Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ข่าวไฮไลท์ญี่ปุ่น
•
ติดตาม
21 พ.ย. 2022 เวลา 13:33 • ข่าวรอบโลก
อินโดนีเซีย เกาะชวาแผ่นดินไหว M5.6 เสียชีวิต 103 คน (เด็ก 40 คน) บาดเจ็บกว่า 390 คน สูญหาย 25 คน ตึกรามบ้านช่องพังเสียหาย (ฉบับพิเศษ)
Image Credits:youtu.be/82an9cV7N_o
เมื่อเวลาประมาณ 13.20 น. (เวลาประเทศไทย) ของ
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565(จันทร์) สำนักงาน-อุตุนิยมวิทยาและธรณีวิทยาของประเทศอินโดนีเซียรายงานว่า ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดแม็กนิจูด 5.6
ที่รัฐชวาตะวันตก (West Java) ภาคตะวันตกของประเทศอินโดนีเซีย
Image Credits: BBC NEWS
สถาบันสำรวจธรณีวิทยา (US Geological Survey) ของประเทศสหรัฐอเมริกาก็ระบุว่า มีแรงสั่นสะเทือน
ขนาดแม็กนิจูด 5.6 ศูนย์กลางของแผ่นดินไหว อยู่ห่าง
จากใจกลางกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย ไปทางใต้ประมาณ 80 กิโลเมตร ที่
เขตเชียนเจอร์ (Cianjur town)ในรัฐชวาตะวันตก (West Java) ประมาณ 10 กิโลเมตร ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวมีความลึกประมาณ 10 กิโลเมตร (6 ไมล์) ทั้งนี้ ไม่มีการเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิ
แผ่นดินไหวในครั้งนี้ สั่นสะเทือนไปถึงตึกสูงๆ ใน
กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งอยูติดกับ
รัฐชวาตะวันตกด้วย
ช่วงเหตุการณ์แผ่นดินไหว ผู้คนตระหนกแตกตื่น
พากันอพยพออกไปนอกอาคาร เกิดความโกลาหลอลหม่านขี้นชั่วคราว
Image Credits: Reuters อาคารโรงเรียนที่พังเสียหายในเขตเชียนเจอร์ (Cianjur town)ในรัฐชวาตะวันตก
ภายหลังเกิดเหตุ มีอาคารก่อสร้างพังลงมาหลายสิบหลัง อาทิ บ้านเรือน โรงเรียน โรงพยาบาลได้รับความเสียหายด้วย รวมแล้วมากกว่า 2,200 หลัง มีผู้ที่รอความช่วยเหลือใต้อาคารที่พังลืมครืนลงมาด้วย
จึงคาดว่า น่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก
Image Credits: Reuters ห้องเรียนได้รับความเสียหายในเขตเชียนเจอร์ (Cianjur town)ในรัฐชวาตะวันตก
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ไม่มีเตือนภัย
สึนามิ หลังเกิดเหตุ หน่วยกู้ภัยได้พยายาม
เข้าช่วยเหลือผู้รอดชีวิตที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพัง
โดยใช้รถตักค้นหาผู้รอดชีวิตด้วย ขณะเกิดอาฟเตอร์ช็อก
เจ้าหน้าที่เตือนให้ระมัดระวังอาฟเตอร์ช็อกหลังเกิดแผ่นดินไหว และพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น หรือ
มีตึกรามบ้านช่องพังทลายลงมา บางที่กลายเป็น
ซากปรักหักพัง บางที่มีดินถล่ม อาจมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น
ข้อมูล ณ ปัจจุบัน องค์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติของอินโดนีเซียระบุว่า
แผ่นดินไหวในครั้งนี้ มีสิ่งปลูกสร้างมากกว่า 2,200 หลัง ได้รับความเสียหาย มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 390 คน สูญหาย 25 คน ผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 103 คน ภายในจำนวนผู้เสียชีวิตนี้ เป็นเด็กนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะระดับประถมและมัธยมต้นที่ตกเป็นเหยื่อถึง 40 คน อันเกิดจากอาคารของโรงเรียนพังทลายลงมาทับเด็กจำนวนมาก
ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับมืออุบัติภัย ตึกวิจัยท้องถิ่นอินโดนีเซียชี้ว่า “กรณีการก่อสร้างตึกสูงระฟ้าใน
เขตเมืองใหญ่เช่นกรุงจาการ์ตา จะมีโครงสร้าง
การประกอบและเหล็กที่มีการคำนวณเรื่องการทนต่อ
แรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวเรียบร้อยดี แต่ใน
ส่วนภูมิภาคส่วนใหญ่จะใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนักของหลังคา ทนแรงสั่นสะเทือนได้ค่อนข้างน้อย
เมื่อเกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่อง ทำให้ทานน้ำหนักของ
หลังคาไม่ได้ แล้วผนังมักจะเกิดการพังทลายลงมา”
เนื่องจากอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
"วงแหวนแห่งไฟ (ring of fire)" ของการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิด
แผ่นดินไหวและสึนามิรุนแรงบ่อยครั้ง
จากประสบการณ์ที่อินโดนีเซียต้องประสบพบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิเรื่อยมามากขึ้น
ทำให้หน่วยงานภาครัฐของอินโดนีเซียมีมาตรการ
การรองมือที่รวดเร็วมากขึ้น
ซึ่งในอดีตก็เคยมีคลื่นน้ำสึนามิ (Tsunami) ที่เกิดขึ้นที่
หมู่เกาะสุมาตรารุนแรง จนกระทบจนถึงทางภาคใต้ของไทย 6 จังหวัดทางฝั่งทะเลอันดามัน แถบจังหวัดภูเก็ต ระนอง กระบี่ พังงา ตรัง และสตูล ผู้เสียชีวิตประมาณ 5,400 คน บาดเจ็บกว่า 8,000 คน และสูญหายอีกจำนวนมากมาแล้ว ดังที่ทราบกัน
ครั้งนั้น เป็นแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่เกิดใต้ทะเล ในมหาสมุทรอินเดียเมื่อเวลา 07.58 น. ตามเวลาในประเทศไทย ของวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.พ.ศ. 2547 (2004 Indian Ocean earthquake and tsunami)
เมื่อ 18 ปีที่แล้ว มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียห่างจากจังหวัดภูเก็ต ประมาณ 580 กิโลเมตร ขนาดความรุนแรง 8.9 ริกเตอร์ แล้วหลังจากนั้น ก็มักจะได้ยินข่าวแผ่นดินไหวและสึนามิเรื่อยมา มีทั้งที่สร้างความเสียหายแก่ผู้คนและทรัพย์สินจำนวนมากด้วย
อันเป็นที่มาของการสร้าง “พิพิธภัณฑ์สึนามิ” ที่เพิ่งเสร็จสมบูรณ์ เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งธรณี
พิบัติภัย สึนามิ ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
เพื่อเป็นสถานที่ที่รำลึกเหตุการณ์ พิบัติภัยแผ่นดินไหว
ครั้งนั้น
เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้คนไทยเริ่มรู้จักคำว่า “สึนามิ” มากขึ้น และตระหนักถึงมหันตภัยธรรมชาติที่ต้องพึงระวังและเตรียมพร้อมอยู่เสมอ จากประสบการณ์ที่ไทยเคยเผชิญกับความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในช่วงคริสมาสคราวนั้น ที่ไม่มีใครคาดฝันว่าจะเกิดขึ้นกับไทยเรามาก่อน
กรณีเกิดแผ่นดินไหว สิ่งที่น่ากังวล คือ จะเกิดสึนามิหรือไม่ จึงควรติดตามรับฟังข่าวสารของทางการอย่างใกล้ชิด และฟังสัญญาณเตือนสึนามิ ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้รู้ ควรหลีกเลี่ยงให้ห่างจากชายฝั่งและตั้งสติ อพยพหลบไปอยู่ในที่สูงหรือบนเขา เพื่อป้องกัน
คลื่นยักษ์สึนามิที่อาจถาโถมเข้ามาอย่างกระทันหัน
จนกลืนเอาชีวิตคนและทรัพย์สินตลอดทั้งเมืองได้
ข้อมูลอ้างอิง:
-
www.bbc.com
-
www.reuters.com/world/
-
youtu.be/82an9cV7N_o
-
www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_43257
ข่าว
สึนามิ
ข่าวรอบโลก
1 บันทึก
1
4
1
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย