17 พ.ย. 2022 เวลา 01:35 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ไอบีเอ็มอัพเดตแผนการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัม ที่ไม่สามารถสเกลอยู่ในชิปตัวเดียวได้ แต่ต้องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นโมดูลเรียกทั้งระบบว่า IBM Quantum System Two โดยระบบนี้เปิดตัวแนวคิดมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และผ่านมาหนึ่งปีทางไอบีเอ็มก็ระบุเป้าว่าจะได้เห็นเครื่องทำงานจริงสิ้นปี 2023
เป้าหมายหมายของไอบีเอ็มจะสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมระดับใหญ่กว่า 4,000 คิวบิตภายในปี 2025
นอกจากฝั่งฮาร์ดแวร์แล้ว ทางไอบีเอ็มยังอัพเดตซอฟต์แวร์ Qiskit Runtime สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ควอนตัม โดยเพิ่มออปชั่นให้รันโค้ดโดยยังทนทานต่อสัญญาณรบกวน เพราะคอมพิวเตอร์ควอนตัมอ่อนไหวต่อสัญญาณรบกวนมากจนต้องทำงานที่อุณหภูมิเย็นจัด Qiskit เพิ่มเทคนิคเพื่อให้โค้ดที่รันทนทานต่อสัญญาณรบกวน 3 ระดับ ระดับสูงสุดใช้เทคนิค probabilistic error cancellation (PEC) สามารถประมาณค่าคำตอบโดยไม่มีไบแอส นับเป็นเทคนิคการทนต่อสัญญาณรบกวนที่ดีที่สุดในตอนนี้
แต่การเปิดเทคนิคนี้ก็จะมีผลเสียที่ใช้เวลาของคอมพิวเตอร์ควอนตัมนานเช่นกันตอนนี้ลูกค้าของไอบีเอ็มเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ควอนตัมศึกษาความเป็นไปได้หลายราย ส่วนมากที่ไอบีเอ็มเปิดเผยออกมายังเป็นการจำลองโมเลกุล เช่น Good Chemistry กำลังใช้ทดสอบการจำลองโมเลกุล เพื่อลดเวลารันการจำลองในซูเปอร์คอมพิวเตอร์, QunaSys และ JSR สร้างซอฟต์แวร์จำลองโมเลกุลเมื่ออยู่ในความต่างศักย์เพื่อศึกษาการสังเคราะห์แสง,
Lawrence Berkeley National Lab กำลังทดลองแปลงปัญหาที่จำลองกระบวนการทางเคมีบางส่วนมารันในคอมพิวเตอร์ควอนตัม นอกจากนี้ไอบีเอ็มยังประกาศความร่วมมือกับ Vodafone เพื่อศึกษากระบวนการเข้ารหัสลับที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัมต่อไป
ที่มา - blognone.com
#nanotech
โฆษณา