19 พ.ย. 2022 เวลา 12:44 • คริปโทเคอร์เรนซี
หรือ FTX จะเป็นชนวนเหตุให้หน่วยงานรัฐเข้ามาควบคุมตลาดคริปโต?
หลายคนคงทราบข่าวเกี่ยวกับการล้มสลายของกระดานเทรดคริปโตอย่าง FTX ซึ่งไม่ได้เป็นเหตุการณ์ครั้งแรกในปีนี้ หากแต่เราจะเห็นข่าวทำนองเดียวกันออกมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงต้นปี หลายท่านคงจำไม่ลืมกับ LUNA หรือ Terra ที่ถูกโจมตีจนมูลค่าตกต่ำขนาดที่นักลงทุนตั้งตัวกันไม่ทัน
FTX เป็นกระดานซื้อขาย-แลกเปลี่ยนคริปโต ซึ่งเป็นกระดานในรูปแบบ Centralized Exchange หรือเรียกว่ากระดานรวมศูนย์ ซึ่งจะมีความแตกต่าง Uniswap หรือ Pancake Swap ที่เป็น Decentralized Exchange หรือเรียกว่ากระดานกระจายศูนย์
1
ความแตกต่างระหว่าง Centralized Exchange และ Decentralized Exchange คืออะไร?
Centralized Exchange เป็นกระดานในรูปแบบที่เราเห็นได้ทั่วไป เช่น FTX Bitkub หรือแม้กระทั่ง Binance ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี กระดานรวมศูนย์จะเป็นตัวกลางที่คอยทำหน้าที่จับคู่การแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย รวมถึงยังให้บริการรับฝากหรือจัดเก็บเหรียญภายในกระดานเอง ทำให้เวลาเราซื้อขายไม่จำเป็นที่จะต้องโอนออกมาเก็บใน Hardware Wallet หรือ Software Wallet ให้เสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือที่เรารู้จักกันว่า ค่าแก๊ส (Gas fees)
1
Decentralized Exchange เป็นกระดานในอีกรูปหนึ่งที่สามารถใช้แลกเปลี่ยนคริปโต โดยกระดานแบบกระจายศูนย์ จะมีหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างลูกค้าเพื่อสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่าง Wallet to Wallet โดยกระดานประเภทนี้จำเป็นที่จะต้องเก็บเหรียญไว้ใน Hardware Wallet หรือ Software Wallet เสมอ โดยส่วนมากจะไม่มีบริการรับฝากเหรียญ (Hot Wallet) ทำให้เราจะมีค่าธรรมเนียมการโอนเข้าหรือออกเสมอ
4
อย่างที่ทราบกันดีว่า FTX เป็นกระดานในรูปแบบรวมศูนย์ และเป็นกระดานที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก Binance แล้วเหตุการณ์ล่มสลายเกิดได้อย่างไรหละ?
3
CZ หรือ Changpeng Zhao ผู้เป็น CEO ของ Binance ได้พบเจอความผิดปกติในบริษัท Alameda Research ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ FTX และอาจส่งผลต่อ Binance ได้จึงทำการประกาศว่า จะทำการขายเหรียญ FTT ที่ Binance ถืออยู่ออกทั้งหมด
4
ซึ่งในภายหลังทาง CoinDesk ได้ออกมาเปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Alameda Research ไว้ว่า ทรัพย์สินของทางบริษัทนั้นมากกว่า 80% เป็นเหรียญ FTT ซึ่งเป็นเหรียญที่ทาง FTX เป็นผู้ออก โดยนำเหรียญไปเป็นหลักค้ำประกันเพื่อนำเงินออกมา
หลังจากนักลงทุนเริ่มทราบข่าว ทำให้เกิดการ Panic Sell ในเหรียญ FTT อย่างหนัก รวมถึงนักลงทุนแห่ถอนเงินออกจาก FTX จนทำให้ต้องมีการปิดการถอนไปชั่วขณะ และทำการยื่นเรื่องล้มละลายเป็นที่เรียบร้อย เพราะไม่มีเงินนำไปจ่ายคืนแก่นักลงทุน เพราะได้โอนสินทรัพย์ของนักลงทุนที่ฝากไว้บางส่วนไปลงกับ Alameda Research
3
โดยก่อนยื่นเรื่องล้มละลาย CZ ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือ (หรือซ้ำเติมกันนะ?) ในการประกาศจะเข้าซื้อกิจการ FTX เพื่อช่วยเหลือเหล่านักลงทุน แต่ในวันถัดมาหลังทำ Due Diligence พบว่าสภาวะบริษัทย่ำแย่กว่าที่คิด ไม่สามารถเข้าซื้อได้
2
Domino Effect จากเหตุการณ์ FTX ค่อนข้างรุนแรง สืบเนื่องมาจากมีการไปลงทุนใน Project ต่างๆ หรือเป็น Partner ค่อนข้างมาก และข่าวล่าสุดที่ได้ประกาศออกมาแล้วก็คือ BlockFi และ Genesis จากเดิมสภาวะผลประกอบการบริษัทค่อนข้างแย่อยู่แล้ว พอเกิดเคส FTX ทำให้ยิ่งย่ำแย่ลงไปอีกจนประกาศล้มละลายตามๆกันไป
6
หลังจากเหตุการณ์นี้ Binance ของทาง CZ ได้ออกมาแสดงถึงสภาพคล่องของบริษัทในรูปแบบ Proof of Reserves (PoR) เพื่อแสดงความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน รวมไปถึงเตรียมจัดตั้งโปรเจคกับทาง Vitalik หรือ ที่เรารู้จักในนามผู้ก่อตั้ง Ethereum เพื่อจัดตั้งและผลักดันระบบ PoR ให้แพร่หลายและเป็นมาตรฐานกับทุกๆกระดานซื้อขาย
5
ต้องหยุดก่อนที่ไฟจะลุกลาม
ทำเนียบขาวของสหรัฐออกมาแสดงถึงความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ และได้แสดงความเห็นถึงการขาดการกำกับดูแลอย่างเหมาะสมและเคร่งครัดในการควบคุมธุรกิจ Exchange และธุรกิจในวงการคริปโต เป็นเหตุที่ทำให้ชาวอเมริกันมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบในเชิงลบในวงกว้าง
2
หากปล่อยไม่มีการกำกับดูแลอย่างเคร่งครัดแบบนี้ไปเรื่อยๆ อาจมีเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม ซึ่งวงการคริปโตมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่เกิดการควบคุมและยังมีการฉ้อโกงในรูปแบบต่างๆเช่นนี้ อาจทำให้ให้นักลงทุนหมดความเชื่อถือในวงการคริปโต และหากนักลงทุนแห่กันออกจากวงการคริปโตโดยพร้อมเพรียงกัน หายนะอาจรออยู่ข้างหน้า หรือไม่แน่ว่าอาจเป็นระเบิดเวลาที่เตรียมทำลายวงการคริปโตอยู่กันแน่
1
ก่อนจบบทความ ขอฝากคำถามชวนคิดเอาไว้ว่า
ถึงเวลาแล้วรึยังนะที่วงการคริปโตจะถูกกำกับดูแลอย่างเข้มงวดเฉกเช่น ตลาดอื่นๆ?
1
#JTrader
#เทรดไปเที่ยวไป
#แผนชัดก็ซัดเลย
#Cryptocurrency
#FTX
โฆษณา