24 พ.ย. 2022 เวลา 11:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 (Conference of the Parties of the UNFCCC หรือ COP27) ณ เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์ พร้อมกล่าวสุนทรพจน์อันซาบซึ้งว่าประเทศไทยพร้อมจะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมบนโลกเคียงข้างนานาประเทศ
แต่ถ้ามองดูรอบตัวแล้วพิจารณาให้ดี เราจะพบว่านโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของบ้านเรามี ‘ความย้อนแย้ง’ อยู่มากมายเต็มไปหมด
เราลองย้อนเวลากลับไปดูว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมามีโครงการใดบ้างที่ ‘ผิดเพี้ยน’ ไปจากข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ แต่ ‘ระบาด’ ในยุครัฐบาลนี้ โดยจะนำกรอบแนวคิดเรื่อง ‘ขอบเขตของดาวเคราะห์’ (planetary boundaries) ของคณะนักวิจัยนำโดยโยฮัน ร็อกสตรอม (Johan Rockström) จากสถาบันการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงแห่งสตอกโฮล์ม (Stockholm Resilience Centre) มาเป็นหลักเกณฑ์พิจารณา
ภายใต้กรอบแนวคิดที่ว่านี้ เราจะพบว่าโครงการพัฒนาของรัฐบาลเผด็จการมีความ ‘ไม่จริงใจ’ ส่วนโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติก็เป็น ‘การอนุรักษ์เทียม’ ที่ย้อนกลับมาทำลายสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศให้ย่ำแย่ลงอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเสียอีก
อ่านฉบับเต็ม
โฆษณา