Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thairath Online - ไทยรัฐออนไลน์
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 พ.ย. 2022 เวลา 04:30 • ข่าว
โควิดไทยขาขึ้น! ทั่วโลกผวา-จับตา "เดลตาครอน XBC" แพร่เร็ว-โจมตีปอด
3
โควิดไทยแนวโน้มเพิ่มขึ้น เตือนเฝ้าระวัง "เดลตาครอน XBC" โควิดลูกผสมระหว่าง "เดลตา-โอไมครอน BA.2" ประเมินโจมตีปอดเหมือน "เดลตา" แพร่ระบาดได้รวดเร็วเหมือน "โอมิครอน"
5
สถานการณ์โควิดไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น กรมควบคุมโรคเตือนกลุ่ม 608 และกลุ่มเด็กเล็กที่มีโรคประจำตัว เร่งรับการฉีดวัคซีนโควิดโดยเร็ว ซึ่งคาดว่า 2-4 สัปดาห์ข้างหน้านี้ จะมีผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้น
2
นอกจากนี้ ทั่วโลกยังเฝ้าจับตาโควิดลูกผสม "เดลตาครอน XBC" ซึ่งผสมระหว่างสายพันธุ์ "เดลตา" และ "โอไมครอน BA.2" ซึ่งพบกลายพันธุ์ไปมากกว่า XBB และ BQ.1 โดยในช่วงการระบาดของโควิดปลายปีที่ 3 ซึ่งโอไมครอนกำลังอ่อนกำลังลงนั้น ดูเหมือน "เดลตาครอน" หลายสายพันธุ์จะระบาดขึ้นมาแทนที่ เช่น XBC, XAY, XBA และ XAW โดยเฉพาะ "เดลตาครอน XBC" ที่มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมอู่ฮั่น มากที่สุดถึงกว่า 130 ตำแหน่ง !!!
3
โควิดไทยติดเชื้อเพิ่ม 12.8% เตือนกลุ่มเสี่ยงเร่งฉีดวัคซีน
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ประเทศไทย สัปดาห์ที่ 45 มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 12.8 เปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนผู้ป่วยเสียชีวิตยังมีแนวโน้มคงตัว ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์
กรมควบคุมโรคได้ติดตามข้อมูลเฝ้าระวังโรคจากทั้งผู้ป่วยรับการรักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อที่ดูแลอาการตนเองที่บ้าน และดำเนินการเฝ้าระวังสถานที่เสี่ยงใน 8 จังหวัด เริ่มพบผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดท่องเที่ยว โดยเฉพาะในภาคตะวันออกและภาคใต้ ซึ่งจังหวัดส่วนใหญ่รับนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้น และมีการจัดกิจกรรมที่มีคนรวมตัวกันจำนวนมากขึ้นด้วย
2
ทั้งนี้ แม้ว่าผู้ป่วยอาการหนักใส่ท่อช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิตในรอบสัปดาห์ที่ 45 (วันที่ 6-12 พ.ย. 2565) มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ไม่รับวัคซีนโควิด-19 และไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค หากติดเชื้อโควิดฯมีโอกาสป่วยหนักได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัว
2
เน้นกลุ่ม 608 หากพบติดเชื้อ อาจให้ LAAB รักษา
ขณะที่ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เน้นมาตรการตรวจรักษากลุ่ม 608 ที่เริ่มมีอาการป่วย ทั้งมีไข้ ไอ และ ATK พบเชื้อให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโรคโดยเร็ว โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ LAAB (ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป) โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่อาจจะสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้น้อย
คำแนะนำในช่วงนี้ คือ ผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับวัคซีนงดออกจากบ้าน และสมาชิกในครอบครัวที่เป็นกลุ่มวัยทำงาน มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสผู้ติดเชื้อนอกบ้าน เช่น ไปสถานบันเทิง ให้งดใกล้ชิดผู้สูงอายุ และพาพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอาในบ้าน รวมทั้งเด็กเล็ก เด็กนักเรียน เข้ารับการฉีดวัคซีน ทั้งเข็มแรก หรือเข็มกระตุ้นหากได้รับเข็มสุดท้ายมานานเกิน 4 เดือน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนัก และลดระยะเวลาการรักษาโรค ที่พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือญาติต้องลางานเพื่อดูแลรักษาด้วย
1
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียม ยา เวชภัณฑ์ วัคซีน รวมทั้ง LAAB ไว้เพียงพอเพื่อรองรับการระบาดของโรคที่กำลังเพิ่มขึ้น รวมทั้งสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ มีความพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนโควิดฯ โดยสามารถสอบถามวันเวลาที่ให้บริการก่อนไปรับการฉีดวัคซีนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
4
ทั่วโลกเฝ้าจับตา "เดลตาครอน XBC"
ขณะที่การเฝ้าระวังโควิดลูกผสม "เดลตาครอน" หลายสายพันธุ์ ที่กำลังเริ่มแพร่ระบาดแทนที่โอมิครอนขณะนี้นั้น ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แจ้งเตือนว่า ขณะนี้ทั่วโลก กำลังเฝ้าจับตา "เดลตาครอน XBC" ซึ่งจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของเดลตาครอน ประเมินว่าเป็นไวรัสโควิดที่มีศักยภาพในการโจมตีปอดอย่างเดลตา และอาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วเหมือนโอไมครอน
1
เมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานการตรวจพบเดลตาครอนในประเทศฟิลิปปินส์ระยะหนึ่งจากนั้นได้สูญหายไป ไม่เกิดการระบาดรุนแรงขยายวงกว้าง แต่มาในช่วงปลายปี 2565 กลับพบ เดลตาครอน ในประเทศฟิลิปปินส์อีกครั้งในรูปแบบของโควิดสายพันธุ์ XBC, XBA, XAY และ XAW ระบาดขึ้นมาใหม่
2
เลวร้ายสุดอาจอันตรายเท่า "เดลตา"
1
กรณีที่เลวร้ายที่สุด ลูกผสมเดลตา-โอมิครอน อาจมีอันตรายพอๆ กับสายพันธุ์เดลตา ซึ่งคร่าชีวิตผู้ที่ติดเชื้อไปประมาณ 3.4% สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตของโอมิครอนเกือบ 2 เท่า แต่การทำนายความรุนแรงของสายพันธุ์ลูกผสมนั้น ถือเป็นเรื่องยากเนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่า เหตุใดโอมิครอนจึงดูเหมือนจะก่อโรคโควิดรุนแรงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเดลตา
"ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ทำไมโควิดฯจึงเปลี่ยนจากโรคทางเดินหายใจส่วนล่างในช่วง 2 ปีแรก ที่เดลตาและสายพันธุ์ก่อนหน้าระบาด มาเป็นโรคทางเดินหายใจส่วนบน ที่มีความรุนแรงลดลงในปีที่ 3 คาดอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือไปจากโปรตีนหนาม ซึ่งไวรัสใช้ในการเกาะติดเซลล์ของมนุษย์และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน
1
เพราะฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในภูมิภาคอาเซียน และอยู่ใกล้ประเทศไทย ขณะนี้ตรวจพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน "XBB" จำนวนถึง 81 ราย พร้อมพบลูกผสม "XBC" ใน 11 จังหวัด ถึง 193 ราย ขณะที่ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และกัมพูชา ก็พบ "XBB" และ "XBC" ด้วยเช่นกัน โดยเหล่าบรรดานักวิทยาศาสตร์อาเซียน ได้ช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 และแชร์ไว้บนฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก "GISAID"
ดังนี้ พบโควิดลูกผสม "XBB" ในประเทศสิงคโปร์ 1,137 ราย 12.154%, อินโดนีเซีย 90 ราย 0.623%, บรูไน 77 ราย 4.254%, มาเลเซีย 32 ราย 0.358%, ฟิลิปปินส์ 20 ราย 0.490%, กัมพูชา 1 ราย 0.197%
ส่วนลูกผสม "XBC" นั้น พบในประเทศฟิลิปปินส์ 35 ราย 0.857%, บรูไน 15 ราย 0.829%, สิงคโปร์ 1 ราย 0.011%, และมาเลเซีย 1 ราย 0.011%
1
เตือนไม่ควรติดโควิดซ้ำ แจงกลไกทำให้เกิดเบาหวาน
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุถึงผลของการติดเชื้อโควิดฯ ว่า โควิดฯเป็นกลไก ที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน และอาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังระยะยาวตามมาได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรปล่อยให้ติดเชื้อซ้ำ ทั้งนี้ งานวิจัยหลายชิ้นทั่วโลกก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับการติดเชื้อโรคโควิดฯเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ Groß R และคณะจากเยอรมนี ได้อัปเดตความรู้เกี่ยวกับกลไกที่อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานหลังการติดเชื้อโควิดฯ ได้แก่
3
นอกจากนี้ ผศ.นพ.ธีระ ยังระบุอีกว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ และจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวัง ติดตามผลกระทบจากการที่มีการติดเชื้อโควิดฯจำนวนมากทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดสึนามิโรคเรื้อรังตามมาในระยะยาว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการไม่ประมาท ผู้ที่ติดเชื้อมาก่อนควรระมัดระวัง ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อซ้ำและดูแลสุขภาพ หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ รวมถึงไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
2
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องระหว่างดำรงชีวิตประจำวันนอกบ้าน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก โดยให้สังเกตจำนวนการเสียชีวิตส่วนเกินเปรียบเทียบในแต่ละปี และอัตราการเสียชีวิตส่วนเกิน ก็จะเห็นได้ถึงผลกระทบของโรคระบาดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาว่า มีมากเพียงใด ดังนั้นการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด
1
กราฟิก : Jutaphun Sooksamphun
thairath.co.th
โควิดไทยขาขึ้น! ทั่วโลกผวา-จับตา ”เดลตาครอน XBC” แพร่เร็ว-โจมตีปอด
โควิดไทยแนวโน้มเพิ่มขึ้น เตือนเฝ้าระวัง ”เดลตาครอน XBC” โควิดลูกผสมระหว่าง ”เดลต้า-โอไมครอน BA.2″ ประเมินโจมตีปอดเหมือน ”เดลตา” แพร่ระบาดได้รวดเร็วเหมือน ”โอมิครอน”
39 บันทึก
25
4
338
39
25
4
338
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย