19 พ.ย. 2022 เวลา 11:59 • ความงาม
📍ผมบางในผู้ชายดูแลรักษากันอย่างไรดี ?
สำหรับหนุ่มๆ แล้ว ผมบาง ศีรษะล้าน เป็นปัญหาใหญ่มากๆๆๆๆ ริ้วรอย หน้าใสยังไม่กังวลเท่า
ต่างจากสาวๆ ที่ปัญหาหลักๆจะเป็นเกี่ยวกับใบหน้าครับ
👨‍⚕️หมอเลยนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคผมบางในผู้ชายฝากกันครับ
📍โรคผมบางจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia) เป็นภาวะผมบางที่พบได้บ่อย โดยผมที่บางจะมีลักษณะเฉพาะคือ เส้นผมจะมีขนาดเล็กลง ผมบางทั่ว ๆ บริเวณกลางศีรษะหรือบางบริเวณด้านหน้าร่วมด้วย
-สาเหตุเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมกับภาวะฮอร์โมนเพศชาย (androgen) และอายุที่เพิ่มขึ้น
- ผมจะเริ่มบาง ตั้งแต่หลังวัยรุ่น ในผู้ชาย ส่วนใหญ่ผมจะเริ่มบางและมีขนาดเส้นเล็กลงตั้งแต่บริเวณไรผมบริเวณหน้าผากขึ้นไป ต่อมาผมบริเวณกลางศีรษะจึงเริ่มบางลง เมื่อเวลาผ่านไป ผมจะบางเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น
✅แนวทางการรักษา
ควรรับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ เนื่องจากการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการจะได้ผลมากกว่า และช่วยทำให้ผมไม่บางมากขึ้นเป็นการป้องกันการดำเนินโรคไม่ให้เป็นมากขึ้นได้
ในปัจจุบันการรักษาโรคนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ การรักษาด้วยยา และการผ่าตัดปลูกย้ายเส้นผม
1. การรักษาด้วยยา ในปัจจุบันมียา 2 ชนิดที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาให้นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรค AGA ในเพศชาย คือยาทา 2-5% ไมน๊อกซิดิล และยารับประทาน finasteride
👍Minoxidil ไมน๊อกซิดิล
มีผลทำให้เส้นผมและเส้นขนหนายาวและดำขึ้นทั่วตัว
ในรูปแบบทาความเข้มข้นร้อยละ 2-5 ทาครั้งละประมาณ 1 มิลลิลิตรลงบนหนังศีรษะบริเวณที่มีผมบาง วันละ 2 ครั้ง พบว่าหลังทานาน 4-6 เดือน ยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นเส้นผมเดิมซึ่งมีขนาดเล็กให้มีความหนา ดำ และยาวขึ้น และทำให้ผมอยู่ในระยะเติบโตหรือมีชิวิตอยู่ยาวนานขึ้น
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ อาการแดงคัน หรือระคายเคืองที่หนังศีรษะ ร้อยละ 6.5 และขนบริเวณหน้าผากและแก้มยาวขึ้น พบร้อยละ 3-5 ในผู้ป่วยบางรายอาจมีผมร่วงมาขึ้นใน 4-6 สัปดาห์แรกหลังเริ่มใช้ได้ ซึ่งจะดีขึ้นเองเมื่อใช้ยาต่อไปเรื่อย ๆ ถ้าได้ผลดีจำเป็นต้องทายรักษาไปตลอดชีวิต
👍ยา ไมน๊อกซิดิล ในรูปแบบรับประทาน ยังไม่ใช่การรักษาหลักนะครับโดยจากการศึกษาพบว่า ขนาดวันละ 2.5 - 5 มิลลิกรัม ให้กับผู้ป่วยบางราย เนื่องจากยารับประทานเห็นผลการรักษาชัดเจนกว่ายาทา อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่ทานยาจะพบขนดกขึ้นทั่วร่างกาย ร้อยละ 10 พบมีอาการบวมที่เท้าซึ่งมักเป็นชั่วคราว และอาจส่งผลต่อระบบหัวใจและความดันโลหิตในผู้ป่วยบางรายที่มีความผิดปกติอยู่เดิม*
*Suparuj Lueangarun et al. Efficacy and Safety of Minoxidil 5 mg Oral for the Treatment of Male Androgenetic Alopecia, Poster presentation at the 73rd Annual Meeting of the American Academy of Dermatology
👍ยาFinasteride ได้ผลดีในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมด้วยโดยยาทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ 5a-reductase ชนิดที่ 2 ทำให้ฮอร์โมนเพศชาย dihydrotestosterone (DHT) บริเวณหนังศีรษะและต่อมขนมีปริมาณลดลง
-ขนาดยาที่แนะนำให้ใช้ในผู้ชาย คือ 1 มิลลิกรัมต่อวัน
-ได้ผลดี สามารถลดการหลุดร่วง และเพิ่มจำนวนเส้นผมได้ เส้นผมใหม่มีเส้นหนา จากการศึกษาระยะยาวเปรียบเทียบกับยาหลอกพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา finasteride มีจำนวนเส้นผมต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีเส้นผมลดลง โดยผมเพิ่มขึ้นชัดเจนหลังการรักษาใน 12 เดือน และคงอยู่ต่อเนื่องนาน 2-5 ปี นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มผมบริเวณเหนือหน้าผาก (frontal hair line) ได้ด้วย
-ผลข้างเคียงของยาพบได้น้อย พบมีความรู้สึกทางเพศลดลง พบร้อยละ 0.3-3 แต่ไม่มีผลต่อการสร้างสเปริม์ และยาไม่ผ่านไปยังน้ำเชื้อ ดังนั้นผู้ที่รับประทานยาจึงสามารถมีบุตรได้
-โดยยาห้ามใช้ในผู้หญิง เพราะถ้าให้ในผู้หญิงและเกิดตั้งครรภ์ ถ้าทารกในครรภ์เป็นผู้ชาย อาจทำให้เกิดอวัยวะเพศผิดปกติหรือมีอวัยวะเพศกำกวม (abnormalities of the genitals) ได้
การรักษาอื่นๆ
👉ส่วนยาอื่น ๆ ที่มีการนำมาใช้กัน ได้แก่กลุ่มต่อต้านฮอร์โมนเพศชาย (antiandrogen) เช่น spironolactone ในขนาด 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน, ยาคุมกำเนิดชนิด cyproterone acetate และการให้ฮอร์โมนทดแทน
👉การใช้แสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ และการรักษาด้วยเลเซอร์กระตุ้นรากผม แต่ผลการรักษาความแตกต่างกันไป
👉การใช้สารสะกัดจากสมุนไพร มีเพียงบางชนิดที่ได้รับการศึกษาชัดเจนว่าได้ผลครับ และราคามักจะแพง บางขวดราคาหลายพันบาทแต่ไม่ได้ผลครับ ดังนั้นต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนใช้นะครับ✨
หมอขอนำเสนอข้อมูลการศึกษาของสารสกัด BiochaninA, Acetyl tetrapeptide-3 และ Panax ginseng root extracts พบว่ามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจาก 3% Minoxidil ในการรักษาผมบางจากพันธุกรรมในเพศชายและเพศหญิงหลังการรักษา 6 เดือนครับ**
**Suparuj Lueangarun et al , A 24-week tripled-blinded randomized controlled trial of BiochaninA, Acetyl tetrapeptide-3 and Panax ginseng root extracts versus 3% minoxidil lotion for treatment of androgenetic alopecia, Oral presentation at the 39th DST Annual Meeting 2014, March 26-28 1015
2. การผ่าตัดปลูกผม เป็นการผ่าตัดย้ายเซลล์รากผมจากบริเวณท้ายทอย ปลูกทดแทนผมบริเวณด้านหน้าหรือตรงกลางที่ร่วงหรือบางไป
👍3. การรักษาเสริมอื่นๆ ที่มีผลการศึกษาพบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาผมบาง เช่น
✅การฉีด #เกล็ดเลือดเข้มข้น #PRP
✅การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ #LLLT
✅#การรักษาด้วยเลเซอร์แบบแบ่งส่วนเพื่อกระตุ้นเซลล์รากผม Fractional Laser ซึ่งแนะนำเป็นการรักษาเสริมร่วมกับการรักษาหลักเพื่อผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้นครับ
-พวกซีรั่มหยอดผมที่โฆษณาตาม social media ส่วนมากไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพ และราคาแพงนะครับ จะซื้อใช้ต้องคิดดีๆนะครับ
#รักษาผมร่วง #รักษาผมบาง #เลเซอร์รักษาผมร่วง #เกล็ดเลือดเข้มข้นรักษาผมร่วง #เกล็ดเลือดเข้มข้นรักษาผมบาง #ผมบาง #ผมบางจากพันธุกรรม #ยาปลูกผม #PRP #PRF #drsuparuj #demedclinic
#หมอรุจชวนคุย 👨‍⚕️😉🔬
🧑🏻‍💻เทคนิคในการดูแลรักษาผมร่วงผมบาง
โฆษณา