Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Krungthai Asset Management
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
19 พ.ย. 2022 เวลา 02:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หลบความผันผวนเศรษฐกิจ ด้วยกองทุนตราสารหนี้
“วิกฤติเศรษฐกิจ” ไม่ต่างอะไรจากมรสุมลูกใหญ่ ที่ไม่ว่านักลงทุนหน้าไหนก็คงไม่อยากเผชิญ เพราะผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในแต่ละครั้ง อาจสร้างความเสียหายให้กับพอร์ตของนักลงทุน จนถึงขนาดที่ใครหลาย ๆ คนขยาดกับการลงทุนไปเลย
และทุกครั้งที่วิกฤติเศรษฐกิจปะทุขึ้น ก็แทบไม่มีใครล่วงรู้เลยว่า จุดสิ้นสุดของวิกฤตินั้นอยู่ตรงไหน…
โดยเฉพาะวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยทั้ง 3 ระดับ ที่มักจะสร้างความเสียหายไปในตลาดทุนทั่วโลก ในระดับที่แตกต่างกัน ได้แก่
●
Mild Recession
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยังไม่รุนแรง แต่ส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกอยู่ไม่น้อย ทำให้นักลงทุนจำนวนมากชะลอการลงทุนลงนั่นเอง
●
Stagflation
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรงกว่า Mild Recession โดยข้อมูลจาก Business Insider เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้ให้ความหมายของคำว่า “Mild Recession” ว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตช้าลง ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการว่างงานที่สูง และราคาสินค้าที่แพงขึ้น
●
Great Recession
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง และใช้เวลาหลายปีกว่าจะฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง โดยข้อมูลจาก Investopedia เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ได้ยกตัวอย่างของวิกฤติดังกล่าวที่เห็นได้ชัด คือ วิกฤติซับไพรม์ ที่เริ่มมาจากภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2551
ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับมาที่สถานการณ์ในปัจจุบัน ก็อาจกล่าวได้ว่า เรากำลังเข้าสู่ช่วงวิกฤติใดวิกฤติหนึ่งอยู่ เพราะหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในรอบหลายสิบปี รวมถึงผลกระทบจากนโยบายขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จึงส่งผลให้นักลงทุนพยายามมองหาสินทรัพย์ ที่มีความเสี่ยงต่ำ และให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมในเวลานี้
นั่นจึงทำให้ ตราสารหนี้ (Bond) กลายเป็นสินทรัพย์ที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะกับการลงทุนท่ามกลางวิกฤติ โดยมีจุดเด่นสำคัญ คือ
1. มีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
ตราสารหนี้ เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน ที่มีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำกว่าสินทรัพย์เสี่ยงชนิดอื่น ๆ เช่น หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ และสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น
โดยเฉพาะประเภทพันธบัตรรัฐบาล (ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล) จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นกู้เอกชน (ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน)
เหตุผลเป็นเพราะว่า รัฐบาลเป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ และเปรียบเสมือนเสาหลักของประเทศ ในขณะที่บริษัทเอกชนโดยทั่วไป มักจะมีระดับความน่าเชื่อถือที่แตกต่างกันไปนั่นเอง
1
2. มีแนวโน้มคาดการณ์ผลตอบแทนได้
ข้อมูลจาก Set Investnow ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่กำหนดผลตอบแทนแบบคงที่ และให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอเฉลี่ย 2-5% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไป ที่ให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยเพียง 0.3-0.5% ต่อปี
ตามช่วงเวลาที่ระบุไว้ในเงื่อนไขของผู้ออกตราสารหนี้แต่ละราย
อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังคือ ราคากองตราสารหนี้มีโอกาสที่จะผันผวน ไปตามภาวะตลาดได้เช่นกัน ฉะนั้น การเลือกลงทุนตราสารหนี้ให้สอดคล้องกับ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เช่น เลือกลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ในช่วงดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น เพื่อลดโอกาสขาดทุนจากราคาตราสารหนี้ที่ต่ำลง หรือ การเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว ในเวลาที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง เพื่อรับส่วนต่างจากราคาตราสารหนี้ ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
3. กระจายความเสี่ยงได้ดี
การลงทุนในตราสารหนี้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุน เพราะเงินทุนไม่ได้กระจุกตัวอยู่แค่ในเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงเพียงอย่างเดียว ทำให้เมื่อเกิดวิกฤติ พอร์ตการลงทุนจึงสามารถบริหารความเสี่ยงได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่ต้องการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี แต่รับความเสี่ยงได้ไม่มาก KTAM ก็มีกองทุนรวมตราสารหนี้มาแนะนำ ได้แก่
- กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส ชนิดเพื่อการออม (KTSTPLUS-SSF) (ระดับความเสี่ยง 4)
มีนโยบายที่เน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เสนอขายทั้งในและ/หรือต่างประเทศ โดยจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก และ/หรือตราสารทางการเงิน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร หรือของผู้ออกตราสารอยู่ในระดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) และ/หรือหน่วยลงทุนของกองทุนที่มีนโยบายสอดคล้องกับกองทุน
1
โดยกองทุนอาจพิจารณานำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายที่จะจัดการลงทุน เพื่อให้อายุเฉลี่ยของตราสารทั้งหมดของกองทุน (Portfolio Duration) ไม่เกิน 1 ปี โดยประมาณ
*ข้อมูลของกองทุนล่าสุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565
สำหรับท่านใดที่สนใจหรือต้องการ Fund Fact Sheet ของกองทุนเปิด KTSTPLUS-SSF สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
http://bit.ly/3DVLeU5
1
- กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ภาครัฐเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF3) (ระดับความเสี่ยง 3)
มีนโยบายการลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน และตราสารทางการเงินอื่น ๆ ที่ผู้ออกหรือผู้รับรอง รับอาวัลหรือค้ำประกัน ตราสารมีความมั่นคงสูง มีความเสี่ยงต่ำ รวมทั้งลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด
สำหรับท่านใดที่สนใจหรือต้องการ Fund Fact Sheet ของกองทุนเปิด RMF3 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
http://bit.ly/3G8bpJR
*ข้อมูลของกองทุนล่าสุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2565
ดังนั้นแล้ว ถ้าใครรู้ตัวว่าตนเองรับความเสี่ยงได้ไม่มาก
แต่ใจหนึ่งก็อยากลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ก็อาจกล่าวได้ว่า “กองทุนรวมตราสารหนี้” เป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่ไม่ควรมองข้าม..
📱 ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด :
iOS :
https://bit.ly/KTAMST
Android :
https://bit.ly/KTST_Android
สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 𝟎𝟐-𝟔𝟖𝟔-𝟔𝟏𝟎𝟎 กด 𝟗
คำเตือน :
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) / ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk) / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุน KTSTPLUS-SSF มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม / กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
References :
-
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/finance/stock/1026144
-
https://www.businessinsider.com/personal-finance/stagflation
-
https://www.setinvestnow.com/th/bond
-
https://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2017/07072017.aspx
การลงทุน
เศรษฐกิจ
กองทุนตราสารหนี้
9 บันทึก
6
6
9
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย