Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
19 พ.ย. 2022 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
บลจ. บล. บลน. ต่างกันอย่างไร
เวลาเราเห็นตัวย่อระหว่าง บลจ. บล. บลน. ในบทความเกี่ยวกับการเงินและการลงทุน
เราก็อาจจะสงสัยว่า ทั้ง 3 ตัวย่อนี้ คืออะไร
และแตกต่างกันอย่างไร
1
ทั้ง บลจ. บล. บลน. เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์เหมือนกัน
แต่รายละเอียดในการทำธุรกิจ จะมีความแตกต่างกัน
2
บลจ. บล. บลน. แตกต่างกันอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
บลจ. ย่อมาจาก “บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน”
เป็นสถาบันการเงิน ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.
โดยจะบริหารเงินให้กับลูกค้าที่มาซื้อกองทุนกับ บลจ.
2
ซึ่งกองทุน ที่ บลจ. บริหาร ก็จะประกอบด้วย
- กองทุนรวม (Mutual Fund)
- กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund)
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)
5
โดยกองทุนของ บลจ. นั้น ก็จะมีทั้งกองทุนที่ลงทุนในประเทศ และต่างประเทศ
1
ตัวอย่าง บลจ. ที่เราอาจจะคุ้นตากันมาบ้าง ก็อย่างเช่น
1
- KTAM ของ ธนาคารกรุงไทย
- KAsset ของ ธนาคารกสิกรไทย
- SCBAM ของ SCBx
- BBLAM ของ ธนาคารกรุงเทพ
1
ซึ่งรายได้ของ บลจ. เหล่านี้ ก็คือ ค่าธรรมเนียมในการจัดการกองทุนรายปี
และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเวลาเราส่งคำสั่งซื้อ และขายกองทุนในแต่ละครั้ง
1
ในส่วนของ บล. นั้น ย่อมาจาก “บริษัทหลักทรัพย์”
ทำหน้าที่เป็นโบรกเกอร์ หรือก็คือ นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
เช่น หุ้นในตลาดหลักทรัพย์
1
ซึ่งในการซื้อขายหุ้นแต่ละครั้ง ทางโบรกเกอร์ก็จะได้รายได้เป็นค่าธรรมเนียมด้วย
นอกจากนี้ ทางโบรกเกอร์ ก็ยังสามารถปล่อยกู้ให้กับนักลงทุนได้ด้วย
ซึ่งเรียกว่า “บัญชีมาร์จิน (Margin)”
1
โดยบัญชีมาร์จิน คือ บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ให้นักลงทุนสามารถใช้เงินของตัวเองส่วนหนึ่ง และเงินกู้ยืมจากโบรกเกอร์อีกส่วนหนึ่ง เพื่อซื้อหุ้นได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มอำนาจในการซื้อหุ้นให้มากขึ้น
4
ดังนั้น บล. ที่ปล่อยกู้ ก็จะมีรายได้อีกส่วนหนึ่งเป็นรายได้จากดอกเบี้ยการกู้ยืม
1
อีกบทบาทหนึ่งของ บล. ที่เรามักจะพบเห็นอยู่บ่อย ๆ ก็คือ “วาณิชธนกิจ (Investment Banking)” ซึ่งมีหน้าที่ เช่น
1
- ทำหน้าที่ระดมเงินทุน หรือเพิ่มทุน
- บริหารการควบรวมและซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions)
- ทำรายงานการวิจัย
- ออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
2
ซึ่งบริษัทที่ต้องการเข้าไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้น (IPO) นั้น
ก็ต้องทำผ่าน วาณิชธนกิจ นั่นเอง
5
นอกจากนี้ บล. ก็อาจจะทำธุรกิจเพิ่มเติมในด้านอื่นอีกด้วย เช่น
- ธุรกิจให้คำปรึกษาทางการเงิน
- ธุรกิจนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม จากหลาย บลจ.
- การออกบทวิเคราะห์ ให้แก่นักลงทุน ทั้งนักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนสถาบัน
2
ตัวอย่าง บล. ของธนาคาร ที่เราอาจจะคุ้นเคยกันบ้าง ก็อย่างเช่น
- Kasikorn Securities ของ ธนาคารกสิกรไทย
- Bualuang Securities ของ ธนาคารกรุงเทพ
นอกเหนือจาก บลจ. และ บล. แล้ว ตอนนี้ก็ยังมีบริษัทหลักทรัพย์อีกแบบ ที่เราควรรู้จักเอาไว้ นั่นก็คือ บลน.
1
บลน. ย่อมาจาก “บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน”
ซึ่งทาง บลน. จะทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม จากหลาย บลจ. ให้กับเรา โดยเฉพาะ
1
รวมถึงให้คำปรึกษากับนักลงทุน ว่าควรลงทุนในกองทุนใดบ้างเพียงเท่านั้น
โดยทั้ง บลน. และ บล. จะต้องได้รับการรับรองจากทาง ก.ล.ต. ก่อน
จึงจะสามารถเป็นนายหน้าในการซื้อขายกองทุนรวมได้
2
ตัวอย่างของ บลน. ที่เราอาจจะเห็นคุ้นตากันมาบ้าง ก็คือ
บริษัท หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด หรือ Finnomena
2
โดยหากเราต้องการซื้อกองทุนหลายกองทุน จาก บลจ. ที่แตกต่างกัน
เราไม่จำเป็นต้องไปเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนเฉพาะ ของ บลจ. แต่ละแห่ง
1
เพราะในปัจจุบัน หากเราเปิดบัญชีกับ บล. หรือ บลน. สักแห่งหนึ่ง
เราก็สามารถซื้อขายกองทุน จากหลากหลาย บลจ. ได้
2
จะเห็นว่าทั้ง บลจ. บล. และ บลน. มีสิ่งที่เหมือนกัน คือขายกองทุน
แล้วการซื้อกองทุนจากแต่ละสถาบัน แตกต่างกันหรือไม่ ?
2
ความแตกต่างที่มีคือ การซื้อกองทุนกับ บลจ. โดยตรงนั้น
อาจจะมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าการซื้อผ่านตัวกลาง
หรือหลีกเลี่ยงการโดนเก็บค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน
2
คือโดนเก็บจากทั้งเจ้าของกองทุน หรือ บลจ. เอง
และโดนเก็บจากทางนายหน้า คือ บล. และ บลน.
1
ในขณะที่หากเราซื้อ หรือเปิดบัญชีกับ บล. และ บลน.
ก็จะมีข้อดีคือ มีตัวเลือกการลงทุนมาให้มากกว่า
เพราะทำหน้าที่เป็นนายหน้า หรือเป็นตัวกลาง
โดยไม่ยึดติดกับ บลจ. ใด บลจ. หนึ่ง
1
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะงงกับตัวย่อจำนวนมาก
แต่ลงทุนแมนสรุปรวมให้สั้น ๆ ก็คือ
1
บลจ. = ผู้บริหารกองทุน
บล. = นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ให้บริการบัญชีมาร์จิน รวมถึงธุรกิจอื่น ๆ เช่น ธุรกิจวาณิชธนกิจ ที่นำบริษัทเข้าตลาดหุ้น หรือเป็นนายหน้าซื้อขายกองทุนก็ได้
1
และสุดท้ายคือ บลน. = นายหน้าซื้อขายกองทุนโดยเฉพาะ นั่นเอง..
2
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งจอง ได้ที่
Lazada:
https://www.lazada.co.th/products/i4249762626.html
Shopee:
https://shopee.co.th/product/116732911/22304620261
References
-
https://www.bblam.co.th/about-bualuang-fund/corporate-information/company-profile
-
https://www.bualuang.co.th/
-
https://classic.set.or.th/set/financialplanning/knowledgedetail.do?contentId=5012&type=article#:~:text=%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86,%E0%B9%86%20%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88
-
http://www.sbito.co.th/backoffice/file_manager/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD_1565260515_8771.pdf
-
https://www.moneybuffalo.in.th/mutual-fund/
-
https://victorytale.com/th/investment-banking-explained/
ธุรกิจ
122 บันทึก
105
118
122
105
118
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย