2 ธ.ค. 2022 เวลา 05:31 • การศึกษา
ในปีนี้คณะ ICT มหิดล ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติรวม 31 รางวัลต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 แล้ว ✨
รางวัลล่าสุดประจำปี พ.ศ.2566 ได้รับ 4 รางวัลคือ
• รางวัลประดิษฐ์คิดค้น 🎖 2 รางวัล
• รางวัลผลงานวิจัย ⚜️ 2 รางวัล
เราขอแสดงความยินดี และเป็นกำลังใจให้กับนักวิจัยทุกท่าน ที่ผ่าฟันอุปสรรค จนประสบความสำเร็จในครั้งนี้ 🎉 ยินดีด้วยครับ
2
รางวัลการวิจัยแห่งชาติ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
⚜️รางวัลผลงานวิจัย รางวัลระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “การคาดการณ์ระดับน้ำจากข้อมูลภาพกล้องวงจรปิดและข้อมูลในอดีตของปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำฝนสะสม และความสูงของน้ำในแม่น้ำ เพื่อการจัดการภัยพิบัติ” (Water Level Prediction Using Image Data from Surveillance Cameras and History Data of Rainfall, Cumulative Rainfall and River Water Heights for Disaster Management) รศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ
⚜️รางวัลผลงานวิจัย รางวัลระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “การใช้การเรียนรู้เชิงลึกแบบสามมิติในการแยกส่วนไขมันภายในเยื่อหุ้มหัวใจในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อนและหลังฉีดสารทึบรังสี” (A 3D Deep Learning Approach to Epicardial Fat Segmentation in Non-Contrast and Post-Contrast Cardiac CT Images) ศ.ดร.นพ.ทนงชัย สิริอภิสิทธิ์ และคณะ
🎖รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “สิมิลัน (PSIMILAN): ระบบประมวลผลและแสดงข้อมูลผลกระทบทางจิตวิทยาและสุขภาพจิตระดับประชากรโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่” (PSIMILAN: A Data Processing and Visualization System for Psychological Impact on Mental Health Using Large-scale Social Networks) รศ.ดร.ศุภวงศ์ ทั่วรอบ และคณะ
1
🎖รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “Interactive Tool for Creating 3D Models of Custom-Made Nasal Splint” (Interactive Tool for Creating 3D Models of Custom-Made Nasal Splint) รศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ
จากทั้งหมด 4 ประเภทของรางวัลการวิจัยแห่งชาติ คือ
• 🏵 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
•  ⚜️ รางวัลผลงานวิจัย
•  🏅 รางวัลวิทยานิพนธ์
• 🎖 รางวัลประดิษฐ์คิดค้น
ICT Mahidol
เรามาไร่เรียงดู 31 ผลงานที่ผ่านมากัน เริ่มที่ คณะICTมหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2552 และเริ่มผลิตผลงานที่ได้รับรางวัลดังกล่าวในปีแรกคือ พ.ศ. 2557 คือ
2557 (2014)-1รางวัล
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) เรื่อง “ระบบการวัดและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของข้อเข่า สำหรับการประเมินการเดินในการฟื้นฟูสมรรถภาพ” ดร.สุดสงวน งามสุริยโรจน์ และคณะ
2558 (2015)-1รางวัล
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ เรื่อง“ระบบการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาต่างประเทศ (Vocable World: Vocabulary Learning System) (สาขาการศึกษา) ดร.ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ
2559 (2016)-3รางวัล
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาการศึกษา) เรื่อง “ดินแดนแห่งเวทมนตร์ (Magical Lands)” ดร.ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ
* รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีมาก (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “การจดจำรูปแบบการเดินของคนเพื่อใช้แยกอัตลักษณ์ตัวบุคคล โดยอัตโนมัติผ่านกล้องวิดีโอหรือกล้องวงจรปิด โดยมีคุณสมบัติที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขต่างๆ ของการเดิน” ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Assoc.Prof.Dr.Jian Zhang; University of New South Wales)
* รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีมาก (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “กรอบการทางานสาหรับการสื่อสารที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ ในเครือข่ายการสื่อสารระหว่างยานพาหนะ” ดร.วันทนีย์ วิริยสิทธาวัฒน์ (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Prof.Dr.Ozan Tonguz; Carnegie Mellon University)
2560 (2017)-2รางวัล
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาการศึกษา) เรื่อง “เกมส่องแสงต้นกล้า” (When Light Shines) ดร.ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ
* รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลระดับดี เรื่อง“การสร้างระบบเพื่อคัดเลือก สร้างดัชนี และค้นหาข้อมูลประเภทอัลกอริทึม ในห้องสมุดดิจิตอล” (Information Extraction and Metadata Annotation for Algorithms in Digital Libraries)ดร.ศุภวงศ์ ทั่วรอบ (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Prof.Dr.C. Lee Giles; Pennsylvania State University)
2561 (2018)-4รางวัล
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลระดับดี  (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “ระบบเมดนาเซียแผนที่ความรู้งานวิจัยจากงานประจำของชุมชนนักปฏิบัติทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้และตัดสินใจในการพัฒนาการบริการสุขภาพแก่สังคมไทย” (Mednacea) รศ.ดร.เจริญศรี มิตรภานนท์ และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “การสร้างโมเดลสามมิติของกระดูกโดยใช้กล้องKinect” (3D Reconstruction of Human Bones by Using Kinect) ผศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “โปรเทียร์” (Prothier) ดร. ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาการศึกษา) เรื่อง “การพัฒนาแบบจำลองการฝึกการให้สัญญาณมือและการตัดสินใจในการให้สัญญาณไฟจราจร” (Decision-making Training in the Traffic Simulator by Using Hand Signal) ผศ. ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ
2562 (2019)-2รางวัล
* รางวัลผลงานวิจัย รางวัลระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) ผศ. ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ เรื่อง “การระบุอัตลักษณ์และจดจำบุคคลโดยใช้รูปแบบการเดินภายใต้การไม่จำกัดเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมของการเดิน” ผศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “มินิเจอร์แพลนท์พอต: เกมส่งเสริมการเรียนรู้และอนุรักษ์ต้นไม้บนพื้นฐาน IoT” ดร. ปรีชา ตั้งวรกิจถาวร และคณะ
2563 (2020)-5รางวัล
* รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลระดับดีมาก (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “การแบ่งส่วนภาพทางการแพทย์โทนสีเทาแบบสองมิติและสามมิติด้วยวิธีการแปรปรวนพื้นที่ค้นหาในบริเวณใกล้เคียง” (2D and 3D Segmentation of Grayscale Medical Images Using Variable Neighborhood Search) ศ.ดร.นพ.ทนงชัย สิริอภิสิทธิ์ (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ. ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์; มหาวิทยาลัยมหิดล)
* รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “การค้นหาอัตโนมัติของภาวะเบาหวานขึ้นจอตา” (Automatic Detection of Diabetes Retinopathy based on Digital Retinal Images) รศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการจำแนกเมล็ดพันธุ์ข้าวไทยโดยใช้ภาพถ่ายของเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยวิธีการแบบ Mark R – CNN และ Transfer Learning” (Computer program for Classifying Categories of Thai Rice – Grain Images Using Mark R – CNN and Transfer Learning) รศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “เกลาโควิช : ระบบช่วยเหลือการวินิจฉัยโรคต้อหินเบื้องต้นสำหรับจักษุแพทย์ทั่วไป” (GlaucoVIZ : System for Assisting Glaucoma Diagnosis for Generate Ophthalmologists) ดร.ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “อุปกรณ์วัดการเดินจากการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและแรงกดที่ฝ่าเท้า” (Walking Gait Measurement via Knee Movement and Foot Pressure Plantar) รศ. ดร.สุดสงวน งามสุริยโรจน์ และคณะ
2564 (2021)-5รางวัล
* รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลระดับดีมาก (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง "การตรวจวัดความเหมือนของโค้ดและการค้นหาโค้ดโคลนในข้อมูลโค้ดขนาดใหญ่ (Code Similarity and Clone Search in Large-Scale Source Code Data)" ดร.ชัยยงค์ รักขิตเวชกุล (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Assoc. Prof. Dr.Jens Krinke; University College London)
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “โปรแกรมการค้นหาและการแสดงภาพของข้อมูลโควิด-19ในภาพการตรวจเอกซเรย์ทรวงอก” (COVID-19 Detection and Heatmap Generation in Chest X-Ray 2 Images) รศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “บินบิน: ตู้รับซื้อขยะ และแอปพลิเคชันสะสมแต้ม” ดร.ปวิตรา เลี่ยมรักษ์ และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “ออคิเดเตอร์: ระบบระบุสายพันธุ์และเชื่อมโยงข้อมูลกล้วยไม้แบบอัตโนมัติ โดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก” ดร.วุฒิชาติ แสวงผล และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง VideoQR: การซ่อนข้อมูลลงบนวิดีโอและการเรียกข้อมูลคืนผ่านการบันทึกวิดีโอชาด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือ (VideoQR: Information Embedding-Retrieval of Re-Recorded Video)" ดร. อัคร สุประทักษ์ และคณะ
2565 (2022)-4รางวัล
* รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง การพัฒนารูปแบบจำลองการวิเคราห์ข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการโครงการซอฟต์แวร์ Developing Analytic Models for Software Project Management ดร.มรกต เชิดเกียรติกุล (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Assoc. Prof. Dr.Hoa Khanh Dam; University of Wollongong)
* รางวัลผลงานวิจัย รางวัลระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “การพัฒนาวิธีการระบุเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกระบือปลัก ด้วยเทคโนโลยีไบโอเมตริก” (Development of Swamp Buffalo Identification Method Using Biometric Feature) รศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “ปิรามิดกราฟคัด: การแบ่งส่วนภาพโทนสีเทาทางการแพทย์ด้วยการผสมผสานข้อมูลความเข้มและการไล่ระดับสีของภาพ” (Pyramid Graph Cut: Integrating Intensity and Gradient Information for Grayscale Medical Image Segmentation) ศ.ดร.นพ.ทนงชัย สิริอภิสิทธิ์ และคณะ
* รางวัลประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) เรื่อง “การวัดอัตราส่วนหัวใจและทรวงอกอัตโนมัติโดยผลเอกสเรย์ทรวงอก” (Automatic Measurement of Cardiothoracic Ratio in Chest X-Ray) รศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ
รางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566
Ref. ประกาศรางวัล https://nriis.go.th/NewsEventDetail.aspx?nid=11629
Ref. National Research Council of Thailand : https://www.nrct.go.th

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา