25 พ.ย. 2022 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
📶☝️ ผู้ให้บริการ 5G อันดับ 1 ในประเทศไทย แล้วยังยืนหนึ่งด้วยการเป็นองค์กรนวัตกรรมดีเด่นจาก NIA
แม้ AIS จะเป็นที่ 1 ในวงการโทรคมนาคมมาอย่างยาวนานจนมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น AIS Fibre ธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ จนไปถึง AIS Play ดิจิทัลเซอร์วิสที่มักจะมีภาพยนตร์หรือซีรีส์ดีๆ ทั้งจากของไทยและต่างประเทศมาให้ได้ติดตามอยู่สม่ำเสมอ แต่ถึงอย่างนั้น AIS ถือเป็นองค์กรหนึ่งที่ไม่หยุดพัฒนาองค์กร เพราะมีวัฒนธรรมการทำงานที่พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวได้เร็ว ก้าวทันนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา
ซึ่งในครั้งนี้เราไม่ได้มาเล่าแค่เรื่องความสำเร็จหรือความยิ่งใหญ่ของ AIS เท่านั้น เพราะเราจะพาทุกคนไปเปิดหลังบ้าน เจาะลึกไปถึงเบื้องหลังคนที่อยู่ภายใต้องค์กรนี้กันว่า พวกเขามีวิธีคิดและการทำงานกันอย่างไรถึงได้เป็นผู้นำในวงการ จนกระทั่งล่าสุดสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภท องค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่ (Large) ร่วมกับบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ - ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด หรือ SCG ในการประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Award) ประจำปี 2565 ไปครองได้ในที่สุด
ภายใต้ความสำเร็จนี้ หนึ่งในทีมที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาองค์กรเลยก็คือทีม “Next” หรือ Novel Engine Execution Team ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนานวัตกรรมและสร้างสิ่งใหม่ให้กับองค์กร ซึ่งไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ แต่ AIS Next ให้นิยามคำว่า “นวัตกรรม = Adaptability หรือความสามารถที่พร้อมเปลี่ยนแปลง” โดยเป็นสิ่งที่สอดแทรกตั้งแต่ในระดับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ กระบวนการทำงาน รวมถึงการทำงานร่วมกับองค์กรอื่นๆ ผ่านตัวอย่างดังนี้
ตั้งแต่ในระดับการตั้งยุทธศาสตร์ AIS ก็เปลี่ยนแปลงตัวเองจาก “Mobile Operator” ไปสู่ “Digital Life Service Provider” เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภค ด้วยการลงทุนและต่อยอดธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโตต่อไปในอนาคต และในขณะเดียวกันก็เป็นการมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีให้กับประเทศจนครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาที่สอดรับกับการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมไทยเช่นกัน
เมื่อยุทธศาสตร์ชัดเจนก็นำมาสู่การพัฒนาคนภายในองค์กร AIS Next จึงร่วมมือกับ AIS Academy ในการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับคนในองค์กร ผ่านโครงการต่างๆ และการให้เงินทุน เพื่อส่งเสริมให้พนักงานเป็น ผู้ประกอบการภายในองค์กร (Intrapreneurship) โดยมีทั้งความร่วมมือที่เกิดขึ้นภายในองค์กรและหน่วยงานอื่นๆ (Partnership)
เช่น “โครงการ AIS the Startup” เป็นโครงการที่ AIS เริ่มต้นทำตั้งแต่ปี 2011 เพราะเล็งเห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาบริการทางด้านดิจิทัลของคนไทย จึงเปิดพื้นที่นี้ให้ทั้งคนในองค์กรและนอกองค์กรได้มีโอกาสในการปั้นไอเดียนวัตกรรมและสร้างสตาร์ทอัพเป็นของตนเอง จนเกิดการลงทุนและพัฒนาธุรกิจร่วมกับบริการต่างๆ ของ AIS ได้จริง ซึ่งในปัจจุบันก็มีสตาร์ทอัพที่อยู่ใน Portfolio มากมายภายใต้โครงการนี้ เช่น Agnos, golfdigg, Dexii, Enres ฯลฯ
อีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจก็คือ “Jump Thailand” ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นพัฒนานวัตกรรมด้านสังคม เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาและวิกฤตรอบตัวด้วยนวัตกรรม เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและโลกได้อย่างยั่งยืน ผสมผสานไปกับการเข้าถึงองค์ความรู้จาก AIS ไม่ว่าจะเป็นด้าน 5G, AI, Blockchain, Cloud, XR, Big Data และได้ใช้พื้นที่ AIS PLAYGROUND ในการทดสอบนวัตกรรมต้นแบบบนเครือข่ายและสภาพแวดล้อมจริง
โดยโครงการนี้เป็นการพัฒนามาจาก AIS InnoJump Competition ซึ่งเดิมทีเป็นกิจกรรมภายในองค์กร แต่ก็ถูกปรับมาให้คนทั่วไปสามารถร่วมกิจกรรมได้ โดยทั้ง 2 กิจกรรมนี้ NIA ก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็น Mentor และตัดสินผู้ชนะในโครงการด้วยเช่นกัน
นอกจากการพัฒนาคนแล้ว AIS ยังมีการทำงานร่วมกับภาครัฐ ซึ่งก็คือ NIA ในการพัฒนาย่านนวัตกรรมอารีย์ หรือ ARI Innovation District เพื่อผลักดันให้เป็น Sandbox สำหรับนวัตกรรมด้าน Deep Tech (AI, Robotics, Immersive & IoT) ผ่านเครือข่าย องค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ AIS มี ซึ่งจะทำให้ย่านอารีย์ไม่ได้เป็นแค่ย่านคาเฟ่ชิคๆ สำหรับวัยรุ่นอีกต่อไป เพราะจะเป็นอีกพื้นที่ที่มีการผลักดันเรื่องนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น
จากองค์ประกอบทั้งหมดที่มี ทำให้ AIS หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลชนะเลิศ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภท องค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่ (Large) ในการประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2565 จาก NIA อย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น Partnership ที่สำคัญในการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมไทยร่วมกับ NIA เลยทีเดียว
#NIA #NIAFocalFacilitator #เชื่อมไทยสู่โลกแห่งนวัตกรรม #รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ #NIAaward2022 #AISNext #องค์กรนวัตกรรม
โฆษณา