Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
30 พ.ย. 2022 เวลา 04:00 • ธุรกิจ
“ช้าง” เดินหน้าเขย่าบัลลังก์ “สิงห์” หวังเบียดขึ้นเบียร์เบอร์ 1 ในไทย หลัง “ช่องว่าง”ส่วนแบ่งทางการตลาดแคบสุดในรอบ 13 ปี สานเป้าผู้นำภูมิภาคอาเซียน
'ช้าง' เขย่าสิงห์ เบียดขึ้นเบอร์1 ยึดตลาดเบียร์
ไทยเบฟ เปิดตัวสินค้าใหม่ “ช้าง อันพาสเจอร์ไรซ์” เขย่าตลาดเบียร์ 2 แสนล้านบาท สานต่อเป้าหมายทวงบัลลังก์ เบอร์ 1 ในไทยอีกครั้ง
หลายปีที่ผ่านมา “ไทยเบฟเวอเรจ” มีการซื้อกิจการอาหารและเครื่องดื่มเสริมความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตโฟลิโอ และเบ่งความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร จนติด "ท็อป 10" ยักษ์เครื่องดื่มของภูมิภาคเอเชียที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหรือมาร์เก็ตแคปสูงสุด
ทั้งนี้ หนึ่งในกิจการสำคัญคือการทุ่มเงินหลัก “แสนล้านบาท” เข้าถือหุ้นกว่า 56% ในบริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น หรือซาเบโก้ (SABECO) เบอร์ 1 เบียร์ในประเทศเวียดนาม ทำให้ธุรกิจ “เบียร์” ของบริษัทกลายเป็น “ผู้นำ” ในอาเซียน
ขณะที่ประเทศไทย “เบียร์ช้าง” ยังเป็น “เบอร์รอง” ไล่ล่าตำแหน่ง “ผู้นำตลาด” อย่างต่อเนื่อง ทว่า ช่วงเดือน ก.ย.2565 ที่ผ่านมา ไทยเบฟ ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ถึงส่วนแบ่งทางการตลาด “เบียร์ช้าง” อยู่ในระดับสูงถึง 40% มีส่วนต่างที่ห่างจากคู่แข่ง “เบอร์ 1” เพียงเล็กน้อย และระบุว่า “ช่องว่าง”ส่วนแบ่งทางการตลาดแคบสุดในรอบ 13 ปีด้วย
นอกจากนี้ บริษัทยังย้ำภารกิจสำคัญของ “เบียร์ช้าง” ต้องก้าวขึ้นเป็น “เบอร์ 1” ภายในปี 2565 ด้วย ยุทธศาสตร์ การทำตลาด เพื่อผลักดันธุรกิจให้เติบโตตามเป้าหมาย จึงมีหมากรบเก่าที่แกร่งขึ้น และเปิดแนวรบใหม่ เพื่อเขย่าตลาดเบียร์
นายเลสเตอร์ ตัน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจเบียร์ประเทศไทย บริษัท ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ทำตลาดเบียร์ช้าง ฉายภาพรวมตลาดเบียร์ในประเทศไทยมีมูลค่าเชิงปริมาณราว 2,000 ล้านลิตรต่อปี แต่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดหดตัวค่อนข้างหนัก จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ช่องทางจำหน่ายร้านอาหาร ผับ บาร์ สถานบันเทิงต่างๆ หรือออน พรีมีส ได้รับผลกระทบ
📌 มุ่งพัฒนาสินค้าใหม่สวนตลาดซบ
นอกจากนี้ ลานเบียร์ไม่มี อีเวนท์ไม่สามารถจัดได้ ผู้บริโภคอยู่บ้าน ตัวแปรดังกล่าว ทำให้ตลาดเบียร์หดตัวเหลือระดับ 1,800-1,900 ล้านลิตร ส่วนภาพรวมตลาดเชิงมูลค่าอยู่ที่ระดับ 2 แสนล้านบาท ซึ่งหมวดใหญ่ยังเป็นลาร์เกอร์เบียร์ ส่วนเบียร์สดมีสัดส่วนน้อยมาก เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยนิยมดื่มเบียร์สดเป็นทาวเวอร์ ดื่มลาร์เกอร์เบียร์ขวดแก้ว ต่างจากเยอรมันที่ดื่มเบียร์แก้วมัคขนาดใหญ่
ขณะเดียวกันช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดเบียร์เพิ่มเติม เมื่อสินค้าไร้ซึ่งนวัตกรรมใหม่ๆ สินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด ตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ทำให้บางกลุ่มหันไปบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่นแทน ทว่า “เบียร์” ยังคงยืนหนึ่งที่ผู้บริโภคเลือกดื่มเป็นอันดับแรก ตามด้วยกลุ่มสุรา
“ตลาดเบียร์ช่วง 5- 10 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างมีความน่าเบื่อ หากผู้ประกอบการไม่สร้างสรรค์เบียร์นวัตกรรมเข้าสู่ตลาด มีแค่ลาร์เกอร์เบียร์เป็นตลาดใหญ่มาก หากเป็นเช่นนั้นผู้บริโภคก็จะหายไป หันไปดื่มเครื่องดื่มประเภทอื่นที่สร้างความน่าตื่นเต้นแทน”
ดังนั้นช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไทยเบฟ จึงมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์เบียร์ใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็นการออกช้างโคลด์ บรูว์ เบียร์ไทยที่ผลิตจากมอลต์ 100% มีการเปิดตัวช้างเอสเปรสโซ ซึ่งเป็นลาร์เกอร์เบียร์ผสมกับกาแฟสกัด การออกช้างแชมเปญขวด 1.5 ลิตร รวมถึงการเปลี่ยนแพ็คเกจจิ้งช้างขวดสีน้ำตาลมาเป็นช้างขวดเขียว ที่มีความพรีเมียมมากขึ้น เป็นต้น
📌 ส่ง ช้าง อันพาสเจอร์ไรซ์ ลงตลาด
ล่าสุด “เบียร์ช้าง” เขย่าตลาดอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัวสินค้าใหม่เสริมพอร์ตพรีเมียมอย่าง “ช้าง อันพาสเจอไรซ์” ครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งผสาน 3 จุดแข็งเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย 1.การใช้วัตถุดิบคุณภาพในการผลิตเบียร์ 2.นวัตกรรมการผลิตเบียร์ที่ไม่ผ่านความร้อนหรือ Unpasteurized และยังคงใช้ผู้ผลิตหรือบริวมาสเตอร์ที่คร่ำหวอดในวงการมา 25 ปีเป็นผู้ดำเนินการ อีกทั้งกระบวนการผลิตด้วยนัวตกรรมไนโตรจิเนชัน ทำให้ฟองละเอียด
โดยทั้ง 2 ข้อมาจากศักยภาพของโรงงานที่กำแพงเพชร หรือ บมจ.เบียร์ไทย(1991) ในฐานะโรงงานผลิตเบียร์ใหญ่สุดในภาคเหนือ มีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง และ3. และการขนส่งแบบพิเศษภายใต้การควบคุมอุณหภูมิหรือโคลด์เชน โดยบริษัทในเครืออย่าง “ฮาวี ลอจิสติกส์” ที่ไทยเบฟซื้อกิจการเมื่อปี 2561
อ่านต่อ:
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1040400
1 บันทึก
10
4
1
10
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย