23 ธ.ค. 2022 เวลา 02:00 • สิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันสภาพอากาศโลกกำลังเปลี่ยนแปลงส่งผลให้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีสภาพอากาศแปรปรวนและรุนแรงมากขึ้น เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนผลจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายๆประเทศต่างให้ความสำคัญและมีการร่วมกันตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อหยุดยั้งภัยอันตรายของมวลมนุษยชาติ
♻เราจะพาไปรู้จัก “Carbon neutrality” และ “net zero emissions” คืออะไรแล้วต่างกันอย่างไร?
 
➡️"Carbon neutrality" หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดกลับคืนมา โดยผ่าน 3 กลไก คือ 1. “ลด” การปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2. “ดูดกลับ” ก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ 3. “ชดเชย” การปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต
➡️"Net zero emissions" หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คือ ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์มีภาวะสมดุลกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก กล่าวคือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ตัดกลไกการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตออกไปนั้นเอง
จากที่ได้กล่าวมา หลายองค์กรในประเทศไทยได้ลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ มาใช้ภายในองค์กร อย่างเช่น
👉บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียน (RE 100) ในสัดส่วน 100% ภายในปี 2025 และกำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2035
👉การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีนโยบายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (EGAT Carbon Neutrality) ภายในปี 2050
👉โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ตอบรับนโยบายการลดการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ รวมถึงตั้งเป้าหมายปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไฟฟ้าที่ผลิตในแต่ละปีต้องไม่เกิน 0.850 tCO2 eq/MWh
Cr. pier/onep
#Carbonneutrality #Netzeroemissions #สิ่งแวดล้อม #สังคม #บรรษัทภิบาล #รักษ์โลก
โฆษณา