18 พ.ย. 2022 เวลา 06:31 • คริปโทเคอร์เรนซี
มาทำความเข้าใจระบบ Layer บน Blockchain กันง่ายๆ!
Layer 0, Layer 1, Layer 2, Layer 3 คืออะไร?
มาทำความเข้าใจระบบ Layer บน Blockchain กันง่ายๆ! Layer 0, Layer 1, Layer 2, Layer 3 คืออะไร?
มีใครเคยได้เห็นไหมว่าจริงๆแล้วระบบบล็อกเชนมีหลาย Layer มากแต่ละ Layer ก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป มาทำความรู้จักกันหน่อยว่า แต่ละ Layer ของบล็อกเชนนั้นมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
มาทำความเข้าใจระบบ Layer บน Blockchain กันง่ายๆ! Layer 0, Layer 1, Layer 2, Layer 3 คืออะไร?
Blockchain Layer 0 คืออะไร?
ในส่วนของ Layer 0 ประกอบด้วยส่วนประกอบที่ทำให้บล็อกเชนเป็นจริง เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ Bitcoin, Ethereum และเครือข่ายบล็อคเชนอื่นๆ สามารถทำงานได้ ดังนั้นส่วนประกอบเหล่านี้จะประกอบด้วย
อินเตอร์เน็ต ฮาร์ดแวร์ และการเชื่อมต่อต่างๆ
Layer 0 นั้นมีความสำคัญที่จะให้สามารถใช้งานผ่านในระบบได้
โดยการเปิดบล็อกเชนสามารถเชื่อมต่อกันได้ แก้ปัญหาในเรื่องการปรับขนาดของเลเยอร์ Layer 0 มักใช้โทเค็นดั้งเดิมเพื่อการเข้าถึง ในส่วนของ เลเยอร์นี้ถือว่าเป็น “อินเตอร์เนตของบล็อคเชน”
ตัวอย่าง Layer 0
Polkadot, Cardano, Avalanche และ Cosmos
Blockchain Layer 1 คืออะไร?
Layer 1 คือ เครือข่ายบล็อกเชนทั่วไปอย่าง Bitcoin และ Ethereum ที่ทำหน้าที่ ประมวลผล และสรุปการทำธุรกรรมต่างๆ บนบล็อกเชนของตัวเองด้วย Proof of Work หรือ Proof of Stake แต่มีข้อเสียในเรื่องของปรับขนาดของเครื่อข่ายเมื่อมีคนเข้ามาใช้งานบล็อกเชนมากขึ้น ทำให้ต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น จึงทำให้ค่าธรรมเนียมสูงขึ้น และระยะเวลาในการทำธุรกรรมที่นานขึ้น
ตัวอย่าง Layer 1
Bitcoin, Ethereum, Binance Smart Chain (BSC) และ Litecoin เป็นต้น
Blockchain Layer 2 คืออะไร?
บล็อกเชน Layer 2 นั้นเข้ามาแก้ไขในส่วนของ Layer 1 นั่นก็คือ การปรับขนาดในการทำธุรกรรมนั้นเอง แก้ไขปัญหาในการที่เกิดการแออัด ของการทำธุรกรรมเยอะๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน โดย Layer 2 ได้รับความนิยม ค่อนข้างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงในการ แก้ไขปรับขนาดในเครือข่าย Proof of Work
ตัวอย่าง Layer 2
Optimism, Arbitrum, Polygon แะ StarkNet เป็นต้น
Blockchain Layer 3 คืออะไร?
มาถึงเลเยอร์สุดท้าย Layer 3 คือ การทำแอปพลิเคชั่นทำให้ผู้ใช้งาน สามารถนำไปใช้ได้แบบจับต้องได้ เพื่อความสะดวก มีความสามารถในการ ใช้งานแบบกระจายศูนย์ หรือที่เราคุ้นชินในชื่อของ Dapp นั้นเอง
เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้ระบบบล็อกเชนพัฒนา
ตัวอย่าง Layer 3
Uniswap และ Maker เป็นต้น
จากข้อความข้างต้นที่กล่าวมาคงเห็นแล้วว่าเลเยอร์บนบล็อกเชนแต่ละเลเยอร์ มีความแตกต่างกันอย่างไร แต่ละส่วนก็จะมีความสำคัญไม่เหมือนกัน แต่ที่สำคัญเลยคือ แต่ละเลเยอร์พยายามที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในบล็อกเชน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่ว่าคุณจะใช้บล็อกเชนประยุกต์ในด้านไหน ทาง Astra Studio สามารถให้คำปรึกษาในการพัฒนาได้ เพื่อเลือกระบบบล็อกเชนที่ตรงกับธุรกิจของคุณ พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญ หากสนใจคุณสามารถติดต่อเราเพิ่มเติมได้
อย่าลืมกดติดตามเพจของเราเพื่อรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพิ่มเติมกันนะ
ช่องทางอื่นๆ
โฆษณา