26 พ.ย. 2022 เวลา 18:44 • ความคิดเห็น
จะดีกว่ามั้ย ถ้าเราได้เห็นทรัพย์สินกับตาก่อน…
มันสำคัญแค่ไหน ?
ทำไมเราถึงต้องลงไปดู ?
งานใหญ่ งานเล็ก ต้องลงไปดูมั้ย ?
“เรารู้คำตอบหลังจากที่ลงไปดู”
บทที่ 1 : ทำความรู้จัก
เราเริ่มจากดูเอกสารหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สิน พูดง่ายๆ ก็ชุดเอกสารตั้งหนี้นั้นแหละ Invoice PO ใบรับมอบงาน ใบเสนอราคา BOQ แบบแปลน รูปถ่าย Before After ใบขออนุมัติงบประมาณ จะได้รู้ว่าเขาซื้อไปทำไม ทำไปทำไม
บทที่ 2 : พบปะต้อนรับทรัพย์สิน พูดคุยกับผู้ใช้งาน
เมื่อเรารู้ข้อมูลเบื้องต้นแล้ว ก็ลงไปดู หน้าตาเป็นไง วางอยู่ที่ไหน ใช้งานอย่างไร ใช้อยู่กับที่มั้ย หรือยกไปใช้หลายที่ ใช้งานเป็นไง ตอบโจทย์มั้ย ใครเป็นคนดูแล
หากเป็นงานใหญ่ๆ เราแนะนำให้ขอไป observe* ตอนเขาตรวจรับงานกัน เพราะช่วงเวลานั้น บอกเลยได้ข้อมูลทรัพย์สินโคตรละเอียด แถมยังไม่ต้องไปขอข้อมูล Project manager อีกครั้งด้วย Save เวลาเขา ส่วนเราก็ได้ข้อมูลที่ละเอียดมากๆ
*แต่ๆ เราต้องแสดงตัวกับกรรมการตรวจรับงานว่า แค่สังเกตการณ์เท่านั้น!! เราไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในผลของการรับงานทั้งสิ้น
อีกทั้งยังได้ข้อมูลก่อน Project manager ส่งเอกสาร Asset Ready to use ให้เราอีก กล่าวคือพอได้เอกสาร ก็ Cap เข้าระบบโล้ด ไม่ต้องมาถามอีกรอบ เพราะส่วนใหญ่ก็จะไปถามตอนเขาส่งข้อมูล Cap มาแล้ว ยิ่งถ้าแถวๆช่วง Cut off เอกสารนะ ถามให้วุ่นกันเลยทีเดียว ทำงานไม่ทันอีก 😅
บทที่ 3 : บันทึกข้อมูลเข้าระบบ ติดสติกเกอร์บนทรัพย์สิน และทำแคตตาล๊อคไว้โดย Asset Owner
>> บทนี้เราจะพูดถึงคนที่ติดสติกเกอร์ ทั่วไปแล้ว บางที่ก็เป็นนักบัญชี บางที่ก็เป็น Asset owner อย่างใดอย่างหนึ่ง
*เพื่อแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่จริงของทรัพย์สินอย่างสมบูรณ์ที่สุด >> บัญชีควรไปติดพร้อมกับ Asset owner เพราะว่าบัญชีจะได้เลือกตำแหน่งที่ติดได้ตามความต้องการ สะดวกแก่การตรวจนับ และได้เห็นทรัพย์สินว่ามีอยู่จริง(ในกรณีนี้ควรใช้อย่างมาก หากนักบัญชียังไม่ได้ไปดูทรัพย์สิน ก่อนที่จะ Capitalized บทที่2 )
“พอเขียนประโยคนี้ ก็แอบคิดว่า สมมุติ ถ้าไม่มีการซื้อจริง อ่าวเรา Cap ไปแล้วนิ คิดค่าเสื่อมไปแล้วด้วย…(โปรดนึกภาพนั้น🤮) “
>> เลยคิดว่าจะดีกว่ามั้ย ถ้าเราไปดูทรัพย์สิน”ทุกตัว”ก่อนที่จะ Capitalized
สรุปคือ
1.ดูข้อมูลจากเอกสาร
2.ลงไปดูทรัพย์สิน และพูดคุยกับ Asset Owner
3.Capitalized บันทึกทรัพย์สินเข้าระบบ เพื่อคำนวณ DP
4.ร่วมติดสติกเกอร์ทรัพย์สินกับ Asset Owner และให้ Asset Owner ทำแคตตาล็อคทรัพย์สิน
5.เมื่อถึงฤดูกาลตรวจนับ ก็ดูของจริงควบคู่กับแคตตาล็อคทรัพย์สินและสติกเกอร์
สุดท้ายลืมไป เวลาขายทรัพย์สิน ก็ต้องลงไปดูด้วยนะ ว่าขายตามที่ขออนุมัติไว้หรือเปล่า
เราทำ Content นี้เพื่อการฝึกฝน พัฒนาตัวเอง จากประสบการณ์เท่านั้น และเผื่อเป็นประโยชน์กับใครได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
เราเองยังต้องเรียนรู้อีกมากมาย มีอะไรที่เรายังขาดตกบกพร่องไป ก็แนะนำเราได้นะคะ จะขอบพระคุณมากๆค่ะ🙏🏻
ขอบพระคุณครูผู้สอนและผู้สอนจากประสบการณ์จริงทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง 🙏🏻🙇🏼‍♀️
แล้วพบกันใหม่เดือนหน้า บัญชีขาลุย สวัสดีค่าา🙏🏻
โฆษณา