Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาจวรงค์ จันทมาศ
•
ติดตาม
14 ธ.ค. 2022 เวลา 15:29 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รู้จักธาตุโบรมีน (Bromine)
องค์ประกอบสำคัญของสารหน่วงไฟ
1
โบราณว่าไว้ ไฟไหม้นั้นน่ากลัวว่าโจรปล้น เพราะถึงจะถูกปล้นไปแค่ไหนก็ยังคงเหลือบ้านเรือนและทรัพย์สินใหญ่ๆไว้ แต่ไฟไหม้นั้นอาจทำให้บ้านทั้งหลังกลายเป็นเถ้าถ่าน
1
มาตรการป้องกันอัคคีภัย รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์นี้ และหนึ่งนั้นคือ Flame retardant หรือ สารหน่วงไฟ
1
สารหน่วงไฟเป็นสารเคมีที่ถูกเติมเข้ามาในพลาสติก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า สิ่งทอต่างๆ เพื่อยับยั้งการติดไฟของวัสดุนั้นๆ หลักการกว้างๆคือ เมื่อสารดังกล่าวติดไฟจะเกิดกรดที่จะทำปฏิกิริยาจับกับแก๊สออกซิเจนทำให้การเผาไหม้ถูกยับยั้ง เนื่องจากแก๊สออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ช่วยให้ไฟติด กล่าวคือวัสดุที่มีสารหน่วงไฟเป็นองค์ประกอบนั้นจะติดไฟยาก เมื่อติดแล้วก็จะดับอย่างรวดเร็วจนแทบไม่เกิดเป็นเปลวไฟลามไปยังสิ่งต่างๆ
1
สารหน่วงไฟมีหลายประเภท แต่ทั้งหมดล้วนยับยั้งการติดไฟไม่ให้ลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง
Organobromines เป็นหนึ่งในกลุ่มของสารหน่วงไฟที่ใช้ธาตุโบรมีนเป็นองค์ประกอบสำคัญและนิยมใช้กันมาก เสียจนโบรมีนที่ถูกผลิตขึ้นในแต่ละปีราวๆครึ่งหนึ่งถูกนำมาใช้เป็นสารหน่วงไฟ แต่ในปัจจุบัน เริ่มมีงานวิจัยศึกษาผลกระทบของสารประกอบโบรมีนต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ยังเป็นหนึ่งในหัวข้อวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลกันอยู่
อย่างไรก็ตาม สารประกอบโบรมีนดังกล่าว หากระเหยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกจะทำให้ชั้นโอโซนถูกทำลายได้ ทำให้มันถูกพิจารณาลดการใช้งานลง เช่นเดียวกับ สารเมทิลโบรไมด์ (methyl bromide) ซึ่งเป็นสารกำจัดศัตรูพืชในรูปแก๊ส มีการนำมาใช้งานมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะนำมารมแก๊สในข้าวเพื่อการกำจัดแมลงและเชื้อราต่างๆที่อยู่ในกองข้าว เพราะมันสามารถแทรกซึมไปตามซอกตามมุมได้อย่างดี แต่ผลกระทบต่อชั้นโอโซนเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกหันมาใช้สารอื่นแทนแล้ว
1
ภาพการ์ตูนสะท้อนผลต่อโอโซน หากใช้สารเมทิลโบรไมด์
ยิ่งหากเราย้อนมองกลับไปในสมัยก่อนในช่วงศตวรรษที่ 19 เกลือของโบรมีนถูกใช้เป็นยากล่อมประสาทเพื่อป้องกันและต้านการชัก (anticonvulsants) อย่างเป็นล่ำเป็นสันอยู่พักใหญ่ จนกระทั่งมีการค้นพบยาที่ใช้งานได้ดีกว่า เกลือของโบรมีนจึงไม่ถูกใช้งานกับมนุษย์อีกต่อไป แต่ยังคงมีการใช้งานกับสัตว์อย่างสุนัขกันอยู่
โบรมีนในสถานะแก๊สและของเหลวจัดแสดงไว้ในแก้ว
จะเห็นได้ว่ามนุษย์เรามีการใช้สารประกอบโบรมีนมาแล้วมากมายหลายอย่าง แต่สุดท้าย เมื่อความรู้เพิ่มขึ้น เรายอมเลิกใช้งานมันไปเพราะผลเสียที่เกิดขึ้นนั้นไม่คุ้มค่า
นี่อาจเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ความรู้นั้น อาจะเป็นโทษร้ายแรงยิ่งกว่าไฟไหม้ หากเราไม่สามารถวางมันลง เพื่อรับความรู้ใหม่ๆ
ปิดท้ายของเกร็ดเล็กๆที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่? แม้ว่าธาตุในตารางธาตุจะมีมากมาย แต่มีเพียงไม่กี่ธาตุเท่านั้นที่อยู่ในสถานะของเหลวที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ธาตุโบรมีน นั่นเอง
อ้างอิง
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0048969717312809
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24529398/
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0269749121010575
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0045653513000313?via%3Dihub
https://cen.acs.org/articles/93/i11/Bromine-Comes-Rescue-Mercury-Power.html
https://www.euractiv.com/section/circular-economy/opinion/end-of-life-recycling-of-weee-plastics-containing-brominated-flame-retardants/
1
7 บันทึก
30
5
7
30
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย