Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Find the Flow
•
ติดตาม
28 พ.ย. 2022 เวลา 11:00 • ไลฟ์สไตล์
วันนี้มาชวนคุยกันเรื่อง “อำนาจ”
โหววววว แค่ฟังก็ดูน่ากลัวแล้วมั๊ย ?
เมื่อก่อนเราได้ยินคำนี้ เราก็มีความแขยง ๆ นิดนึงเพราะอดคิดไปถึงเรื่องความกดขี่ข่มเหง ได้เปรียบ เสียเปรียบอะไรทำนองนั้นไม่ได้ แต่ลองวางความคิดเหล่านั้นลงซักพัก แล้วมามองคำว่า “อำนาจ” อีกมุม มันก็มีอะไรให้ทำความเข้าใจเหมือนกัน
เรื่องนี้เราก็ได้ไปเรียนมาจากห้องเรียนกระบวนกรเนี่ยแหละ
Recap นิดนึงว่าหน้าที่ของกระบวนกร คือ ทำให้คนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวของเค้าเอง โดยถึงแม้ว่ากระบวนกรจะไม่ได้สวมหมวกของความเป็น “หัวหน้า” แต่เพื่อควบคุมบรรยากาศของการเรียนรู้ไปในทิศทางที่ได้ออกแบบไว้ มันเลยต้องรู้จักใช้ศิลปะของการเป็นผู้นำอยู่บ้าง และเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยคือ ต้องเข้าใจวิธีการใช้ “อำนาจ” และรู้ตัวให้ได้มากที่สุดตลอดเวลาที่จัดการเรียนรู้ว่ากำลังใช้อำนาจในระดับที่เหมาะสมอยู่รึเปล่า
มาเข้าเรื่องกันแบบตรงประเด็นเลย ….
☝️ อย่างแรกคือ “อำนาจเหนือ” คือ จะใช้อำนาจที่มีอยู่เข้าไปบังคับ ควบคุม คิดแทน ครอบงำ ยัดเยียด ไม่เปิดพื้นที่ให้คนอื่นได้ตัดสินใจ
🤝 อย่างที่ 2 คือ “อำนาจร่วม” คือ ใช้อำนาจที่มีอยู่เข้าไปสอบถามความเห็น เปิดประเด็น และพื้นที่เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และช่วยหาข้อสรุปที่ทุกคนเห็นด้วยมากที่สุด
ฟังมาแค่นี้มันก็พอจะนึกภาพตามได้ลาง ๆ แล้วก็เดาออกได้ไม่ยากว่าการใช้อำนาจมันก็ประมาณนี้แหละ แต่หลังจากที่ฟังเพื่อน ๆ ในวงแชร์ประสบการณ์กัน ก็ทำให้นึกไปถึงสถานการณ์ที่เราเคยเจอมาไม่ได้
ทั้ง 2 สถานการณ์นี้เกิดในสถานที่เดียวกัน ที่มีงานเข้ามาแบบปกติอยู่แล้ว แต่ทีมบริหารเห็นว่ามีโอกาสทางธุรกิจอื่นเพิ่มเติมอยู่ เลยตั้งทีมเพื่อทดลองบริการใหม่นี้
🟧 สถานการณ์แรก พี่เอ (นามสมมติ) พยายามจะตั้งทีมใหม่ ด้วยรูปแบบการทำงานใหม่
▶ พี่เอขอคนที่จะมาร่วมทีม แล้วมาประชุมหารือกันใหม่หมดตั้งแต่กระบวนการรับงาน การทำงาน จนไปถึงการจบงาน
▶ ทุกคนต้องเข้าประชุมทีมทุกอาทิตย์ และอัพเดทกันยาว ๆ ว่าใครต้องทำอะไร
▶ พี่เอพยายามให้ทุกคนออกความเห็น (ซึ่งยากมาก) และพยายามจะหาข้อสรุปที่โอเคกับทุกคน
▶ หลายคนในบริษัทคิดว่าพี่เอเยอะเกินไป เริ่มบอกเจ้านายว่าเสียเวลาทำงาน ไม่เวิร์ค นู่นนี่นั่น ให้โอนไปให้พี่บีทำดีกว่า พี่บีรู้อยู่แล้วว่าต้องทำอะไร ไม่มาเสียเวลาแบบนี้หรอก บลา ๆ ๆ
▶ ในที่ประชุมผู้บริหาร พี่เอยังคงยืนยันว่า ขอทำแบบนี้ และเชื่อว่าดีในระยะยาวจริง ๆ (และด้วยบุคลิกของพี่เอที่เสียงดัง กล้าพูด เลยทำให้ไม่มีใครกล้าเถียง)
▶ เจ้านายยอมให้พี่เอทำต่อ แต่ในบริษัทเริ่มมีเสียงของความไม่พอใจมากขึ้นว่า พี่เอทำงานไม่เวิร์ค
▶ ระหว่างทางมีผู้ร่วมทีมทนไม่ไหว (สมมติว่าชื่อน้องหนึ่ง ตอนนั้นเป็น senior) ไม่แน่ใจว่าเพราะไม่ชอบออกความเห็น หรือเพราะททนแรงกดดันจากคนอื่นในบริษัทไม่ได้ เลยขอออกจากทีมนี้ แล้วกลับไปทำงานทีมเดิม
▶ น้องอีกคนชื่อน้องบีเป็น Junior พยายามเรียนรู้งานทุกอย่างทั้งที่เป็นของตัวเอง และไม่เป็นของตัวเอง และอดทนทำต่อจนเป็นรูปเป็นร่าง พี่บอกให้ถามได้ ก็ถามมันทุกเรื่องนั้นแหละ
▶ ปีแรกที่ตั้งทีมนี้ ได้กำไรน้อยจริง เพราะยังทำได้ช้า แต่ในปีที่ 2 ทำกำไรได้เพิ่มขึ้นแบบเท่าตัว แต่ไม่รู้ว่าเพราะอคติหรืออะไร ก็ยังโดนเสียงร่ำลือจากคนอื่น ๆ ว่างานนี้ไม่น่าไปรอดอยู่ดี
▶ ปัจจุบันนี้ (ผ่านมาแล้ว 5 ปี) พี่เอลาอออกมาแล้ว และบริการนี้ก็ปิดตัวลงไป ไม่มีใครรับไปทำต่อ /น้องหนึ่งยังคงเป็นพนักงานที่น่ารักของบริษัทอยู่ / ส่วนน้องบีตอนนี้เปิดบริษัทของตัวเองเป็นที่เรียบร้อย
🟪 สถานการณ์ที่ 2 : พี่บี (นามสมมติ - คนละคนกับพี่บีในสถานการณ์แรก) รับตำแหน่งใหม่ พร้อมน้องในทีม 1 คน และต้องร่วมงานกับทีม support อยู่
▶ พี่บีเป็นคนไม่ค่อยเกี่ยงงาน ในขณะที่ค่อนข้างเป๊ะ ในที่ประชุมผู้บริหารพี่บีจะตอบรับงานเป็นอย่างดี และมีผลงานที่เป็นที่น่าพอใจส่งเสมอ
▶ ทีมงานพี่บีให้ความเคารพพี่บีมาก เพราะพี่บีสอนงานค่อนข้างละเอียด มีขั้นมีตอนชัดเจน ทำผิดขั้นตอนไม่ได้
▶ แต่ทีมงาน support จะค่อนข้างคุยกับพี่บียาก เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปตามที่พี่บีกำหนดไว้ ถ้าทำไม่ได้ตามแบบที่พี่บีต้องการ จะโดนดุอย่างแรงทันที ไม่ว่าเหตุผลนั้นจะเกิดขึ้นเพราะอะไร
▶ ตัวอย่าง (ให้เห็นภาพ) : ครั้งนึงต้องส่งงานลูกค้าภายใน 5 โมงเย็น แต่ทีมพี่บีจบงานมาให้ตอน 4 โมง ทำให้ทีม support ทำงานไม่ทัน แต่พี่บีบอกว่าทีมพี่บีจบงานแล้ว งานมันจบไม่ลงเพราะทีม support ทำงานช้า
▶ ถ้าพี่บีไม่อยู่ แล้วเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน น้องในทีมพี่บีต้องโทรถามพี่บีก่อนเสมอ จะทำอะไรที่พี่บีไม่สั่งไม่ได้
▶ ครั้งนึง เคยต้องปรับแก้งานอะไรบางอย่างเล็กน้อยตอนพี่บีไม่อยู่ ถามน้องในทีมพี่บีแล้วเค้าไม่มีความเห็น หัวหน้าทีมคนอื่นถือวิสาสะตัดสินใจแก้แล้วให้น้องเอาไปคุยกับพี่บี เลยเกิดการทะเลาะรุนแรงว่าเค้าสั่งน้องเค้าไว้แล้วให้ทำแบบนี้ การที่หัวหน้าคนอื่นตัดสินใจแทนถือว่าไม่เคารพกัน
▶ ปัจจุบันนี้พี่บียังคงเป็นพี่ที่น่ารักของน้องในทีม และเป็นหนึ่งในผู้บริหารของบริษัทที่พร้อมรับงานอะไรใหม่ ๆ อยู่ และทีม support ก็ยังคงทำงานตามหน้าที่กับพี่บีต่อไป
ถ้าถามเราว่าในสายตามุมมองของคนภายนอก เค้ามองการใช้อำนาจของพี่เอ กับพี่บียังไง ?
🟧 เอาพี่เอก่อน
☝️ คนนอกอาจจะมองว่าพี่เอใช้อำนาจเหนือก็ได้นะ เพราะพี่เอก็หนักแน่นกับบริษัท ว่าอยากลองทำแบบนี้ ๆ (ด้วยบุคลิกที่ชัดเจนมาก ๆ และเสียงดังด้วย)
☝️ คนในทีมก็อาจจะมองว่าพี่เอใช้อำนาจเหนือเหมือนกัน เพราะรู้สึกเหมือนโดนบังคับให้ต้องเข้าประชุมนาน ๆ คุยกันทุกเรื่องทั้งที่ (มองว่า) ไม่เกี่ยวกับตัวเอง
🤝 แต่ให้มองกลับไปตอนนี้ เราคิดว่าพี่เอใช้ อำนาจร่วมกับทีมอยู่ เพราะพี่เออยากให้ทุกคนได้เรียนรู้เต็มที่จริง ๆ แล้วเห็นจากน้องบีว่า น้องเรียนรู้ได้ดีมากจนตอนนี้พึ่งตัวเองได้แบบสมบูรณ์ทีเดียว
🟪 ส่วนพี่บี
🤝 ครั้งนึงเราเคยมองว่าพี่บีใช้อำนาจร่วม เพราะเวลามีงานอะไรแล้วต้องคุยกัน พี่บีจะคุยง่าย รับฟัง แล้วก็มีความช่วยเหลือพอสมควร
🤝 ผู้บริหารเองก็อาจจะมองว่าพี่บีใช้อำนาจร่วม เพราะในที่ประชุมพี่บีเป็นคนแบ่งรับแบ่งสู้ และรับฟังความเห็น
☝️ แต่ถ้าเราเป็นลูกน้องในทีม เราคงมองว่าพี่บีใช้อำนาจเหนือ
ข้อดีอย่างนึงคือ พี่บีสอนงานละเอียดจริง สำหรับน้อง ๆ ที่ไม่เป็นงานเลย มาเจอพี่บีอาจจะทำงานง่ายกว่าพี่เอ แต่ข้อที่ต้องระวัง คือ ถ้าเจอเรื่องไม่คาดคิด อาจจะต้องรอพี่บีมาจัดการ จะทำอะไรเองคงยากนิดนึง
☝️ และถ้าเราเป็นคนในทีม support เราคงมองว่าพี่บีใช้อำนาจเหนือขั้นสุด …. กระดิกตัวไม่ได้เล้ยยยยย
จริง ๆ คนเรามันก็ใช้อำนาจกันทั้ง 2 แบบอ่ะเนอะ ขึ้นอยู่กับว่าใช้อำนาจกับใคร ทำงานอะไร มันคงไม่มีอะไรตายตัวหรอกว่า งานนี้คนนี้ต้องใช้อำนาจแบบนี้
แต่สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากบทเรียนนี้ คือ เราอาจจะต้องมองข้ามพฤติกรรมที่เค้าแสดงออก แล้วมองให้ถึงเจตนาที่เค้าต้องการด้วยมากกว่า
🟧 คนบางคนแสดงออกแบบดุดัน เพราะอยากกระตุ้นให้เราเรียนรู้และเติบโต
🟪 คนบางคนแสดงออกแบบเรียบ ๆ นิ่ม ๆ พร้อมให้คำแนะนำ เพราะอยากให้เราทำงานได้ตรงตามคุณภาพที่เค้าวางไว้
ไม่มีอะไรผิด ไม่มีอะไรถูก …อยู่ที่เราแล้วว่า เราอยากได้อะไร จะได้ไป match กับคนที่เค้าให้ได้ในสิ่งที่เราต้องการก็พอ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย