22 พ.ย. 2022 เวลา 21:15 • ประวัติศาสตร์
ยุโรปในสายพระเนตร และพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ที่มีคนไทยน้อยคนได้อ่าน
~~~
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ได้เสด็จเถลิงถวัลย
ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 ในพระบรมราชจักรีวงศ์
... "ก่อนที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธจะทรงเสร็จสิ้นการศึกษาจากออกฟอร์ดโดยมิได้ทรงสอบไล่เพื่อรับปริญญาอันเป็นไปตามประเพณีของพระราชวงศ์อังกฤษ พระองค์ได้พระราชนิพนธ์หนังสือเรื่อง The War of the Polish Succession[14] ตามคำกราบบังคมทูลขอจาก ฟรานซิส พาเจต์ (Francis Parget)[15] คณบดีของวิทยาลัย
พระราชนิพนธ์เรื่องสงครามสืบราชสมบัติโปลันด์นับได้ว่าเป็นงานเขียนวิชาการเรื่องแรก ๆ ของไทย ที่มีการอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ การศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพระบรมราโชบายในการปกครองประเทศเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ"....
..." ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศออสเตรีย – ฮังการีระหว่างวันที่ 25 เมษายน ถึงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2445 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารทรงพระราชนิพนธ์บันทึกรายวันในรูปแบบจดหมาย เพื่อบอกเล่าเกี่ยวกับพระราชกิจที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติและสิ่งต่าง ๆ ที่ทรงพบ
เช่น การเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์โจเซฟที่ 1 (Franz Joseph I) ซึ่งได้เสด็จมาต้อนรับพระองค์ถึงสถานีรถไฟเวสต์บานโฮฟ (Westbahnhof) ที่กรุงเวียนนา (Vienna) และนำพระองค์เสด็จสู่สถานที่ประทับ คือ พระราชวังโฮฟบวร์ก (Hofburg) ด้วยพระองค์เอง[30] ทั้งยังทรงจัดงานเลี้ยงรับรองให้อย่างเป็นทางการ
ขณะทรงอยู่ในงานเลี้ยงรับรอง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารทรงพบเจอผู้คนมากมายที่ไม่เคยทรงรู้จักมาก่อน
ในพระราชนิพนธ์ The Letter of Butterflies สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารทรงบันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงสนทนากับนายจูเลียส เซเซนยี่ รัฐมนตรีฮังการีประจำพระจักรพรรดิ เพราะจะเสด็จพระราชดำเนินเยือนฮังการีเป็นดินแดนต่อไป เรื่องนี้ทำให้นายจูเลียสแปลกใจและดีใจเป็นอย่างมากที่มกุฎราชกุมารแห่งสยามทรงรู้จักและติดตามสถานการณ์การเมืองของฮังการี เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักแต่ประเทศออสเตรีย แต่ไม่รู้จักฮังการีที่เป็นรัฐหนึ่งในจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการี[31]"....
...." ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.2445 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนจักรวรรดิเยอรมนี เพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 (Wilhelm II of Germany)
ในระหว่างที่เสด็จเยือนเยอรมนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารทรงจดบันทึกพระกรณียกิจในแต่ละวันเป็นลายพระหัตถ์พระราชทานแก่พี่น้องตระกูลพอตเตอร์ ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองเชสต์นัต ฮิลล์ (Chestnut Hill) รัฐฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia) ประเทศสหรัฐอเมริกา พระราชหัตถเลขาเหล่านี้รวมขึ้นเป็นหนังสือชื่อ The Germany Series (ภายหลังมีผู้แปลเป็นภาษาไทยชื่อว่า จดหมายจากเยอรมนี) โดยพระองค์ทรงใช้พระนามแฝงว่า “Calton H. Terris”
พระราชนิพนธ์บันทึกเรื่องราวในแต่ละวันที่พระองค์ทรงประสบตั้งแต่ออกเดินทางจากประเทศฝรั่งเศส ทั้งการเสด็จไปงานเลี้ยงรับรอง การเสด็จไปทอดพระเนตรการฝึกทหาร รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งพระราชทัศนะต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ทรงพบเห็น
พระราชนิพนธ์ The German Series สะท้อนให้เห็นพระราชดำริ พระราชทัศนะตลอดจนพระราชนิยมส่วนพระองค์ ทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรมและการเมืองการปกครอง รวมไปถึงความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมของเยอรมนี ซึ่งในเวลานั้นนับว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าในระดับต้น ๆ ของโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กกล้า ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกมารได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมโรงงานถลุงเหล็กกล้าที่เมืองบาเด็น (Baden) ด้วย[38] "
กรุณากดอ่านต่อค่ะ
โฆษณา