6 ธ.ค. 2022 เวลา 14:00 • ไลฟ์สไตล์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เขียนได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) เป็นวิทยากรในงานมหกรรมการศึกษาต่อต่างประเทศ ครั้งที่ 17 เพื่อบรรยายหัวข้อ ‘ทักษะแห่งอนาคตที่โลกมองหา’ จึงขออนุญาตนำเสนอมุมมองที่ได้บรรยาย เพื่อประโยชน์ต่อผู้อ่าน
1
[บทความโดย: ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ | Global Vision]
ทักษะแห่งอนาคตที่โลกมองหา
ในช่วงเริ่มต้นของการบรรยาย ผู้เขียนได้ฉายภาพถึงโลกอนาคตที่กำลังจะมาถึง โดยผู้เขียนมองว่า ใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ในโลกใกล้เคียงกับทั้งศตวรรษที่ 20 รวมกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น
(1) การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ (2) โรคระบาดที่เกิดขึ้น 100 ปีครั้ง (Covid-19 เทียบกับไข้หวัดสเปน) (3) วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ใหญ่ในระดับเดียวกับ The Great Depression (อันได้แก่วิกฤต Hamburger ในปี 2008 และวิกฤต Covid-19 ในปี 2020)
2
(4) การกลับมาของเงินเฟ้อที่เหมือนกับในยุค 1970-1980 (5) สงครามเย็น ระหว่างสหรัฐและโซเวียตในยุค 1947-1991 เทียบกับสงครามเย็นระหว่างสหรัฐและจีนในยุคปัจจุบัน
ผู้เขียนมองว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงธรรมดา แต่กำลังเป็นจุดเปลี่ยนของการก่อตัวของแกนมหาอำนาจใหม่ของโลกที่จะมาทดแทนแกนเดิม ซึ่งภาพเช่นนี้สอดคล้องกับมุมมองในหนังสือ Changing World Order ของ เรย์ ดาลิโอ (Ray Dalio) ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates ซึ่งเป็น Hedge fund อันดับหนึ่งของโลก
1
เนื้อหาสำคัญของหนังสือดังกล่าว คือ ทุก ๆ 75 ปี +/- 10 ปี จะมีการเปลี่ยนมหาอำนาจหลัก และในขณะนี้ก็ครบ 75 ปีแล้วที่สหรัฐได้ขึ้นเป็นมหาอำนาจหลัก
ในปัจจุบัน ดัชนีชี้ว่าความยิ่งใหญ่ในด้านต่าง ๆ ของสหรัฐล่าถอยลงไปมาก โดยด้านการศึกษา ด้านการค้า และด้านเศรษฐกิจ แต่ด้านที่ยังสูงคือด้านนวัตกรรม ด้านสถานะของเงินดอลลาร์สหรัฐ และด้านการทหาร
ขณะที่เมื่อพิจารณาดัชนีต่าง ๆ ของจีน จะพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านการทหาร ขณะที่ด้านอื่น ๆ เช่น การค้า นวัตกรรม การศึกษา และผลิตภาพเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน
จากการคาดการณ์ของผู้เขียน เป็นไปได้ที่เศรษฐกิจและความรุ่งเรืองของจีนจะแซงสหรัฐภายใน 2028-2034
แน่นอนว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น สหรัฐก็จะพยายามทุกวิถีทางที่จะไม่ให้จีนขึ้นมาเป็นใหญ่ โดยการทำสงครามเย็นใน 4 สมรภูมิด้วยกัน กล่าวคือ สมรภูมิการค้า เทคโนโลยี การเงิน และสุดท้ายคือการทหาร ซึ่งในสมรภูมิสุดท้ายนี้ เป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2024 เป็นต้นไป ตามคำทำนายของผู้บัญชาการทหารเรือของสหรัฐ
2
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าหนทางที่จีนจะขึ้นเป็นใหญ่แทนสหรัฐจะไร้ซึ่งอุปสรรค การประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ของจีนในเดือนที่ผ่านมา ที่เป็นการต่ออายุประธานาธิบดีสีจิ้นผิงให้เป็นเลขาธิการพรรคสมัยที่สาม เราได้เห็นคณะกรมการเมือง (Politburo) ชุดใหม่ที่เป็นผู้ใกล้ชิดสีจิ้นผิงในอดีต
บ่งชี้ว่านโยบายสำคัญ ๆ ของสีจิ้นผิงในยุคหลัง ซึ่งเป็นนโยบายมองภายใน (Inward-oriented) มากกว่าภายนอกนั้น จะเป็นนโยบายที่ถูกใช้ต่อในยุคต่อไป โดยประกอบด้วย 3 นโยบายหลัก คือ
(1) common prosperity หรือเน้นขยายตัวอย่างสมดุล ไม่เน้นการเติบโตอย่างเดียว
(2) dual circulation หรือเน้นการผลิตในประเทศทดแทนการนำเข้า
(3) Zero Covid โดยยังไม่เปิดประเทศโดยสมบูรณ์จนกว่ามีการเปลี่ยนแปลง
ภาพดังกล่าวทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจจีนในระยะต่อไปจะชะลอลง โดยเฉพาะแนวนโยบาย Common Prosperity บ่งชี้ว่าจีนจะยังควบคุมการเติบโตของธุรกิจ Software Technology และภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้เป็นเครื่องยนต์หลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา การจำกัดการเติบโตก็จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตชะลอลง
สำนักวิจัย Rockefeller International มองว่า ศักยภาพเศรษฐกิจจีนในทศวรรษหน้าจะขยายตัวเฉลี่ยปีละ 2.5% และไม่สามารถที่จะก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งทดแทนสหรัฐได้
ไม่ว่าจีนจะขึ้นมาแซงสหรัฐในด้านเศรษฐกิจได้หรือไม่นั้น แต่การแข่งขันในด้านต่าง ๆ ของสองมหาอำนาจจะดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น ซึ่งรวมถึงการแย่งหาพันธมิตร ทั้งในเชิงการทหาร การค้า และการลงทุนต่าง ๆ
ด้วยภาพเช่นนี้ ทำให้ผู้เขียนมองว่า โลกในยุคต่อไปจะโลกแห่งยุค VUCA World ที่ความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือ มีมากขึ้น โดยผู้เขียนแบ่งเป็นประเด็นสำคัญ 4 ด้านคือ
(1) ด้านเศรษฐกิจ จะมีความผันผวนมากขึ้น ทั้งจากวัฐจักรเศรษฐกิจที่จะขยายตัวรวดเร็วแต่เกิดวิกฤตบ่อยขึ้น (Boom-Bust Cycle) จากภาวะเงินเฟ้อที่จะสูงยาว ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยสูงไปด้วย และจากวินัยการคลังของโลกที่จะแย่ลง และนำไปสู่วิกฤตการคลังได้ง่ายขึ้น
(2) ด้านสังคม กระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์จะยิ่งรุนแรงขึ้น ประชาชนจะมีความคิดสุดโต่ง-แบ่งแยกเป็นขั้วมากขึ้น (โดยเฉพาะสหรัฐที่อาจเกิดสงครามกลางเมืองในไม่ช้า) และอาจนำไปสู่การโดดเดี่ยวทางการค้า-จับกลุ่มเฉพาะพันธมิตร
(3) การเมืองโลก จะเข้าสู่การเปลี่ยนขั้วอำนาจใหม่ โดยในซีกโลกตะวันตก นำโดยสหรัฐและยุโรปจะเริ่มเสื่อมถอยในอำนาจมากขึ้น ขณะที่ซีกตะวันออก ที่นำโดยจีน รัสเซีย ตะวันออกกลาง รวมถึงประเทศขนาดกลาง เช่น ตุรกีและอินโดนิเซีย จะมีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น
(4) ด้านเทคโนโลยี การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะให้ความหวังในแง่การผลิตและการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น แต่ก็จะเป็นความเสี่ยง แต่ก็จะเพิ่มความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ ระหว่างผู้รู้เทคโนโลยีเหล่านั้น กับผู้ไม่รู้และปรับตัวไม่ทัน ให้ตกยุคและเลือนหายจากกำลังแรงงานไป
อ่านต่อ:
โฆษณา