21 พ.ย. 2022 เวลา 06:33 • ประวัติศาสตร์
"Tea vs Cha/Chai" ภาษาไหน เรียกว่าอะไรกันบ้างนะ ? ☕🫖
บางประเทศเขาเรียก “ชา (Cha)” บางประเทศก็เรียก “ไช/ชาย (Chai)” 🍵
ในขณะที่บางกลุ่มภาษา เค้าก็จะเรียก “ทีหรือเท (Tea)” กันไปแทน 🫖
แต่ทั้ง 3 คำนี้ ไม่ว่าจะเรียกคำแบบไหนก็ตาม มันก็คือ “ชา” เครื่องดื่มที่ปรุงจากใบ กิ่งหรือหน่อ ของต้น “Camellia sinensis” ชนิดเดียวกัน แต่ไปมีความหลากหลายในภาษาและวัฒนธรรมแทน (จริง ๆ ก็เรียกต้นชาน่ะแหละ พูดให้ยากทำไมเนอะ 🤣)
จริง ๆ พวกเราคิดว่าเพื่อน ๆ หลายคนน่าจะเคยสงสัย
(แต่ว่าเรื่องนี้มันแบบทั่วไปมากก จนอาจจะไม่สงสัยกันแล้ว😆)
งั้นวันนี้พวกเรา InfoStory ขอเรียบเรียงชื่อเรียก “ชา” ในภาษาต่าง ๆ รอบโลก ให้เพื่อน ๆ รับชมกัน (ด้วยข้อจำกัดทางพื้นที่ในภาพอินโฟกราฟิก พวกเราขออนุญาตหยิบมาเฉพาะบางภาษานะคร้าบ)
[ Tea, Cha และ Chai ชื่อเรียกแบบไหน กำเนิดมาก่อนกัน ? ]
ขอพวกเราอ้างอิงจากภาพอินโฟกราฟิกนะคร้าบ
หากว่ากันด้วยตามชื่อเรียก “ชา” ตามภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก ก็จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเนอะ 👩‍🏫
1. กลุ่มภาษาที่เรียกชาในกลุ่ม “Tea” ยกตัวอย่างเช่น
English - Tea
Dutch - thee
French - thé
Italian - Tè
Afrikaans - tee
Javanese - tèh
2. กลุ่มภาษาที่เรียกชาในกลุ่ม “Cha/Chai” ยกตัวอย่างเช่น
Russian - chay
Portuguese - cha
Turkish - chay
Mandarin - Chá
Japanese - Ocha
Korean - Cha
Hindi - chai
Arabic - shay
Thai - ชา
แต่ไม่ว่าจะเป็นชื่อเรียกแบบไหนก็ตาม “ชา” ก็ยังคงเป็นเครื่องดื่มที่ใช้เทน้ำผ่านใบชาเหมือน ๆ กัน
แล้วชื่อเรียกแต่ละชื่อ อันไหนถูกเรียกมาก่อนกันละ ? 🧐
[ Chá ] 🇨🇳 ว่ากันว่าชื่อเรียก “ชา” ของชาวจีน ถือกำเนิดมาก่อนเพื่อน..
ย้อนกลับไปซักประมาณ 5,000 ปีก่อน
ว่ากันว่า “Chá” หรือ ชา เป็นชื่อเรียกในรูปแบบที่มาจากภาษาจีน จะเป็นชื่อเรียกแรกที่ใช้เรียกเจ้าเครื่องดื่มที่ใช้น้ำร้อนปรุงจากต้าชา “Camellia sinensis”
แรกเริ่มจากจักรพรรดิ “เฉินหนง” ที่บังเอิญพบช่อชาป่าที่โดนลมพัด ปลิวตกลงมาอยู่ในหม้อต้มน้ำร้อนพอดิบพอดี จนกระทั่งจักรพรรดิได้ลองดื่ม ก็พบว่าเจ้าน้ำอันนี้ ช่วยทำให้กระปรี้กระเปร่า 🤩
ในเวลาต่อมา เมื่อการแพทย์เริ่มพัฒนาขึ้น แพทย์ประจำตัวของจักรพรรดิ (นามว่า Pen Ts’ao) จึงได้เริ่มต้นนำใบชามาใช้งานทางการแพทย์ 👨‍⚕️
คัมภีร์การแพทย์ของ Pen Ts’ao ถูกใช้ต่อมาเรื่อย ๆ ยาวววว จนมาถึงในช่วงประมาณศตวรรษที่ 7 หรือในช่วงราชวงศ์ถังที่ได้มีการบันทึกวิธีการปรุงชาในแบบลายลักษณ์อักษร 📇
ต่อมาไม่นาน ใบชาจากจีนก็ได้แพร่ขยายออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม (ว่ากันว่าจากกลุ่มนักบวช)
อย่างเช่น ชาวญี่ปุ่น 🇯🇵 ก็เริ่มรู้จักวิธีการชงชาจากนักบวชศาสนาพุทธที่กลับมาจากการแสวงบุญที่ประเทศจีนในศตวรรษที่ 9 (จนเกิดมาเป็นพิธีชงชาญี่ปุ่นในภายหลัง)
ก่อนที่ “ชา” จะกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า ที่เชื่อกันว่าเป็นยา ว่ากันว่าพระพุทธเจ้า (สิทธัตถะ โคตมะ) ก็ได้ใช้ชาในการช่วยทำสมาธิ รวมสติและขจัดความเหนื่อยล้า (ว่ากันว่านะคร้าบ..)
สำหรับพวกเรา ในกรณนี้ก็คงไม่ต่างอะไรไปจาก “ไวน์” ในศาสนาคริสต์ สักเท่าไร.. (คงต่างไปในเรื่องของการนำไปใช้ทำการค้าเนอะ) 🍷⛪️
[ Tea ] 🇳🇱 🇬🇧 🇫🇷
ในขณะที่ “Tea” อันนี้ชัดเจนเลย (เสียงในหัวก็จะออกไปทางสำเนียงบริติชหน่อย ๆ🏴󠁧󠁢󠁥󠁮󠁧󠁿) แต่จริง ๆ เดิมทีคำนี้ไม่ได้เป็นภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เริ่มนะ แต่มันมาจากคำว่า “Te” ซึ่งเป็นสำเนียงภาษาจีนแบบฮกเกี้ยน 🇨🇳
คือ ว่ากันว่าพี่จีน อย่างที่รู้กันว่าเขาเป็นพี่ใหญ่ในการผลิตต้นชา
🇵🇹 🇳🇱 เมื่อชาวยุโรปตะวันตกกลุ่มแรก ๆ ได้เดินเข้ามาที่ประเทศจีนในช่วงศตวรรษที่ 16 ก็ได้พบกับเครื่องดื่มชาเป็นครั้งแรก… แน่นอนว่าพวกเขาก็ติดใจราวกับว่า “ชา” เป็น “ยาวิเศษ” กันเลยทีเดียว (เข้าใจว่าพวกชาวยุโรปมารู้จักกับต้นชาก่อนหน้าจะเจอกับเมล็ดกาแฟสักนิดนึงนะ)
หลังจากที่ชาวยุโรปได้รู้จักกับใบชาแล้ว
แน่นอนเลยละ.. ในสมัยยุคล่าอาณานิคม การหาสินค้าที่แปลกใหม่มาเตรียมขายแบบผูกขาดก็จะต้องตามมาเคียงคู่กัน
บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East India Company) 🇳🇱 ก็รีบบบบบเข้ามาจับจองพื้นที่เลยจ้า !
โดยพวกชาวดัตช์ได้ใช้ท่าเรือทางตอนใต้ของจีนที่เมือง Xiamen และ Quanzhou
ซึ่งในบริเวณนั้น ชาวจีนจะเรียกชาว่า “Te” ซึ่งเป็นสำเนียงภาษาจีนแบบฮกเกี้ยน
ชาวดัตช์ในบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ 🇳🇱 (คือสมัยนั้นเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแล้วนะ ก่อนบริทิชอีสอินเดีย) ก็ได้นำชื่อเรียกนี้ไปเผยแพร่ต่อในดินแดนอาณานิคมอย่างชวา และทำการค้าขายกับชาวมาเลย์ จนกลับไปยังยุโรปตะวันตก
🤭 ก่อนที่ต่อมาสิทธิการผูกขาดการขายชาจะตกมาอยู่ที่บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (British East India Company) จนทำให้ชาวอังกฤษรับมาใช้เป็นคำว่า “tea” ในปัจจุบันนั่นเองคร้าบบ 🏴󠁧󠁢󠁥󠁮󠁧󠁿🇬🇧
เรื่องนี้เลยทำให้ชาวฝรั่ง (ชาวยุโรปตะวันตก) ได้สร้างคำนิยามสั้น ๆ เกี่ยวกับชื่อเรียกของชาเป็น Quote ว่า
“Cha, If by the Land. Tea, if by the Sea.”
คล้ายกับเป็นการล้อไปกับเรื่องราวที่เราได้เล่ามา
🇵🇹 เห็นทีจะมีแค่ชาวโปรตุเกสที่เรียกชาว่า “Cha” ไม่ได้เรียก Tea เหมือนเพื่อนร่วมสหภาพ
ก็เพราะว่าในเริ่มแรกเลย พ่อค้านักเดินเรือชาวโปรตุเกสยอมนำของบรรณาการมาถวายกับจักรพรรดิของจีน โปรตุเกสจึงเป็นชาวยุโรปกลุ่มพิเศษที่จีนอนุญาตให้ตั้งสถานีการค้าที่ท่าเรือในเขตปกครองพิเศษมาเก๊าได้
ซึ่งที่มาเก๊ายังคงใช้คำเรียกว่า “Cha” เลยทำให้ชาวโปรตุเกสเรียกตามมาเช่นนั้น
[ Chai ] 🇮🇳 🇦🇪 🇹🇷
ปิดท้ายเบา ๆ กับชื่อเรียกชาที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย “Chai (ไช)”
โดยมากชาดำของอินเดีย ก็จะเป็นชาอัสสัม (Assam) ซึ่งก็อาจมีกลิ่นเครื่องเทศ
ต้นกำเนิดของชาอินเดีย ว่ากันว่าค้นพบต้นชาที่เหมือนกับต้นชาของประเทศจีน ที่รัฐอัสสัมในประเทศอินเดียโดยชาวอังกฤษ คือ อาจมีการค้นพบมาก่อนหน้านี้โดยชาวอินเดียนะ..
 
เพียงแต่ว่า… เราคงต้องอ้างเรื่องราวตามบันทึกของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (British East India) ที่บันทึกเอาไว้ว่าพวกเขาเป็นผู้ค้นพบใบชาจากรัฐอัสสัม
การที่พวกชาวอังกฤษมาอ้างแบบนี้ นั่นก็เพราะเรื่องการค้าล้วน ๆ เลย
คือ คนอังกฤษในมัยนั้นคลั่งชามากกก การนำเข้าชาจากจีนเนี่ย มันมีราคาต้นทุนสูง
แล้วไหน ๆ ชาวอังกฤษก็เป็นผู้ครอบครองอนุทวีปอินเดียอยู่แล้วในขณะนั้น
จึงไม่แปลกใจที่พวกเขาต้องพยายามหาทุกหนทางที่จะหากำไรบนแผ่นดินอินเดีย
จนกระทั่งในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ชาวอังกฤษชื่อ “Robert Bruce” ได้อ้างว่าเขาเป็นผู้ค้นพบใบชาสายพันธุ์ใหม่ “Camellia sinensis var assamica” หรือชาอัสสัม เป็นชาดำที่เข้มข้นกว่าสายพันธุ์ของจีน
(คหสต. อันที่จริงเรื่องราวของใบชาในอินเดียเนี่ย…พวกเราคิดว่ามันถูกค้นพบโดยชาวพื้นเมืองอยู่แล้วละนะ
เพียงแต่ด้วยอำนาจที่ล้นมือของชาวอังกฤษในตอนนั้น เลยทำให้เรื่องราวมันผิดเพี้ยนไป…)
คำว่า “Chai” จึงเป็นชื่อเรียกของ “ชา” ในภาษาฮินดี (ที่ว่ากันว่ามาจากคำว่า “Cha” ของชาวจีน หากตรงนี้ผิดพลาดต้องขออภัยนะคร้าบ)
สำหรับ Chai ตัวนี้ ถ้าเพื่อน ๆ คุ้นภาพติดตากันในเมนูของชาดำผสมเครื่องเทศ อันนั้นจะเรียกว่า “Masala Chai” ส่วนชาผสมนม ก็จะเรียกตรง ๆ ว่า “Chai Latte” นั่นเองคร้าบผม
🇶🇦⚽ บอลโลกคู่แรกเพิ่งเปิดฉากจบกันไป ภายใต้เรื่องราวดราม่าต่าง ๆ มากมาย
แล้วเพื่อน ๆ เชียร์ทีมชาติไหนกันบ้าง แชร์ให้พวกเราฟังได้นะคร้าบบ 🏴󠁧󠁢󠁥󠁮󠁧󠁿 อิอิ
โฆษณา