว
ข้อบ่งชี้ของการใช้ยาแก้แพ้แบบง่วงนอน
► เพื่อรักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบจากอาการแพ้
► บรรเทาอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล
► บรรเทาอาการผืนลมพิษ ผื่นภูมิแพ้
► บรรเทาอาการผืนลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ัดต่อย
► บรรเทาอาการแพ้อันเนื่องมาจากพืชหรือสารเคมี
► บรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ
ข้อควรระวังในการใช้ยา
► ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการกดระบบประสาท อาจทำให้ผู้ใช้มีอาการง่วงซึม หรืออยากหลับตลอดเวลา
► ห้ามใช้ควบคู่กับยานอนหลับ ยากล่อมประสาท และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
► ห้ามใช้ยานี้กับเด็กเล็ก เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
► ห้ามใช้ยานี้กับสตรีมีครรภ์ และอยู่ระหว่างให้นมบุตร เนื่องจากตัวยาสามารถขับออกได้ทางน้ำนม
► ระวังการใช้ยากัยผู้อยู่ในภาวะปัสสาวะคั่ง และความดันในตาสูง
► ในกรณีที่ได้รับยาขนาดที่สูงเกินไป ผู้ใช้อาจมีอาการนอนไม่หลับ กระวนกระวายได้
ผลข้างเคียงของยาแก้แพ้ แบบง่วงซึม
► ง่วงซึม
► จมูกแห้ง
► ปากแห้ง
► คอแห้ง
► ตาพร่ามัว
► ปัสสาวะคั่ง
► น้ำหนักตัวเพิ่ม
► เสมหะ น้ำมูกเหนียวข้น
สำหรับผลข้างเคียงของยาในแต่ละบุคคลจะมีอาการที่แตกต่างกันไป
กลุ่มยาแก้แพ้ที่ทำให้ง่วงนอน
► Dimenhydrinate (ไดเมนไฮดริเนต)
► Hydroxyzine (ไฮดรอกไซซีน)
► Diphenhydramine (ไดเฟนไฮดรามีน)
► Chlorpheniramine (คลอเฟนิรามีน)
► Brompheniramine (บรอมเฟนิรามีน)
► Ketotifen (คีโตติเฟน)
การออกฤทธิ์ของยาแก้แพ้แบบง่วงนอน
ตัวยาจะดูดซึมผ่านกระแสเลือดและเข้าสู่สมอง โดยตัวยาจะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้รู้สึกง่วงนอน ซึม เนื่องจากฤทธิ์ของยา
ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของตัายาแก้แพ้กลุ่มนี้ จะออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วภายใน 30 นาทีหลังจากยาเข้าสู่ระบบย่อยอาหาร และหมดฤทธิ์เร็วเช่นกัน
กลุ่มยาแก้แพ้ แบบไม่ง่วงนอน (Second-generation Antihistamine)
ยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่มีผลข้างเคียงหรือผลข้างเคียงน้อย หรือเรียกกันอย่างว่ายาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ม่ทำให้ง่วงนอน (Non-Sedating Antihistamines) โดยยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอนนี้ จะไม่ออกฤทธิ์กดระบบประสาทและไม่มีผลต่อระบบรับรู้ความรู้สึกเหมือนกับยาแก้แพ้กลุ่มที่ทำให้ง่วงนอน เนื่องจากตัวยาไม่มีความสามารถผ่านเข้าสู่สมองได้นั้นเอง ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้จึงไม่มีอาการง่วงนอนหรือง่วงน้อยกว่านั้นเอง
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงนอน
► รักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบจากอาการภูมิแพ้
► รักษาอาการเยื่อตาขาวอักเสบจากอาการภูมิแพ้
► บรรเทาอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล
► บรรเทาอาหารคันตาจากแาการภูมิแพ้
► บรรเทาอาการผื่นบวมแดงที่ผิวหนังหรือยื่อบุต่างๆ
► บรรเทาอาการผื่นลมพิษ
โดยยาแก้แพ้ในกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอนนี้ การออกฤทธิ์ในกรณีที่มีอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล บรรเทาอาการเมารถ เมาเรือจะเห็นผลได้น้อยกว่ายาแก้แพ้กลุ่มท่ทำให้ง่วงนอน
ข้อควระวังในการใช้ยา
► ระวังการใช้ยากับผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต และผู้ที่มีคลื่นหัวใจผิดปกติ เนื่องจากจะต้องปรับลดขนาดยาลงเพื่อความปอดภัย
► ระวังการใช้ยากับสตรีมีครรภ์ และอยู่ระหว่างให้นมบุตร เนื่องจากยาอาจมีผลข้างเคียงไปถึงลูกน้อยได้
► ไม่ควรรับประทานยากลุ่มนี้ร่วมกับยาอื่นๆ เนื่องจากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยากับยาประเภทอื่นได้ ควรปรึกษาแพทยืหรือเภสัชก่อนรับประทานยา เพื่อความปลอดภัย
ผลข้างเคียงของยาแก้แพ้ แบบไม่ง่วง
► จมูกแห้ง
► ปากแห้ง
►คอแห้ง
► คอแห้ง่ามัว
► ง่วงซึม (ในบางคน)
.
ซึ่งผลข้างเคียงของยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอนจะมีอาการของผลข้างเคียงที่น้อยกว่ายาแก้แพ้กลุ่มที่ทำให้ให้ง่วงนอน
กลุ่มยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้ง่วงนอน
► Loratadine (ลอราทาดีน)
► Centirizine (เซทิริซีน)
► Fexofenadine (เฟกโซเฟนาดีน)
► Levocetirizine (เลโวเซทิริซีน)
► Desloratadine (เดสลอราทาดีน)
การออกฤทธิ์ของยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงนอน
ตัวยาจะถูกดูดซึมผ่านกระแสเลือด แต่ไม่มีความสามารถหรือมีความสามารถน้อยในการดูดซึมผ่านไปยังสมองและระบบประสาท จึงทำให้ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ไม่มีอาการง่วงซึม อยากนอน เหมือนกับการทานยาแก้แพ้แบบง่วงนอน
ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงนอน จะไม่ออกฤทธิ์รวดเร็วทันทีเหมือนยาแก้แพ้กลุ่มที่ง่วงนอน แต่ระยะเวลาในการออกฤทธิ์จะยาวนานถึง 24 ชั่วโมง ทำให้ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องทานยาบ่อยๆ
ดังนั้นการรักษาอาการแพ้นั้น ควรคำนึงถึงอาการหรือสาเหตุของการแพ้ รวมถึงผลข้างเคียงของยาที่อาจส่งผกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย อีกทั้งควรเข้าปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนรับยามารับประทานเพื่อความถูกต้องของขนาดยาและเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ใช้ยาเอง
โฆษณา