Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
NOMON BLOG
•
ติดตาม
18 พ.ย. 2022 เวลา 10:01 • เกม
เรียนรู้คำศัพท์จาก The mimic Roblox มีคำอะไรน่าสนใจบ้าง เริ่ม!
The Mimic เกมแนวสะเทือนขวัญจาก Roblox แพลตฟอร์มเกมออนไลน์หลายผู้เล่น พัฒนาโดยโรบล็อกซ์คอร์ปอเรชั่น แพลตฟอร์มนี้อนุญาตให้ผู้เล่นสร้างเกมเอง หรือเล่นเกมที่คนอื่นสร้างได้ สร้างขึ้นโดยเดวิด บาสซุกกี และเอริค แคสเซลในปี พ.ศ. 2547 และปล่อยออกมาในปี พ.ศ. 2549
ประโยคแรกของเกม พอจะแปลได้ว่า "คำเตือน เกมนี้มีแสงไฟกระพริบวิบวับ และอาจทำให้ขนลุกซู่ซ่าก็เป็นได้" ใครเป็นโรคหัวใจ ไม่ควรเล่นเกมนี้ ผมเตือนแล้วนะ
เพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการเล่นเกมนี้ แนะนำให้ใส่หูฟัง จะได้ฟังเสียง (ผี) ชัดมากยิ่งขึ้นนะครับ
ภารกิจแรก เกมจะให้เราไปที่สำนักงาน "โก ทู ดิ ออฟฟิศ" คำนี้แปลง่ายๆ ไม่ยาก ผมก็เดินหาออฟฟิศ นานอยู่เหมือนกัน เพราะมันไม่มีป้ายชื่อบอก จนเวลานับถอยหลัง ผมถึงจะเจอออฟฟิศ เข้าเกมมาก็เหนื่อยแล้ว
ผมเข้ามาในออฟฟิศ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ "การตามหากุญแจ" ไม่รู้อยู่ตรงไหน และเอามาทำอะไร ยังไม่รู้ แต่เกมให้ทำต้องทำ ถ้าอยากเป็นผู้รอดชีวิต
ตรงนี้ เกมพยายามจะบอกว่า ต่อไปจะเป็นช่วงการแนะนำตัว ไม่ต้องกดอะไรทั้งนั้น ตั้งหน้า ตั้งตารอฟังเนื้อเรื่องของเกมต่อไป
ที่เห็นคือเพื่อนที่เข้ามาเล่นด้วยกันกับผม มาด้วยกันทั้งหมด 4 คนรวมผมด้วย แต่ผมว่าน่าจะเป็นชาวต่างชาติ เพราะ เพื่อนคนนึงพูดขึ้นมาว่า "ดวงจันทร์ดูแปลกตานะคืนนี้" ถ้าคนไทย เจออะไรแปลกๆ คงไม่ทัก
ภาพนี้จะเห็นเพื่อนผมทั้งหมด ประโยคนี้ น่าจะหมายถึง พวกเรารีบทำภารกิจสุดเพี้ยนนี่ให้เสร็จเร็วๆ เถอะ จะได้รีบกลับบ้าน
ดูเหมือนว่าตัวข้างหน้าเราจะไม่เป็นมิตรกับพวกเราเลยนะ
ใครคนนึง
เราจะจบเกมนี้ยังไงมิ้ง มิ้งคือใครก่อน?
ฉันก็ไม่รู้ ผมก็ไม่รู้ คนอ่านก็ไม่รู้ ไม่มีใครรู้อะไรเลยตอนนี้...
พอรวมประโยคทั้งสองได้ความว่า มิ้งคงตอบคนที่ถามว่า "เราจะจบเกมนี้กันยังไง?" สาวมิ้งเลยตอบไปว่า ฉันก็ยังไม่รู้ในตอนนี้ แต่เราต้องเอาอะไรบางสิ่งบางอย่างกลับมาตรงจุดนี้
อย่างน้อยพวกเราก็มีเทียนไข (คงไขความลับที่ซ่อนอยู่ได้) ผมรีบหยิบเทียนขึ้นมา แล้วเดินตามเพื่อนๆ ไป มัวช้า มันไม่รอนะพวกนี้
งั้นพวกเราลองเดินหาเจ้าของบ้านกันดูมั้ย เผื่อจะได้ถามเขาว่าเราต้องทำอะไรต่อไป ยังไงกัน....
ตัวเกมก็พาเราไปทำความรู้จักกับประวัติโดยย่อของเจ้าของบ้าน
ในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง มีหญิงสาวสองพี่น้องอาศัยอยู่ด้วยกันสองคนตามลำพัง เพราะทั้งคู่เป็นเด็กกำมีด แฮร่! เด็กกำพร้า
(orphan แปลว่า เด็กกำพร้า)
สองพี่น้องมีฐานะยากจนมาก ต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ ดูจากประโยคหลัง คำว่า starved แปลว่า หิว อดอยาก
(poverty แปลว่า ความยากจน)
วันหนึ่ง มิโอะ น้องสาว กลับมาถึงบ้านด้วยท่าทางมีความสุข รอยยิ้มสดใส
ริน ผู้เป็นพี่ก็ไม่ได้สนใจหรือถามไถ่น้องสาวเลยว่า "ทำไมเธอถึงมีความสุข สนุกสนาน หน้าตาชื่นบานขนาดนี้"
(As the days went by แปลว่า เมื่อวันเวลาผ่านไป) รินพูดกับมิโอะว่า ต่อไปไม่ต้องมานั่งกินข้าวด้วยกันแล้วนะ
ประโยคนี้ แปลได้คำเดียวคือ ความอิจฉาริษยา นอกนั้น Google Translate ผลที่ได้ ความริษยาเข้าครอบงำริน และเพื่อสนองความหิวที่ไม่รู้จักพอของเธอ รินได้กินน้องสาวของตัวเองแท้ๆ คล้ายๆ กล่องข้าวน้อยฆ่าแม่ของบ้านเรา คงหิวมากจริงๆ
หลังจากที่กินมิโอะ น้องสาวของเธอไป รินก็ได้เห็นถุงเงินตกอยู่ ซึ่งมันก็มากพอสำหรับเลี้ยงปากท้องสองพี่น้อง
รินเสียใจ และรู้สึกผิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับน้องสาวของเธอเอง เธอเหมือนโดนผีสิงอยู่ตลอดเวลาหลังจากที่มิโอะตาย น่าจะมีอาการจิตหลอน ประสาท จากเหตุการณ์ทีกินน้องสาวตัวเอง
(guilt แปลว่า รู้สึกผิด)
(haunted แปลว่า ผีสิง ครอบงำ)
มีปากคน บนหัวเนี่ยนะ ฟังดูประหลาดมาก รินมักจะได้ยินเสียงคร่ำครวญอยู่ตลอดเวลา และเธอจะรู้สึกเจ็บปวดสุดหัวใจ
(wailed แปลว่า คร่ำครวญ)
ออกจากการแนะนำตัว น่าจะได้คำศัพท์กันไปพอสมควร ฉากต่อไปคือ ภารกิจที่เราต้องทำ คือ
1.
ตามหากุญแจ หลายคนคงลืมไปแล้ว
2.
ตามหาเจ้าหนูพิษ (poison rats แปลว่า หนูพิษ) ตามหาเพื่อ?
ห้อง SHIMENAWA จะปกป้องพวกเราทุกคน
ยังไม่แน่ใจว่าเป็นใคร
ประโยคนี้ ไม่รู้ใครเขียนไว้ หรือว่าจะเป็น มิโอะ กำลังพยายามบอกใบ้อะไรบางอย่างให้พวกเรารู้
และฉากนี้ คุณคิดว่าพวกเรารอดกันมั้ย?
ถ้าบล็อกนี้มีคนอ่านมากพอ ผมจะมาต่อพาร์ทที่เหลือให้จบ
ถ้าชอบ อย่าลืมแชร์ ให้คนอื่นอ่าน กดติดตามให้ด้วยนะครับ เพราะทุกการกระทำของคุณคือแรงใจในการทำของผม
อ้างอิง :
https://th.wikipedia.org/
https://www.roblox.com/games/6243699076/The-Mimic#!/about
https://translate.google.co.th/
เกม
พัฒนาตัวเอง
ความรู้รอบตัว
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย