3 ธ.ค. 2022 เวลา 04:37 • การเมือง
เอ็นร้อยหวาย การเมืองบิดเบือนประวัติศาสตร์, เฟคสตอรี่, ล้างสมองเด็ก#card game Patani colonial territory
เชิญชวนตามหาความจริงกันค่ะ
สืบเนื่องจากการมีเกมที่ชื่อ
Patani colonial territory เป็น card game ในเกมมีเนื้อหาพาดมาถึงการร้อย”เอ็นร้อยหวาย”ของเชลยศึกของสยามประเทศ เพื่อเกณฑ์ไปเป็นแรงงานขุดลอกคลองแสนแสบในเมืองบางกอก..
ไม่รู้ว่า “การ์ดเกม”โผล่ตั้งแต่เมื่อไหร่ และเพื่ออะไร
เพื่อความสนุกสนาน เพื่อประวัติศาสตร์หรือเกมการเมือง
ป้าเชิญชวนค้นหาความจริง
เรื่อง Sensitive อันยาวนานกันค่ะ
#ความไม่สงบของภาคใต้เป็นเรื่องที่มีมายาวนาน
#การสงครามของกลุ่มชนในภูมิภาคนี้..ไทย มลายู พม่า ลาว เขมร ก็มีประวัติศาสตร์ยาวนานเช่นกัน
แต่บางจุด..เป็นเรื่องคนละเรื่องกัน
ประเด็น”เอ็นร้อยหวาย”ถูกปลุกขึ้นมาในรูปแบบนี้..
แบบเล่าประวัติศาสตร์ฉบับเสริมเติมแต่งหรือจับแพะชนแกะ ทั้งยังมีการเชิญชวนให้เล่นเกม แข่งขันชิงรางวัล
มันจะปลุกและก่อเกิดความชิงชังและทำร้ายความรู้สึกของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเปล่า
..เป็นสิ่งที่น่าคิด
เกมนี้มีมาเพื่อปลุกกระแส หรือเพื่ออะไร
1)ไม่ได้คิดอะไร Just a game(แค่เกม)
2)เพื่อเพิ่มความเกลียดชัง
หรืออื่นๆ..รอผู้อ่านเติมค่ะ
ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
จากบทความ"สยามทารุณเชลยศึกปัตตานีด้วยการเจาะเอ็นร้อยหวาย-เรื่องโกหกทางประวัติศาสตร์" โดยจีรวุฒิ บุญรัศมี(อ้างอิง1)
และกอรมน. ภาค4 ได้เผยแพร่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า(อ้างอิง2)
“เป็นเรื่องที่เล่าปากต่อปาก”
เพราะค้นไม่พบเอกสารประวัติศาสตร์ชั้นต้นของสยามและมลายูของเรื่องนี้
นอกจากพบในงานเขียน
จากหนังสือเรื่อง
“ปาตานี: ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู”
โดย อารีฟีน บินจิ และคณะ ในปี พ.ศ. 2550”
👉ความมีว่า
“พระยากลาโหมนำเชลยมลายูปาตานี 400 คนลงเรือ..
และเพื่อไม่ให้ชาวปาตานีกระโดดเรือหนีลงทะเล
สยามจึงใช้วิธีตัดหวายมาร้อยที่เอ็นเหนือส้นเท้าของเชลยเหล่านั้น “เอ็นร้อยหวาย”ผูกพ่วงต่อกันไว้
หลาย ๆ คน..”
ตรงนี้ไม่ตรงกับประวัติศาสตร์เลย
อ้างอิงวิจัยข้างท้าย
ทฤษฎีว่าด้วย”การเติมคน”
สมัยโบราณ ผู้คนยังน้อย ประชากรเบาบาง เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้นำกลุ่มคนหรือประเทศใดจะทำการกวาดต้อนผู้คนกลับมาเป็นชุมชน แรงงานหรือสมัครพรรคพวก และย่อมต้องกวาดต้อนเฉพาะผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงเพื่อมาเป็นกำลังทำงาน
(สมัยนี้ก็ยังเป็นเช่นนี้ เวลาเราจะไปทำงานในต่างประเทศ หรือแม่แต่ไปเที่ยว ถ้าป่วย พิการหรือสงสัยว่าร่างกายไม่แข็งแรง ก็จะไม่ได้วีซ่า!)
มาดูเนื้อความในบทความ(อ้างอิง1)และงานวิจัย(อ้างอิง3)ต่อ..
ประเพณีเกี่ยวกับเชลยศึกสงครามของสยาม (รวมถึงที่อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เมื่อได้ทำการปราบปรามเมืองใดจนเด็ดขาดแล้ว ก็จะต้องกวาดต้อนผู้คนในเมืองนั้นกลับมายังเมืองของตน
สิ่งนี้เรียกกันว่า “การเติมคน” โดยเฉพาะกรณีของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นราชธานีแห่งใหม่ที่ยังมีประชากรน้อย (เพราะคนในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ถูกพม่ากวาดต้อนไปมากแล้ว)
การได้ประชากรจากปัตตานีมาเติมในกรุงเทพฯ ก็เป็นเสมือนการเพิ่มกำลังและประชาชนให้กับเมือง ดังนั้น ผู้คนที่ถูกกวาดต้อนมานี้ควรจะต้อง “มีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง”
👉การเจาะเอ็นร้อยหวายจึงไม่น่าจะเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลเท่าใดนัก อีกทั้งน่าจะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่สยามมากกว่าอย่างอื่น
ขอแทรกข้อมูลทางแพทย์เกี่ยวกับ เอ็นร้อยหวาย หรือ archilis tendon
Archilis tendon เป็นเส้นเอ็นขนาดใหญ่และแข็งแรงที่สุดในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อน่องที่ชื่อว่า gastrocnemius ไว้กับด้านหลังของกระดูกส้นเท้า
เอ็นร้อยหวายนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการเดิน วิ่ง และกระโดด(รูป)
Archils tendon หรือเอ็นร้อยหวาย ยึดกล้ามเนื้อน่อง(Gastrocnemius)ไว้กับเท้าของเรา เป็นเอ็นที่แข็งแรงมากที่สุดในร่างกายมนุษย์
การเอาคนที่ร้อยเอ็นร้อยหวายมาเป็นแรงงานไม่น่าเป็นไปได้
เพราะการร้อยเอ็นร้อยหวายจะทำให้เกิดโรคและพยาธิสภาพต่อเอ็นร้อยหวาย ซึ่งจะเรื้อรังจนเกิดความพิการ
หรือติดเชื้อจนเสียชีวิต
ซึ่งตรงกับงานวิจัยของ นายแพทย์ จิรันดร์ อภินันทน์(อ้างอิง1,2,3)
2)คำกล่าวทึ่อ้างว่า เชลยปัตตานีถูกร้อยเอ็นร้อยหวายเพื่อมาขุดคลองแสนแสบ..เมื่อค้นจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า
👉การขุดคลองแสนแสบเกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2380) โดยรัฐบาลจ้างชาวจีนในอัตราค่าจ้างเส้นละ 70 บาท (1 เส้น ระยะทาง 40 เมตร) ดังที่ปรากฏในบันทึกของเจ้าพระยาบดินเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งสอดคล้องกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)
..และจะเห็นได้ว่า การขุดคลองแสนแสบเกิดขึ้นก่อนการกวาดต้อนเชลยศึกจากปัตตานีขึ้นมาที่กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขุดคลองเรียบร้อยแล้ว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้เชลยที่ถูกกวาดต้อนจากศึกสงครามเข้ามาจับจองที่ทำกิน
👉โดยชาวมลายูปัตตานีและไทยบุรีที่ถูกกวาดต้อนมาให้ตั้งบ้านเรือนบริเวณย่านประตูน้ำ มีนบุรี หนองจอก พระโขนง คลองตัน และมหานาค
  • เพราะฉะนั้นเรื่อง “การร้อยเอ็นร้อยหวายเพื่อนำเชลยมาขุดคลองแสนแสบ จึงเป็นเพียงเรื่องเล่าที่ขาดแหล่งอ้างอิง”
  • และมีส่วนขัดกับข้อเท็จจริงจากเอกสารประวัติศาสตร์
  • โดยเฉพาะเรื่องการนำเชลยที่ถูกร้อยเอ็นร้อยหวายมาขุดคลองแสนแสบ
  • เพราะคลองแสนแสบ รัฐบาลได้ว่าจ้างชาวจีน ทำให้คลองแสนแสบถูกเรียกว่า “คลองเจ๊ก”ในยุคโน้น
ป้าฝากคำถาม
-เรื่องบิดเบือนหรือเรื่องจริง เราคนอ่านตรวจสอบได้
โดยการค้นคว้า
- จะเชื่อ แชร์ หรือเล่นเกม ผู้ใหญ่แยกออกว่า"แค่เกม" ห่วงก็แต่เยาวชน
- ถ้าไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายสู่การแบ่งแยก
ควรทำอย่างไรดี(อ้างอิง4)
- มีงานวิจัยและเรื่องราวความวุ่นวายของการแบ่งแยกดินแดนใน
ภาคใต้ รวมไว้ที่อ้างอิง1-3
ขอขอบคุณล่วงหน้า
🙏🏻ต่อความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา