Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นักเล่านิทรา
•
ติดตาม
3 ธ.ค. 2022 เวลา 03:06 • ประวัติศาสตร์
วัดพระพายหลวง สุโขทัย
เป็นโบราณสถานศิลปะเขมรในประเทศไทย ที่คาดว่าถูกสร้างขึ้นก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เพราะรูปแบบปราสาทเขมร 3 หลังในแกนเดียวกันโดยอาศัยฐานร่วม เป็นที่นิยมในสมัยบายน รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1720-1760) จึงเป็นหลักฐานชี้ชัดการมีอำนาจของเขมรเหนือดินแดนแถบสุโขทัยได้ชัดเจน รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งที่ยืนยันการขับไล่เขมรของพ่อขุนบาลเมืองและพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ตามจารึกวัดศรีชุม
ตัวโบราณสถานยังปรากฏซากวิหารบริเวณหน้าปราสาท และปราสาท 3 หลัง ที่เหลือเพียงองค์ซ้ายที่ยังคงสมบูรณ์ ขณะที่ปราสาทประธานและหลังขวาพังทลายลงทั้งหมดเหลือเพียงส่วนฐานไพทีเท่านั้น
โดยตัวปราสาทที่หลงเหลือเพียงองค์เดียว สามารถระบุได้ว่ามีฐานเป็นชุดบัวคว่ำบัวหงาย ท้องไม้กว้างคาดลวดบัวลูกฟักขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันครึ่งหนึ่งจมในชั้นดิน จากนั้นเป็นฐานเขียงเตี้ยๆ
ตัวปราสาทเป็นผังย่อมุม มุมประธานใหญ่ มีประตูหลอก 3 ด้าน ส่วนด้านหน้ามีมุขเป็นประตูเข้าภายในปราสาท แล้วตามด้วยชั้นซ้อนจำนวน 3 ชั้น ยังคงเป็นระบบเสาตั้งคานทับเพื่อสร้างเป็นซุ้มวิมานและช่องวิมาน มีบรรพแถลงปิด จากนั้นเป็นบัวยอด 3 ชั้น
ลวดลายปูนปั้นยังมีความสมบูรณ์มาก ส่วนหนึ่งช่วยบอกอายุได้เป็นอย่างดี โดยอ.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ชี้ว่าลายกนกหอยสังฆ์และกนกกลีบบัวแบบเขมรช่วยยืนยันว่าถูกสร้างมาแต่สมัยเขมรเรืองอำนาจในประเทศไทย อีกทั้งลายพระพุทธรูปที่ปรากฏ ยังยืนยันว่าเป็นปราสาทในคติพุทธเถรวาทที่รุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งนิยมสร้างปราสาท 3 หลังเพื่อประดิษฐานรูปเคารพไตรลักษณ์มหายาน ได้แก่พระนาคปรก พระอวโลกิเคศวรและนาวปรัชญาปรามิตรา
ถือว่าเป็นสถานที่สำคัญในการเรียนรู้แหล่งอารยธรรมที่มีมาก่อนอาณาจักรสุโขทัย และอยู่ไม่ไกลจากวัดสรศักดิ์และวัดศรีชุม ท่านที่ไปเที่ยวสุโขทัยจึงไม่ควรพลาดด้วยประการใดๆ ทั้งสิ้น
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย