Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คนช่างสงสัย Curiosity Channel
•
ติดตาม
17 พ.ย. 2022 เวลา 07:29 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หลังจากรอคอยกันมาอย่างยาวนาน ในที่สุด Artemis 1 ก้าวแรกที่จะพามนุษยชาติกลับไปยังดวงจันทร์ ก็ได้พุ่งทะยานออกจากโลก จากฐานปล่อยจรวด 39B ที่ Kennedy Space Center ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 16/11/2022 เวลา 01:47 a.m. EST (ตามเวลาท้องถิ่น) หรือ 13:47 p.m. ตามเวลาในประเทศไทย
ภาพจรวด Artemis 1
โครงการ Artemis 1 ของนาซ่า เป็นโครงการแรกในรอบ 50 ปี นับตั้งแต่ปี 1972 ที่จะพามนุษย์กลับขึ้นไปเหยียบผิวดวงจันทร์อีกครั้ง
แต่สำหรับการเดินทางในครั้งแรกนี้ ยังไม่มีมนุษย์โดยสารไปด้วย แต่จะเป็นระบบอัตโนมัติแทน
โดยนี่ก็เป็นครั้งแรกของการใช้ Space Lunch System หรือ SLS (ระบบจรวดที่จะส่งยานอวกาศขึ้นสู่ห้วงอวกาศ) และ ยานอวกาศโอไรออน (Orion spacecraft) ที่จะได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศ
ดังนั้น Artemis 1 ก็เป็นเหมือนการทดสอบเครื่องมือและระบบต่างๆ ให้พร้อมที่จะส่งมนุษย์ขึ้นไปจริงๆ ใน Artemis 2 ต่อไป
ภาพการปล่อยตัว Artemis 1
ภาพจำลอง Space Launch System (SLS)
หลังจากเข้าสู่อวกาศแล้ว ยานอวกาศโอไรออน จะแยกตัวออกจากตัวจรวด แล้วมุ่งหน้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ โดยจะเป็นการโคจรรอบดวงจันทร์ในวงโคจรที่เรียกว่า Distant Retrograde Orbit Insertion หรือ DRO ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนจะใช้แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ (gravity assist ) ช่วยเหวี่ยงยานโอไรออนให้กลับสู่โลก โดยภารกิจทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 42 วัน
ภาพจำลองยานอวกาศโอไรออน (Orion spacecraft)
ถึงแม้ว่า การเดินทางครั้งนี้ จะไม่มีมนุษย์โดยสารไปด้วย แต่ในยานอวกาศ ก็มีหุ่นจำลองรูปร่างเหมือนมนุษย์ติดตั้งไปด้วย โดยที่ตัวหุ่นจำลองนี้ จะเต็มไปด้วยเซนเซอร์ต่างๆ มากมาย เพื่อเก็บข้อมูลว่า หุ่นจำลองต้องพบเจอกับอะไรบ้างในการเดินทางครั้งนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่ามันต้องปลอดภัยเพียวพอที่มนุษย์จะมานั่งที่นี่แทนหุ่นจำลอง ในโครงการ Artemis 2
หุ่นจำลองที่ติดตั้งใน Artemis 1
การเดินทางของ Artemis 1
ปัจจุบัน NASA ได้ประกาศภารกิจ Artemis มาแล้ว 6 ภารกิจดังนี้ครับ
- Artemis 1 (16/11/2022) ทดสอบจรวด SLS ทดสอบยานอวกาศโอไรออน ไปโคจรรอบดวงจันทร์แบบไร้คนขับ
- Artemis 2 (2024) ส่งนักบินอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ด้วยยานโอไรออน
- Artemis 3 (2025-2026) ส่งนักบินอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ 4 คน โดยมี 2 คนที่จะได้ลงไปเหยียบผิวดวงจันทร์ครั้งแรกในรอบ 50 ปี แถมคนแรกที่จะได้เหยียบดวงจันทร์ ถูกกำหนดให้เป็นผู้หญิงด้วย
- Artemis 4 (2027) ส่งนักบินอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ 4 คน และนำโมดูลที่อยู่อาศัย I-HAB (international habitation module) ของสถานีอวกาศ Lunar Gateway ไปติดตั้งที่วงโคจรดวงจันทร์
โมดูลที่อยู่อาศัย I-HAB (international habitation module)
- Artemis 5 (2027) พามนุษย์ไปลงจอดที่ผิวดวงจันทร์ครั้งที่ 2 พร้อมโรเวอร์ พร้อมติดตั้งส่วนสื่อสาร ESPIRIT ที่สถานีอวกาศ Lunar gateway
- Artemis 6 (2028) พามนุษย์ไปลงจอดที่ผิวดวงจันทร์ครั้งที่ 3 พร้้อมติดตั้ง Air lock ที่ สถานีอวกาศ Lunar Gateway
ภาพจำลอง Rover สำรวจดวงจันทร์ นำเสนอโดย Northrop Grumman
ESPIRIT สำหรับ Lunar gateway
ส่วนประกอบของสถานีอวกาศ Lunar gateway
ภาพจำลองสถานีอวกาศ Lunar gateway
ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้ อยากได้ข้อมูลละเอียดขึ้นอีกนิดนึง ก็ไปดูได้ใน ช่อง youtube คนช่างสงสัย ได้ครับ
https://youtu.be/5V3adrE32CY
อ้างอิง
-
https://www.esa.int/ESA_Multimedia/Images/2021/01/I-Hab_for_Gateway
-
https://spacenews.com/northrop-led-team-proposes-artemis-lunar-rover/
-
https://www.space.com/news/live/nasa-artemis-1-moon-mission-updates
-
https://www.space.com/33908-space-launch-system.htmlhttps://www.space.com/27824-orion-spacecraft.html
-
https://spaceth.co/artemis-program/
-
https://www.facebook.com/spaceth
ติดต่องาน :
curiositychannel.th@gmail.com
youtube :
https://www.youtube.com/@curiosity-channel
facebook :
https://www.facebook.com/curiositychannelth
Blockdit :
https://www.blockdit.com/curiositychannel
instagram :
https://www.instagram.com/ekarajpkk/
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย