22 พ.ย. 2022 เวลา 07:43 • สุขภาพ
ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ถ้าเป็นฤดูนี้เราจะนึกถึงลมเย็นๆ แดดจร้าๆ ต้นไม้เยอะๆ หายใจคล่องๆ อากาศโล่งๆ ทำให้เราคิดถึงที่หนึ่งได้ จริงๆ 2 ที่ด้วยแหละ ที่แรกที่จะเล่าถึงในครั้งนี้ ส่วนอีกทีน่าจะเป็นโอกาสต่อไป ที่แรกที่นึกถึงเป็นอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล ส่วนที่ที่สองเป็นสวนป่าเบญจกิติ
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล เป็นอุทยานธรรมชาติเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีพื้นที่ทั้งหมด 140 ไร่ กว้างใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวบรวมพันธุ์สมุนไพรที่ปรากฏในตํารายาไว้มากที่สุดประมาณ 800 ชนิด ได้จัดสร้างขึ้นภายใต้แนวคิด “การออกแบบเพื่อมวลชน” (Universal Design) โดยเป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อม สถานที่ และสิ่งของเครื่องใช้ ที่อํานวย ความสะดวก ให้แก่ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ที่ด้อยสมรรถภาพด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้ชมทุกกลุ่มได้เยี่ยมชมอย่างเท่าเทียม ภายใต้การดำเนินงานของคณะเภสัชศาสตร์
มีพัฒนาการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2525 จาก “สวนสมุนไพร” ซึ่งเริ่มต้นจากความดิดของศาสตราจารย์ ดร. ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดี และ ศาสตราจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์
โดยอุทยานฯ นี้ จะแบ่งเป็น 7 ลาน 7 อาคารด้วยกันค่ะ คือ
-อาคารใบไม้สามใบ มีการจัดแสดงนิทรรศการถาวรให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรต่างๆ
-ลานนานาสมุนไพร เป็นโซนที่จะให้เรียนรู้เรื่องของสมุนไพรด้านอาหาร เครื่องใช้ และยารักษาโรค
-บ้านหมอยา อาคารที่จะให้บริการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนไทย
-สวนสมุนไพร สถานที่ที่รวบรวมสมุนไพรหลากหลายชนิดเอาไว้ด้วยกัน
-หอดูนก พื้นที่ชุ่มน้ำเหนือ และชุ่มน้ำใต้
-ลานไม้เลื้อย แปลงสมุนไพรที่ปลูกสมุนไพรจำพวกกลุ่มไม้เลื้อยโดยเฉพาะ
-ลานสมุนไพรวงศ์ขิง ส่วนที่รวบรวมพืชวงศ์ขิงเอาไว้
-อาคารใบไม้ใบเดียว ห้องปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ที่ด้อยสมรรถภาพด้านต่างๆ
-ลานสมุนไพรเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ ลานสมุนไพรที่รวบรวมสมุนไพรหลากหลายมาไว้ให้ชมแบบง่ายๆ
-ศาลาหมอชีวกโกมารภัจน์
-ลานสมุนไพรเพื่อสุขภาพ สถานที่รวบรวมสมุนไพรที่ช่วยดูแลสุขภาพและสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
-อาคารสัมมนา
-อาคารวิจัยและพิพิธภัณฑ์พืช
ในส่วนตัวเราชอบน่ะ จ่ายค่าตั๋วแล้วด้วยระบบออลไลน์ ไม่รับเงินสด ส่วนค่าตั๋วโหดนิดหนึ่ง ไม่มีตั๋ว แต่มีติดสติกเกอร์แทน สามารถค่อยๆเดินชมได้ทั้งวัน แต่ขอฝากไว้ก่อนเข้าไปควรทานอาหารไปก่อน หรือจะซื้อพวกพวกเครื่องดื่ม และอาหารกล่องเข้าไปทานก่อนได้ นิดหนึ่งอยากฝากเรื่องขยะเอาไว้ เพราะที่นั่นมีที่นั่งหลายจุด ตามร่มไม้ก็เย็นอยู่ ส่วนการแต่งกายเน้นการถ่ายเทอากาศได้ดี และเน้นมีแขน เพราะแดดค่อนข้างจัด ติดร่ม หมวกไปด้วยยิ่งดี ส่วนห้องน้ำควรเข้าตั้งแต่ต้นทาง เนื่องด้วยข้างในมีปรับปรุงอยู่หลายจุด
รูปประกอบจะเน้นที่สวนเป็นหลัก นอกนั้นก็จะมีวิทยาลัยดนตรี หอประชุม และสะพานดาว แอบคิดว่าทางขึ้นสะพานดาวเนียะค่อนข้างหาทางขึ้นยาก (ตามรอยฉากใน seson change) พอดีเราค่อยเดินลัดเลาะออกอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เราก็ขอเก็บเกี่ยวรูปภาพสวยไปด้วย เพราะคิดว่าน่าจะไปแค่ครั้งนี้ครั้งเดียว
จริงๆเราอยากเข้าไปชมตั้งแต่ช่วงโควิท แต่ช่วงนั้นโทรเข้าไปทางนั้นแจ้งว่าเปิดให้ชมเพียงแค่หมู่คณะเท่านั้น ลืมบอกไปถ้าจองเป็นหมู่คณะจะมีผู้นำเที่ยวด้วย ช่วงขากลับเห็นโดยบังเอิญ
ด้านหน้า
ทางเข้า
หอดูนก
ป้ายบอกทางต่างๆ
หมอชีวกโกมารภัจจ์อยู่ด้านหลังอัฒจรรย์หญ้า
อัฒจรรย์หญ้า
ลาน “สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
บริเวณบึงน้ำ
ดอกบัว
ต้นไม้ต่างๆ
หอประชุมที่อยู่ติดกัน
วิทยาลัยดนตรีที่ติดกับหอประชุม
และจบทริปด้วยสะพานดาว
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ : 02-441-5272-4
โทรสาร : 02-441-5264
เว็บไซต์ : http://www.sireepark.mahidol.ac.th
อีเมล : sireepark@mahidol.ac.th
วันและเวลาทำการ
วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.
ปิดให้บริการวันจันทร์-อังคาร
ค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่: 100 บาท
นักเรียน/นักศึกษา: 50 บาท
ชาวต่างชาติ: 250 บาท
นักศึกษาและบุคลากร ม.มหิดล: ฟรี
เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี: ฟรี
อ้างอิง
โฆษณา