Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
28 พ.ย. 2022 เวลา 09:25 • ไลฟ์สไตล์
“Afternoon tea vs High tea” แตกต่างกันอย่างไร ? 🏴🫖
Let's Take a Tea Break !
ช่วงนี้พวกเรา InfoStory ก็ขอพาเพื่อน ๆ มาเข้าสู่ธีมเรื่องราวสาระความรู้เกี่ยวกับ “ชา” รอบโลกกันเบา ๆ กันต่อ
สำหรับโพสนี้ พวกเราขอนำเสนอเรื่องราวความแตกต่างของมื้อชายามบ่ายของชาวอังกฤษ หรือ Afternoon Tea กันสักหน่อย
ไม่รอช้า ไปรับชมภาพและรับอ่านเรื่องราวเบาสมองสั้น ๆ เกี่ยวกับชาและชาวอังกฤษด้านล่างกันได้เลย !
[ ทำไมชาวอังกฤษถึงมีการดื่มชาที่หลากหลายรูปแบบ ? แล้วใครเป็นผู้เริ่มการจิบชายามบ่ายกันนะ ?]
คำว่าหลายรูปแบบเนี่ย ยกตัวอย่างเช่น Cream Tea, Light Tea, Full Tea
ซึ่งเราอาจจะเรียกแบบเหมา ๆ ก็ได้ว่าเป็น “Afternoon Tea”
(และถ้าทานคู่กับอาหารจานหลักหรือขนมที่เยอะหลากหลาย ก็จะเหมาเป็น High Tea ไปเลย)
🧐🫖 แล้วใครคือผู้คิดค้นธรรมเนียมการดื่มชายามบ่าย(ที่ดูหรูหรา) แบบนี้กันละ ?
ย้อนกลับไปสมัยปลายศตวรรษที่ 18 ชาวอังกฤษจะนิยมทานอาหารกันแค่ 2 มื้อ คือ มื้อเช้าและมื้อเย็น
ไม่แปลกที่ช่วงบ่าย ก็คงจะหิวกันเป็นปกติ.. (เราทานข้าวเที่ยงด้วย บ่าย ๆ ยังหิวเลยคร้าบ ฮ่า ๆ 😝)
กระทั่งสตรีสูงศักดิ์ท่านหนึ่ง นามว่า เลดี้แอนนา มาเรีย👸🇬🇧 (Anna Maria, the Duchess of Bedford) ดัชเชสของเบดฟอร์ด เธอยอมแพ้ให้กับความหิวระหว่างวัน เลยสั่งให้นางสนมรับใช้จัดชาและของว่าง ซึ่งแน่นอนละ.. ขนมของโปรดของชาวอังกฤษ ก็คือ สโคนและครีม นำมาจัดวางพร้อมกับคุกกี้ชิ้นเล็ก ๆ และแซนด์วิชชิ้นพอดีคำ มาจัดวางให้สวยงาม พร้อมกับ “ชาดำ” ซึ่งขาดไม่ได้ 👸🫖☕🧁
Anna Maria, the Duchess of Bedford
ด้วยสไตล์ของชนชั้นสูงในสมัยนั้นโดยเฉพาะสตรีที่ใส่ใจกับความสวยงาม (และต้องการให้คนมาชื่นชม)
เลดี้แอนนา มาเรีย จึงแน่นอนว่าไม่ได้นั่งจัดชุดชาทานเปลี่ยว ๆ คนเดียวแน่นอน เพราะเธอได้ชวนเหล่าขุนนางอังกฤษมาร่วมทานน้ำชายามบ่ายไปพร้อมกันในทุก ๆ วัน 👸🫅🤴
การทานชายามบ่ายแบบนี้ ก็เหมือนเป็นช่วงเวลาแลกเปลี่ยนข่าวสารดีดีของกลุ่มชนชั้นสูงในอังกฤษ จากวงดื่มชาของเลดี้แอนนา มาเรีย จึงค่อย ๆ ขยายไปยังกลุ่มชนชั้นสูงอื่น ๆ
กลายเป็นวัฒนธรรมและค่านิยมของการดื่มชาพร้อมขนมสุดหรูในชนชั้นสูงของอังกฤษต่อเนื่องมานั่นเองคร้าบ 🤓
ในปัจจุบัน วัฒนธรรมการดื่มชายามบ่ายของชาวอังกฤษก็แทบจะพบเห็นโดยทั่วไป (และไม่ต้องเป็นชนชั้นสูงอะไรทั้งนั้น) เช่น งานเลี้ยงน้ำชาในสวน (garden tea) หรือในบ้าน (tea at home) เพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัว หรือ สำหรับโอกาสในการพบปะคนใหม่ ๆ ในสถานที่อย่างเช่น ในคอร์ทเทนนิส (tennis tea) หรือ Croquet (croquet tea) ก็มีนะคร้าบบ ฮ่า ๆ ☕️🎾
(เราว่ามันก็อาจคล้าย ๆ กับ บาร์กาแฟที่อิตาลี ที่ใช้เป็นที่แลกเปลี่ยนข่าวธุรกิจ จนเป็นหนึ่งในต้นกำเนิดตลาดหุ้นของอเมริกา)
รวมไปถึงความหลากหลายในการจิบชายามบ่าย ก็ปรับเปลี่ยนให้เข้าไปกับสังคมและวิถีของคนในแต่ละพื้นที่
(จริง ๆ Afternoon tea เค้าก็ไม่ได้มีสูตรตายตัวอะไรตั้งแต่แรกอยู่แล้วนี่เนอะ)
รูปแบบของการจัดวาง Afternoon Tea ก็ไม่ยากมาก
ประกอบไปด้วยขนมที่มีชิ้นไม่ใหญ่มาก กินพอดีคำ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น
โดยแต่ละชั้นก็จะจัดเรียงเป็น สโคน (Scone) มักทานคู่กับคลอทท์ครีม (Clotted Cream) หรือแยม ตามด้วยชั้นของแซนด์วิช (Finger Sandwich) ที่มีขนาดเล็กพอดีคำ และชั้นที่เต็มขนมหวานและเค้กที่มีขนาดพอดีคำ
มีแต่คำว่า พอดีคำ เต็มไปหมดเลยแห่ะ…🥲
🤓 ข้ามมาอีกฝั่งหนึ่งของมื้อชายามบ่าย (ที่อาจลากไปจนถึงหัวค่ำได้) อย่าง “High Tea”
ที่ถึงแม้จะมีชื่อที่ดูเหมือนจะแปลว่า Highsociety Tea.. แต่ว่า ต้นกำเนิดของมันอาจเป็นในทางต้นกันข้ามเลยคร้าบ
เรื่องราวสั้น ๆ ของ High Tea ก็เกิดขึ้นในสังคมชนชั้นแรงงานของอังกฤษในสมัยก่อน 👩🚒👨🚀
(แต่ว่า…ไม่ได้มีการระบุว่า เมื่อใด เพราะมันคือหนึ่งในวิถีชีวิตของชนชั้นแรงงานในช่วงประมาณปี 1600 ซึ่งอาจจะมีมาก่อนมื้อชายามบ่ายแบบ Afternoon Tea ของกลุ่มชนชั้นสูงอีกด้วยนะ)
ซึ่งพวกเค้าก็จะนิยมพักเบรกเติมพลัง ดื่มชาพร้อมขนมปังและของหวาน (หรืออาจะมีอาหารประเภทเนื้อสัตว์)
โดยเขาก็จะดื่มกันบนเคาท์เตอร์บาร์ หรือ อาจยืนกินด้วยความรวดเร็วและรีบเดินทางกลับบ้าน (ซึ่งเวลาเลิกงานของพวกเค้าก็คือเวลาประมาณห้าโมงเย็น ตรงนี้เลยเป็นที่มาของเวลาในการกิน High Tea ที่อาจจะลากยาวไปถึงตอนเย็น 🌅)
คำว่า “High” ในที่นี้ จึงอาจหมายถึงวิถีการทานบนโต๊ะทานข้าวทรงสูงแทน 👌
(เกร็ดเล็ก ๆ - จริง ๆ แล้ว High Tea เนี่ย เค้าจะไม่ได้มีสโคนอยู่ในชุดนะคร้าบ เพราะอย่างที่เพื่อน ๆ พอจะเริ่มเห็นภาพกันว่า มันเหมือนเป็นอาหารมื้อเย็นมื้อหนึ่ง ที่มีชาเป็นส่วนประกอบเสียมากกว่า ฮ่าๆ แต่ว่าในปัจจุบัน จะมีหรือไม่มีก็ไม่ได้เป็นจุดสำคัญอะไรขนาดนั้นแล้วละคร้าบบ)
1
[ ขอขอบคุณ… ]
สุดท้ายนี้ วัฒนธรรมการดื่มชายามบ่ายของชาวอังกฤษอาจจะไม่เกิดขึ้นเลย
🙏 ต้องขอขอบคุณการผูกขาดการค้าต้นชาของบริษัทบอินเดียตะวันออกอังกฤษ (British East India) ที่ทำให้อังกฤษมีพลังแห่งการนำเข้าจนไปถึงสามารถปลูกเองที่อินเดีย(รัฐอัสสัม) โดยไม่ต้องนำเข้าจากจีนแล้ว… 🏴🇮🇳
🙏 ถ้าจะย้อนไปไกลกว่านี้อีกนิดนึง ก็คงต้องขอขอบคุณ “เจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งโปรตุเกส” (หรือ แคทเธอรีนแห่งบรากันซา Catarina de Bragança) พระมเหสีของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษไปนำเข้าใบชาและถ่ายทอดวิธีการชงชาผ่านน้ำร้อนมาให้ชาวอังกฤษได้รู้จักกัน (ในชื่อของ Catherine of Braganza,Queen of England, Scotland and Ireland) 🇬🇧👑🇵🇹
“เจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งโปรตุเกส” (หรือ แคทเธอรีนแห่งบรากันซา Catarina de Bragança) พระมเหสีของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
หรือ บางที 🙏 อาจต้องขอบคุณเลยไปถึงชาวดัตช์ของอดีตบริษัทที่เคยรุ่งเรืองเหนือบริษัทอินเดียตะวันออกอังกฤษ (หรือ ก็คือ บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ 🇳🇱 (Dutch East India Company/VOC) …. แล้วเราจะพูดให้ยากไปทำไมเนอะ 555) ที่เข้าใจว่า “ใบชา” คือยาวิเศษที่รักษาโรคได้ และเริ่มเปิดตลาดต้นชาจากจีนสู่ยุโรป..
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว
🙏 อาจต้องขอบคุณชาวโปรตุเกส 🇵🇹 ที่เป็นกลุ่มชาวยุโรปที่รู้จักกับต้นชา
ที่ถึงแม้ว่า..พวกเขาจะไม่ยอมแบ่งปันชาวยุโรปชาติอื่น ๆ เลยในทีแรก 😭
แต่ในท้ายที่สุดพระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส (João IV de Portugal) ผู้เป็นพระบิดาของก็ได้ปลูกฝังความคลั่งไคล้ใบชามาสู่เจ้าหญิงแคทเธอรีน (Catherine of Braganza) อยู่ดี… อิอิ 🥲👌
พระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส João IV de Portugal
ว่าไป…งั้นพวกเราขอตัวไปดื่มชายามบ่ายวันหยุดก่อนนะคร้าบบ 🤓🤤🫖
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
-หนังสือ “A History of the World in 6 glasses” บทที่ 9 - 10
-
https://www.thespruceeats.com/high-tea-vs-afternoon-tea
...
-
https://www.thespruceeats.com/what-is-full-tea-765831
-
https://theteacupoflife.com/.../high-tea-afternoon-tea
...
-
https://destinationtea.com/afternoon-tea-101/
ประวัติศาสตร์
ไลฟ์สไตล์
เรื่องเล่า
19 บันทึก
9
15
19
9
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย