Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
GRID by PEA สาระนวัตกรรม
•
ติดตาม
21 พ.ย. 2022 เวลา 08:29 • บ้าน & สวน
สายฝนยังไม่โบกมือลาไปง่าย ๆ
เราจึงมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าที่มากับสายฝนมาฝากกัน
มีอะไรบ้าง ไปดูกัน
ปีนี้เป็นปีที่ฝนตกติดต่อกันหลายเดือน แม้จะขาดช่วงไปจนนึกว่าจะเข้าหน้าหนาวแล้ว แต่สภาพอากาศที่แปรปรวน ยังทำให้ยังมีฝนตกอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม นอกจากฝนจะนำมาซึ่งความเย็นฉ่ำแล้ว แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ฝนก็ทำให้เกิดน้ำท่วม รถติด นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ต้องระวังในยามที่ฝนตกหรือน้ำท่วม ก็คือเรื่องไฟฟ้า
เราเลยรวบรวบคำแนะนำดี ๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
1.กรณีเกิดไฟฟ้ารั่วตอนน้ำท่วมฉับพลัน อันดับแรกให้รีบสับสวิตช์ลง เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้ารั่ว ความเข้มข้นของกระแสไฟฟ้าขึ้นอยู่กับการกระจายของกระแสไฟฟ้า ถ้าใกล้กับจุดที่ไฟฟ้ารั่ว กระแสไฟฟ้าจะเข้มข้นมาก ห่างออกไปก็จางลงไปตามลำดับ การตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่นั้น ห้ามเอาหน้ามือสัมผัส เพราะโดยธรรมชาติของคนเมื่อโดนไฟฟ้าดูดจะกำมือ จึงควรใช้หลังมือสัมผัส แต่จะให้ดีควรใช้อุปกรณ์สำหรับตรวจสอบกระแสไฟฟ้าโดยเฉพาะจะดีที่สุด
2.อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลังโดนน้ำท่วม ก่อนนำมาใช้ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่ยังใช้การได้อยู่หรือไม่ สิ่งแรกต้องทำให้แห้งก่อนที่จะเสียบปลั๊ก หากไม่แน่ใจควรให้ช่างผู้ชำนาญมาตรวจสอบก่อน แต่ถ้าอุปกรณ์เหล่านั้นเกิดความเสียหายมาก ก็ไม่ควรเสี่ยงที่จะนำมาใช้งาน
3.วิธีป้องกันการเกิดไฟฟ้าดูด หากจะเสียบปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ต้องมั่นใจว่าร่างกายแห้งสนิท ไม่เปียกชื้น ควรดูแลรักษาบริเวณเต้ารับให้แห้งอยู่เสมอ หากไม่แน่ใจก่อนเสียบปลั๊กก็ควรสวมรองเท้า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวัง และไม่ประมาท ถ้าบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อไฟฟ้ารั่วหรือมีโอกาสเกิดไฟรั่วได้ง่าย ควรติดตัวเบรกเกอร์ป้องกันไว้ก่อน
-ระหว่างที่เกิดเหตุ บุคคลที่มาช่วยไม่ควรจะไปสัมผัสร่างกายผู้เคราะห์ร้ายโดยตรง ควรหาฉนวน เช่น เชือกแห้ง เสื้อแห้ง ๆ เพื่อดึงหรือผลักออกไป และสิ่งสำคัญควรรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่เหมาะสม โดยปกติผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูดจะหมดสติ กล้ามเนื้อเกร็ง เราต้องปั๊มหัวใจ หรือผายปอด โดยการเป่าปาก
-ชุมชน ควรมีการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้ความรู้ชาวบ้านเกี่ยวกับการช่วยผู้ป่วย ทั้งนี้ คนที่ถูกไฟดูดส่วนใหญ่มีอยู่ 2 กรณีคือ
-หมดสติ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นควรตรวจดูว่ายังมีลมหายใจหรือไม่ โดยการจับชีพจรหรือฟังการหายใจ และควรดูในช่องปากและจมูก ไม่ให้สิ่งใดตกค้างและทำการผายปอดและปั๊มหัวใจ จากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที หากคนไข้ถูกไฟดูดนานกว่า 5 นาที จะมีโอกาสเสียชีวิตสูง
-คนไข้ที่มีสติ อาจมีกล้ามเนื้อภายในสุก ควรตรวจดูบริเวณข้อพับต่าง ๆ หากมีการผิดปกติ พับงอไม่ได้ ต้องไปพบแพทย์ทันที
-ร่างกายคนเสมือนเส้นทางเดินไฟฟ้า มีอานุภาพร้ายแรงเมื่อไฟฟ้าไหลต่อเนื่องอย่างครบวงจร ซึ่งผู้หญิงและคนที่มีรูปร่างอวบมีโอกาสเสี่ยงถูกไฟฟ้าดูดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากปริมาณน้ำในตัวมีมาก และมีความชื้นในตัวสูง ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
-การเสียชีวิตที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า ส่วนใหญ่เกิดจากไฟฟ้าช็อต และไฟฟ้ารั่ว เพราะมีปริมาณกระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าสู่หัวใจเกินค่ามาตรฐาน การช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายจากการถูกไฟฟ้าดูด ห้ามเอามือไปสัมผัสตัวโดยตรง เพราะกระแสไฟฟ้าจะวิ่งเข้าสู่ตัวเราอีกคน ทำให้ทั้งสองคนเสียชีวิตเร็วขึ้น เหมือนเป็นการแบ่งความแรงของไฟฟ้ากันคนละครึ่ง เพราะความต้านทานรวมลดลง กระแสไฟฟ้าจะแบ่งไหล
วิธีการช่วยชีวิตแบบเร็วที่สุดคือการสับสวิตช์เบรกเกอร์ หรือสับตัวต้นทางทิ้งไป โดยปกติทางการแพทย์ศึกษามาแล้วว่าคนที่ถูกไฟฟ้าดูดประมาณ 0.01 – 0.04 วินาที แล้วสับสวิตช์เบรกเกอร์ทันจะปลอดภัย ถ้าเกินกว่านั้นจะทำให้เสียชีวิตทันที แต่ละคนระยะเวลาการเสียชีวิตจะเฉลี่ยกันไป คนอ้วนมีโอกาสเสียชีวิตเร็วกว่าปกติ แต่ถ้าสับเบรกเกอร์ไม่ทัน ก็ให้สวมรองเท้าแล้วนำวัสดุที่เป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้า เช่น ผ้าแห้งกระชากหรือดันตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูดออกไป
-ปัจจุบันมีเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดที่มีคุณสมบัติทนต่อน้ำท่วม โดยจะมีค่ามาตรฐานสากล สังเกตได้จากรหัส IP ที่ด้านข้างเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นตัวเลขสองหลัก หลักแรกบอกการป้องกันการกระแทกจากของแข็ง หลักที่สองบอกการป้องกันของเหลว เช่น น้ำ หากตัวเลขสองหลักมีค่าสูง สามารถป้องกันฝุ่นละอองได้ ตัวอย่างเช่น IP56 สามารถป้องกันของแข็งได้ระดับ 5 และสามารถป้องกันน้ำได้ระดับ 6 ซึ่งเป็นค่ามากที่สุด ทนทานต่อความเค็มของน้ำทะเล
อย่างไรก็ตาม การป้องกันที่ดีที่สุดคือไม่ประมาท เพราะอาจหมายถึงอีกหลายชีวิตที่ต้องเสียไป
ที่มา
https://www.tosh.or.th
http://www.bsa.or.th
ติดตาม GRID by PEA สาระนวัตกรรม เพิ่มเติมได้ที่
Instagram :
https://www.instagram.com/grid_mag/
Facebook :
https://www.facebook.com/gridmagth
Website :
https://www.gridmag.co
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย