5 ธ.ค. 2022 เวลา 14:00 • ไลฟ์สไตล์
คุณเป็น "Nyctophilia" หรือไม่? ชอบใช้ชีวิตกลางคืน แต่ไม่ใช่เที่ยวกลางคืน
คุณเป็น "Nyctophilia" หรือไม่? ชอบใช้ชีวิตกลางคืน แต่ไม่ได้หมายความว่าชอบเที่ยวกลางคืน บางคนรู้สึกชอบทำงานตอนกลางคืนเพราะมักจะทำได้ดี ยิ่งดึกสมองก็ยิ่งแล่น รวมถึงชอบใช้ชีวิตตอนกลางคืนมากกว่ากลางวัน แม้ไม่ได้ชอบเที่ยวราตรีก็ตาม นั่นอาจเป็นเพราะกลางคืนเป็นเวลาส่วนตัวของพวกเขาโดยแท้จริงโดยไม่มีสิ่งรบกวน
คุณเป็น "Nyctophilia" หรือไม่? ชอบใช้ชีวิตกลางคืน แต่ไม่ใช่เที่ยวกลางคืน
ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือสอบ ทำงาน หรือใช้เวลาในการทบทวนชีวิต ที่หลายคนเลือกที่จะใช้เวลา “กลางคืน” มากกว่าตอนกลางวัน เพียงเพราะชอบช่วงเวลากลางคืนมากกว่า ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องออกไปเที่ยวกลางคืนหรือปาร์ตี้เสมอไป แต่เป็นเพราะพวกเขาแค่ชอบใช้ชีวิตตอนกลางคืน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ถูกให้นิยามว่าเป็น “Nyctophilia”
ลักษณะและพฤติกรรมของ Nyctophilia เป็นอย่างไร
📌 ชอบความเย็นสบายยามค่ำคืน
📌 รู้สึกว่ากลางคืนมีกลิ่นที่แตกต่างจากตอนกลางวัน และชอบกลิ่นนี้มากกว่า (อาจจะประกอบด้วย กลิ่นดอกไม้ ต้นไม้ หรือพื้นดิน)
📌 ชอบความเงียบสงบและมีคนน้อยกว่าตอนกลางวัน (ไม่พลุกพล่านไม่วุ่นวาย)
📌 รู้สึกว่าช่วงเวลากลางคืนจะสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่า
📌 ชอบมองท้องฟ้ายามค่ำคืน ดูดาว ดูพระจันทร์
1
เจาะสาเหตุ ทำไมบางคนชอบกลางคืนมากกว่ากลางวัน?
📌 เกิดจากพันธุกรรม
📌 นาฬิกาชีวิตหรือนาฬิกาชีวภาพเป็นปัจจัยกำหนด
📌 มีพฤติกรรมบางอย่างมาเปลี่ยนแปลงนาฬิกาชีวิต เช่น กินมื้อดึก หรือ อยู่ในที่ที่สว่างจ้าตอนกลางคืน
📌 ชอบข้อดีของการอยู่กลางคืน เช่น ความสงบ ได้พักจากความวุ่นวาย หรือได้ใช้เวลาในการสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ
🌃 แม้ว่าจะมีข้อดีแต่หากใช้ชีวิตกลางคืนบ่อยๆ ก็มีข้อเสีย
สำหรับคนที่มีประสาทสัมผัสไวต่อสิ่งเร้า การใช้ชีวิตกลางคืนอาจจะเหมาะกว่ากลางวัน เพราะสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนได้มากกว่าด้วยสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจาก University of Madrid ที่ได้ศึกษาทดลองวัยรุ่นกว่า 1,000 คน พบว่าคนที่ใช้ชีวิตกลางคืนสามารถให้เหตุผลในเรื่องต่างๆ ได้ดีกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแบบนี้กันทุกคน
อีกทั้งหากใช้ชีวิตกลางคืนบ่อยๆ กลับมีข้อเสียที่อันตรายต่อสุขภาพ กล่าวคือ อาจจะทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอหรือพักผ่อนแบบไม่มีประสิทธิภาพ เพราะช่วงเวลาที่เหมาะกับการพักผ่อนสำหรับมนุษย์มากที่สุดคือตอนกลางคืน ส่งผลให้อาจเกิดโรคตามมาในอนาคต เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดัน ไปจนถึงภาวะซึมเศร้า
อ่านเรื่องของนาฬิกาชีวิตเพิ่มเติม:
โฆษณา