รู้หรือไม่ว่าสมองสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ตลอดชีวิต ✅✅
สวัสดีค่ะ วันนี้จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกันว่าทำไมเราถึงจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนการใช้งานของสมองอยู่ตลอดเวลา นั่นเป็นเพราะว่าสมองของเรามีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงฟื้นฟูตัวเองได้ตลอดชีวิต ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า นิวโรพลาสติกซิตี้ (neuroplasticity)
โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่าสมองสามารถปรับโครงสร้างเพื่อฟื้นฟูตัวเองได้หลังจากเสื่อมหรือบาดเจ็บ ซึ่งสมองจะเกิดกระบวนการนี้ได้เมื่อได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม
เมื่อสมองของเราได้รับการกระตุ้นพบว่าสมองและระบบประสาทจะเกิดการเปลี่ยนแปลง 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างของสมอง (Structural neuroplasticity)
เมื่อเซลล์สมองเกิดการทำงานมากขึ้น ก็จะกระตุ้นให้เซลล์สมองปรับตัวเพื่อเพิ่มจำนวนตัวรับสารสื่อประสาท ทำให้เซลล์ประสาทมีการเชื่อมต่อและส่งกระแสประสาทระหว่างเซลล์สมองกันมากขึ้น เมื่อสัญญาณประสาทเชื่อมต่อกันได้ดีขึ้น การส่งข้อมูลของสมอง การสั่งการต่างๆจึงดีตามขึ้นด้วย และเมื่อฉายรังสีจะพบว่าความหนาแน่นของสมองทั้งส่วนของ gray and white mater ซึ่งเป็นที่อยู่ตัวเซลล์และแขนงของเซลล์ประสาทจะมากขึ้นด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่าสมองมีการปรับตัวและฟื้นฟูตัวเอง
2. การเปลี่ยนแปลงด้านการทำงานของสมอง (Functional neuroplasticity)
ซึ่งจากการที่สมองได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างมีการส่งต่อข้อมูลกันได้ดีขึ้นแล้วนั้น เมื่อมาประเมินสมรรถภาพของสมอง พบว่าความสามารถของสมองดีขึ้นโดยภาพรวม ซึ่งเห็นผลชัดเจน 2 ด้านที่สำคัญก็คือ การเรียนรู้ (learning) และความจำ (memory) ค่อนข้างที่จะพัฒนาได้ดีกว่าด้านอื่นๆ
กิจกรรมอะไรบ้างที่ทำแล้วจะช่วยกระตุ้นพัฒนาสมองได้ เช่น
- การเคลื่อนไหวออกกำลังกาย
- การพูดคุยพบปะ หรือการทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นๆ
- การฝึกใช้งานแขนข้างที่ไม่ถนัด
- การลองทำกิจกรรมใหม่ๆ
- การนั่งสมาธิ พักผ่อนเพียงพอ
- การร้องเพลงคาราโอเกะ เป็นต้น
นี่ก็เป็นตัวอย่างกิจกรรมเล็กๆน้อยๆที่ช่วยกระตุ้นให้สมองของเราเกิดการทำงานและเรียนรู้ได้อยู่ตลอดเวลา
ถ้ามองในเรื่องของ neuroplasticity พบว่าในระดับเซลล์สมองมีการกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง เชื่อมต่อกันจากเซลล์เดี่ยวหรือขยายจนเป็นร่างแหประสาทที่กว้างขึ้น
การทำงานของกระบวนการ neuroplasticity เสมือนว่าเซลล์หนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสมองเสียหายสมองจะสามารถสร้าง by pass ให้เกิดการส่งสัญญาณเชื่อมต่อการทำงานขึ้นมาใหม่ได้และสมองก็จะค่อยๆฟื้นตัวกลับมาใช้งานได้
อย่างไรก็ตามแม้ว่าสมองของเรามีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองตลอดเวลาผ่านการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว แต่ก็จะเริ่มทำได้ช้าลงเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน (middle age )
ดังนั้น การกระตุ้นสมองที่ดี คือ การที่เราทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ลองทำกิจกรรมใหม่ๆที่ไม่เคยทำ ก็เป็นการช่วยเพิ่มสมรรถภาพของสมองและช่วยชะลอภาวะเสื่อมต่างๆไปด้วยในตัว รวมทั้งในคนที่เป็นสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ หรือมีโรคอื่นๆทางสมอง หากได้รับการบำบัด กระตุ้นหรือฟื้นฟูสมองที่เหมาะสมก็จะช่วยให้สมองมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น การทำงานของสมองดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
ติดตามความรู้และเทคนิคทางกายภาพบำบัดง่ายๆสามารถทำเองได้ที่บ้าน ⬇️⬇️
ฝากกดไลค์ 👍🏻กดติดตาม ✅ กดกระดิ่ง 🛎 เพื่อเป็นกำลังใจในการทำคลิปทางกายภาพบำบัดอื่นๆด้วยน้าาา ตามลิงค์ข้างล่างได้เลยค่าาาา ⬇️⬇️
#การดูแลผู้สูงอายุ #ผู้สูงอายุ #หลงลืม #ขี้ลืม #ลืม #สมอง #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดสูงอายุ #กายภาพบำบัดที่บ้าน #อ่อนแรง #อัมพฤต #อัมพาต #สมองเสื่อม #อัลไซเมอร์ #เมื่อยทัก #meuytak
โฆษณา