Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
I
IM_TH
•
ติดตาม
24 พ.ย. 2022 เวลา 09:16 • หนังสือ
วิธีการทำแฟ้มผลงานให้น่าสนใจ
แฟ้มผลงาน (portfolio) คือ สิ่งที่เก็บรวบรวมตัวอย่าง ( Samples ) หรือ หลักฐาน ( Evideness ) ที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ความพยายาม ความถนัดของบุคคลหรือ ประเด็นที่ต้องจัดทำแฟ้มสะสมงานไว้อย่างเป็นระบบ
https://www.teachernu.com
ขั้นตอนในการทำแฟ้มผลงาน
1. รวบรวมผลงาน
ผลงานในที่นี้เป็นชิ้นงานหรือผลงานที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถของเจ้าของผลงาน เช่น ภาพวาด สิ่งประดิษฐ์ วีดิทัศน์โครงงานวิชาการ งานอดิเรก โดยชิ้นงานเหล่านี้อาจเคยนำไปประกวดหรือส่งอาจารย์ในชั้นเรียนการนำผลงานไปใส่แฟ้มผลงาน อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนผลงานให้สามารถนำเสนอในรูปแบบภาพได้ ซึ่งบางชิ้นงานอาจทำได้ยาก เช่น งานแต่ง เพลงหรือร้องเพลง ก็อาจนำภาพที่เกี่ยวข้องมาประกอบได้ เช่น โน้ตเพลงบนบรรทัด 5 เส้น หรือ ภาพถ่ายขณะร้องเพลง
2. จัดหมวดหมู่
การจัดหมวดหมู่ สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น จัดผลงานเป็นกลุ่มของการเรียนกีฬา ดนตรี และคุณธรรมจริยธรรม หรืออาจจะจัดเป็นกลุ่มวิชาการ งานอดิเรก ศิลปะและวัฒนธรรมโดยแต่ละหมวดหมูไม่ควรมีเรื่องที่ซ้ำกัน เช่น หากงานอดิเรกเป็นการวาดภาพ ก็ไม่ควรที่จะแยกศิลปะออกจากงานอดิเรก การเลือกหมวดหมู่ที่ดีต้องสามารถนำเสนอตัวตนของเจ้าของผลงานในส่วนที่สำคัญได้
3. คัดเลือกผลงาน
ผู้นำเสนอควรที่จะคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดไม่เกิน 3 ชิ้น ต่อหนึ่งหมวดหมู่ หากในหมวดหมู่นั้นมีผลงานมาก อาจทำเป็นภาพเล็กรวบรวมงานที่เหลือในหน้าเสริมของแฟ้มผลงาน
4. จัดลำดับความน่าสนใจของผลงานและประเมินตนเอง
หลังจากคัดเลือกผลงาน จะเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่าเรามีผลงานเด่นในด้านใด หรือยังขาดผลงานในด้านใด ขั้นตอนนี้อาจจัดลำดับความน่าสนใจของแต่ละหมวดหมู่จากผลงานที่มี ซึ่งจะทำให้เข้าใจตัวตนของเรามากขึ้น และประเมินได้ว่าเราควรยื่นแฟ้มผลงานเพื่อเข้าศึกษาในสาขาใดหรือทำงานในหน่วยงานใด
5. ลำดับและร้อยเรียงเรื่องราวให้น่าสนใจ
ในการลำดับเรื่องราวเพื่อเลือกผลงานเข้าแฟ้ม ควรคำนึงว่า ผู้ที่ประเมินต้องการเห็นอะไรในแฟ้มผลงาน เช่น หากต้องการเข้าเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ควรนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องไว้ในส่วนแรก เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเข้าเรียนสาขาที่ต้องการ แล้วอาจตามด้วยประกาศนียบัตรชนะเลิศการขับเสภาระดับประเทศ ซึ่งเป็นความสามารถในด้านอื่น เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการทำสิ่งอื่นที่สนใจให้สำเร็จในระดับสูง
8. ความสามารถพิเศษต่างๆ
ควรโชว์ในความสามารถพิเศษที่คนทั่วไปมีอยู่เป็นส่วนน้อยที่สามารถทำได้ หรือเป็นความสามารถพิเศษที่สามารถสอดคล้องกับคณะ ที่เราต้องการศึกษาต่อ หรือถ้าไม่มี ก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไปค่ะ เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือ กีฬา ฯลฯ
ในแต่ละหัวข้อถ้าหากมีการแสดงรูปถ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยจะดีมากๆค่ะ ขอให้แฟ้มสะสมผลงานของน้องๆ ออกมาน่ารักกันทุกคนนะคะ
https://www.mornornews.com
Portfolio ที่ดี ควรมีอะไรบ้าง?
1. หน้าปก
ความประทับใจแรก เป็นสิ่งที่สร้าง “แต้มต่อ” ให้กับตัวเราเป็นอย่างมากในรอบการสัมภาษณ์ หน้าปกถือเป็นหน้าตาด่านแรกของเรา หากใครที่ไม่ค่อยมีไอเดียบรรเจิด ก็อย่าคิดมาก เน้นทำแบบสะอาด ๆ มีระเบียบก็น่าสนใจไม่น้อย และควรเลือกแฟ้มที่สามารถเปลี่ยนแผ่นหน้าปกได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และแฟ้มที่ใช้ต้องมีคุณภาพ ไม่ทำให้ตัวหนังสือหลุดลอก
https://www.smartmathpro.com/portfolio-for-university/
2. ประวัติส่วนตัว
ในส่วนนี้จะเป็นหน้าที่จะบอกถึงตัวตนของเราได้เป็นอย่างดี สามารถใส่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราได้เต็มที่ ถ้าให้ดีแนะนำให้ทำเป็น 2 ภาษาไปด้วยเลย จะสามารถทำให้แฟ้มของเราดูน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเนื้อหาที่ใส่ไปก็แนะนำตัวไปเลย ชื่อ นามสกุล วันเกิด นิสัย ความชอบ รวมถึงแนวคิด และความคาดหวังในอนาคตของเรา ซึ่งจากหน้านี้แหละกรรมการจะรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร
https://www.smartmathpro.com/portfolio-for-university/
3. ประวัติทางการศึกษา
ส่วนนี้จะแสดงศักยภาพในการเรียนของเรา โดยให้เขียนเรียงลำดับจากการศึกษาที่น้อยสุดมาจบที่ปัจจุบัน และอาจจะบอกไปด้วยก็ได้ว่า แต่ละระดับที่เราเรียนมานั้นได้เกรดเฉลี่ยรวมเท่าไหร่ แต่หากใครที่ไม่มั่นใจเว้นไว้ก็ไม่เป็นไร รายชื่อโรงเรียนก็เขียนให้ครบ ไม่ควรที่จะย่อ
https://www.smartmathpro.com/portfolio-for-university/
4. รางวัลและผลงานที่ได้รับ
สามารถเขียนเป็นลักษณะการเรียงลำดับ โดยกำหนดเป็นปี พ.ศ. ก็จะน่าสนใจไม่น้อย เช่น พ.ศ.2563 เรามีกิจกรรมอะไรบ้างที่เข้าร่วม หรือได้รับรางวัลอะไรมาบ้าง หากกิจกรรมที่เราเข้าร่วม มีรูปประกอบด้วยจะเพิ่มความน่าสนใจได้มากขึ้นไม่น้อย
https://www.smartmathpro.com/portfolio-for-university/
5. ผลงานที่ประทับใจ
ผลงานที่เราภาคภูมิใจ และประทับใจ อยากที่จะนำเสนอ โดยลักษณะการจัดการเขียนก็คล้าย ๆ กับส่วนรางวัลและผลงานที่ได้รับ แต่สิ่งที่ควรเพิ่มเติมคือการบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบว่า ผลงานนี้เราภูมิใจอย่างไร เหนื่อยยากลำบากแค่ไหนกว่าจะได้มา ที่สำคัญอย่าลืมใส่รูปประกอบไปด้วย
https://www.smartmathpro.com/portfolio-for-university/
6. กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน
ใครที่เคยเป็นถึงประธานนักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ประธานชมรม ก็สามารถมานำเสนอในส่วนนี้ได้ ซึ่งลักษณะการนำเสนอก็บอกไปเลยว่า เราทำกิจกรรมอะไรบ้างในแต่ละระดับชั้น หรืออาจจะรวบถึงการทำงานพิเศษ งานพาร์ทไทม์ก็ได้ ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยการประมวลภาพกิจกรรมที่เราเคยทำ หากมีเยอะย่อมเป็นข้อได้เปรียบแน่นอน
7. ผลงานตัวอย่าง
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่มีความสามารถด้านการเขียนหนังสือ บทความ ผลงานด้านหัตถกรรม หรือจะเป็นงานกราฟฟิกดีไซน์ ก็มาสามารถนำมาใส่ตรงส่วนนี้ได้ รูปแบบการใส่ขอให้มาเป็นรูปภาพ ไม่ควรมาเป็นชิ้นงาน เพราะจะดูรกรุงรังไม่เป็นมืออาชีพ
8. ความสามารถพิเศษด้านต่าง ๆ
ในส่วนนี้จะมีไว้สำหรับโชว์ความสามารถพิเศษของเรา อาจจะเป็นความสามารถที่สอดคล้องกับคณะที่เราต้องการศึกษาต่อก็ได้ หรือถ้าไม่มี ก็เป็นความสามารถพิเศษทั่ว ๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือกีฬา ฯลฯ
และนี้คือเทคนิคให้การทำ Portfolio ยังไงให้น่าสนใจ ถูกต้อง และเตะตากรรมการ หวังว่าทุกคนที่ชอบและนำความรู้ที่ได้จากเราไปพัฒนาต่อยอดต่อไปเรื่อยๆ ถ้าทุกคนมีความคิดเห็นอะไร หรือ ข้อสงสัยอะไร ก็แสดงความคิดเห็นมาได้นะคะ….
https://www.triam-ent.com/portfolio-10-page/
#บล็อกนี้เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์#
แอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย