19 พ.ย. 2022 เวลา 10:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Chapter 3 Price repetition patterns
ว่าด้วยการซ้ำกันของราคา
เริ่มกันที่ quote ของ Gann ผมไม่แปลละกัน
In order to forecast future cycles, the most important thing is to begin right, for if we have the right beginning, we will get the right ending. If we know the cause of the effect there can be no doubt about predicting future event or effect .
W.D. Gann
จากตัวอย่าง Soybean ในบทที่ 1 คุณจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างราคากับ วัฐจักรของ Mercury/Sun ซึ่งเป็น วัฐจักรที่ง่ายและไม่ได้มีรูปแบบที่ซ้อนอะไร และยังใช้ได้กับผลิตภัณฑ์การเกษตรอื่นๆอีกด้วย เช่น Wheat, Corn
ส่วน Commodities ตัวอื่นจะมีความซับซ้อนที่มากกว่าแค่ดูการกุมกันของ Mercury/Sun และก็ได้เวลาที่เราจะใช้ความรู้เรื่อง aspect ที่กล่าวไว้ในบทที่ 2 แล้ว
สำหรับพวก ค่าเงินต่างๆเช่น ปอนด์ สวิทซ์ฟรัง ดอยมาร์ก คู่ดาว Mercury/Saturn จะเหมาะกว่า และเราจะใช้ทั้ง 7 aspect เลย ซึ่งก็คือทุกๆ 30 (0,30,60,90,120,150,180) แต่ละวันของ aspect จะเกิดการซ้ำกันของราคา โดยทั่วไปเราจะได้ aspect ละ 1 เดือน
มาดูตัวอย่างกัน Chart2A เงินปอนด์ ในรูปจะเห็นคู่เลข 1,2 ซึ่งก็คือ Mercury/Saturn แต่ละ aspcect จะเห็นว่าราคาจะกลับมาซ้ำกันในแต่ละคู่ ที่นี้คำถามคือ เราจะรู้ได้ไงว่า aspect ไหนเป็น 1 , aspect ไหนเป็น 2
Chart 2A British Pond with Mercury/Saturn
คำตอบคือ ง่ายมาก คุณก็แค่ลองไปเอา 7 aspect date เหล่านั้น เอามา mark ลงกราฟ ก็จะเห็นคู่ของมันเอง แล้วในอนาตตก็ไล่ pattern ไปเรื่อยๆ
มาดูอีกตัวอย่างที่ยากกว่า ตามรูป Chart 2B ซึ่งได้ทำการ mark จุดด้วย M,N,O,P จะเห็นได้ว่า จะเกิดการงงๆแล้ว ว่าอะไรจะคู่กับอะไร เพราะราคามาซ้ำกันถึง 3 วัน
ใจเย็น ลองไปดู Chart 2C ซึ่งเป็นกราฟต่อเนื่องจาก 2B จะเห็นว่าการซ้ำกันของชุดราคาจะเป็น 1,2,3 แล้ว คือ ชุด O,P,Q
Chart 2B British Pond with Mercury/Saturn
Chart 2C British Pond with Mercury/Saturn
สังเกตอีกครั้ง P = M,N และ Q=O รูปแบบการซ้ำกันของราคาแบบนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ หรือแหกกฏอะไร เราจะได้เรียนรู้เรื่องนี้ลึกๆอีกทีในบทที่ 7 แต่ถ้าสมมติว่าใครจะหยุดอยู่ตรงนี้แล้วเอาสูตรนี้ไปใช้ อย่างน้อยก็ อัตราความแม่นก็น่าจะอยู่ที่ 70%
หนังสือบอกว่า ก็มีเหมือนกันที่อาจจะเกิดความผิดแปลกไปจากกฏนี้ ซึ่งก็เป็นผลจากการเข้าแทรกแซงจากคนเรานี่เอง ยกตัวอย่างเช่นค่าเงิน Japanes yen, แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้นวัฐจักรธรรมชาตินี้อยู่ดี
ซึ่งในกรณีของเงินเยนจะเป็นคู่ดาว Mercuyr/Pluto
ตย. Chart5A, 5B, 5C
Chart5E รูปแบบ 1,2 ที่มาซ้ำกันแบบไกลๆอีกด้วย
ส่วนกลุ่มน้ำมัน จะเป็นคู่ดาว Sun/Pluto, chart 6a (รูปผมไม่ได้เอามาลงหมดนะครับ ไปหาดูได้ในหนังสือเลย)
Silver เป็นคู่ดาว Venus/Jupiter
Dowjon คู่ดาว Sun/Jupiter เดือนละครั้ง
รูปประกอบ Chart8A, 8B
ท้ายบทตบท้ายด้วย Helpful Hints
1. เมื่อราคาเริ่มวิ่งสู่ new high หรือ ระดับราคาที่ต่ำลงมา และไม่กลับไปที่ราคาเดิมนั้นอีกเป็นเวลานาน ให้ลองย้อนกลับไปดูการเกิดการซ้ำกันของระดับราคาล่าสุดที่เกิดขึนนานมาแล้ว
คุณจะพบว่า ราคาที่ B จะประมาณๆ ราคาที่ A (ดูรูปด้านล่างประกอบ)
(เอาจริง ผมอ่านแล้วก็ยังสงสัยอยู่ว่ามันจะได้เหรอ เดี๋ยวไปทำการบ้านของจริงก่อน) นั่นหมายความว่าในรูปการณ์แบบนี้เราจะสามารถทำนายราคา Date1 B ได้อย่างที่เราไม่เคยทำได้มาก่อน และแน่นอนว่า Date 2 ด้วย
2. บทที่ 4 จะอธิบายรายละเอียดของการเคลื่อนที่ของราคา ขึ้น/ลง ไปสู่ระดับราคาใหม่
3. บทที่ 7 จะลงลึกไปในแต่ละ aspect และอธิบายว่า aspect ไหนที่ราคามักจะกลับมาซ้ำมากกว่ากัน เมื่อเทียบกับ aspect อื่น
บทที่ 3 ก็จะจบแต่เพียงเท่านี้ อย่าลืมไปทำการบ้านมาด้วยนะครับ
เราต้องลองจากตลาดจริง ในรูปในหนังสือเป็นของโบราณมาก เราต้องเอามาพัฒนาต่อยอดเองให้ได้
โฆษณา