Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาจวรงค์ จันทมาศ
•
ติดตาม
22 พ.ย. 2022 เวลา 01:33 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อธิบายเรื่อง Superposition
ในทฤษฎีควอนตัม
นักฟิสิกส์พบว่า อนุภาคต่างๆอย่างอิเล็กตรอนนั้นมีคุณสมบัติเชิงคลื่นอยู่ สังเกตได้จากการทดลองมากมายหลายอย่าง ทั้งการทดลองด้วยช่องเปิดคู่ , ปรากฏการณ์ลอดอุโมงค์ ฯลฯ แน่นอนว่าคลื่นที่เรารู้จักกันดีนั้นสามารถเคลื่อนขบวนซ้อนทับกันได้เป็นปกติ แนวคิดเรื่อง Quantum superposition จึงเป็นการอธิบายการซ้อนทับของสถานะเชิงควอนตัม ในลักษณะเดียวกับคลื่น
ก่อนการวัดตำแหน่งของอิเล็กตรอนในอะตอม ทฤษฎีควอนตัมมองว่าอิเล็กตรอนแสดงคุณสมบัติของคลื่นที่กระจายอยู่รอบๆอะตอม ดังนั้นเราจึงไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหนกันแน่ แต่รู้ได้เพียงว่ามันมีโอกาสอยู่ตรงไหนมากที่สุด ดังนั้น สถานะตำแหน่งของมันก่อนการวัดจึงซ้อนทับกันอยู่
Quantum superposition ทำให้นักฟิสิกส์ในยุคนั้นกระอักกระอ่วน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการซ้อนกันของสถานะทางควอนตัมเป็นแนวคิดที่ใหม่ แปลกประหลาดและแตกต่างไปจากฟิสกส์คลาสสิก ถึงขั้นที่ชโรดิงเจอร์สร้างการทดลองทางความคิดที่เรียกว่า แมวของโรดิงเจอร์ เพื่อโจมตีว่า สถานะเป็นหรือตายก็ซ้อนทับกันได้งั้นหรือ
แต่ทุกวันนี้ นักฟิสิกส์ยอมรับมัน และการซ้อนทับทางควอนตัมเป็นคุณสมับติสำคัญที่นำไปสู่ความเป็นไปได้ในการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ เพราะแทนที่ข้อมูลจะมีแค่ 0 กับ 1 ยังสามารถเขียนในรูปสถานะก้ำๆกึ่งๆระหว่าง 0 กับ 1 ได้ด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือ
กำเนิดทฤษฎีควอนตัม : ฟิสิกส์เหนือสามัญสำนึก
ราคา 320 สั่งได้ทาง line (มีคูปองลดราคา)
https://shop.line.me/@543yeebf/product/1003292790
Lazada
https://www.lazada.co.th/products/new-0-i4260814154-s16873961479.html?spm=a2o4m.10453683.0.0.84d35f38tS3m5M&search=store&mp=3
shopee
https://shopee.co.th/product/86566545/20862624449
15 บันทึก
22
3
15
22
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย